พลิกเศรษฐกิจชุมชน เร่งแก้ปัญหา SMEs เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ

27 ก.ค. 2565 | 20:07 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2565 | 03:13 น.

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย - สภาอุตสาหกรรมฯ - หอการค้า ร่วมถกปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เอสเอ็มอีไทยยังเจอปัญหาหนัก หอการค้า เร่งรัฐส่งเสริมนวัตกรรม สร้างการมีส่วนร่วม ด้านสภาอุตสาหกรรม แนะนำ 13 หมุดหมายพลิกโฉมประเทศไทย จากร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 มาปฏิบัติ

จากงานสัมมนา การกระจายอำนาจ กับการฟื้นตัวทางศรษฐกิจไทย ของเครือเนชั่น Session 2 : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายวิศิฐ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้ร่วมให้ข้อมูลถึงแนวทางต่างๆ 

 

นายแสงชัย กล่าวถึงจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย รวมภาคอรงงานอีกกว่า 12 ล้านคน ถือเป็น 1 ใน 4 ของ ประชากรประทศ โดยส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจในภาคการค้าและภาคเกษตร รวมกันกว่า 80% ของทั้งหมด เมื่อเกิดวิกฤตโควิด -19 ทำให้สัดส่วนของ GDP ประเทศ ที่มาจากเอสเอ็มอี 34% ได้รับผลกระทบ 

ปัญหาของเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจท้องถิ่น จริงๆ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีวิกฤตทั้งโควิด เศรษฐกิจ และสงครามที่เป็นตัวเร่งปัญหาความรุนแรงเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งปัญหาต้นทุนที่เ่มขึ้น หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น เรื่องเหล่านนี้ทุกภาคส่วนต้องเร่งเข้าไปดูแล และแก้ไขปัญหา เพราะด้วยสมรรถนะ โครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นที่ดีขึ้นกว่าอดีตมากมาย ขีดความสามารถของคนในชุมชนก็เพิ่มขึ้น วันนี้โจทย์สำคัญคือการพัฒนาคน 

 

นอกจากนี้ การทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนและช่องทางการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเป็นระบบ ภาครัฐต้องปรับตัวให้เอสเอ็มอีเข้าถึงเครื่องมือหรือกลไกดีๆ ที่รัฐมี เข้าไปใช้ได้เพิ่มมากขึ้น ควรใช้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปช่วย ทำให้การเข้าถึเป็นไปได้ดีขึ้น ในการพัฒนาทัพษะของผู้ประกอบการ
 


ปัญหาการว่างงาน ก็ยังเป็นอุปสรรคการพัฒนากำลังคน แรงงานนอกระบบที่กระายอู่ภูมิภาคต่างๆ ต้องทำให้เขาเข้าระบบเพื่อเข้าสุ่การพัฒนาอย่างถูกต้อง ภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบเยอะที่สุด 56-57% ของประชากรวัยแรงงาน ยังมีระดับการศึกษาที่ไม่สูงพอ

วิธีการแก้ไข ภาครัฐควรแก้หนี้ และเติมทุน ด้วยระบบกองทุน แก้ไขเรื่องกฎหมาย ลดเหลื่อมล้ำ และการสร้างความมีส่วนร่วม 

ด้าน สภาอุตสาหกรรมประเทศ นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ปี 2564 GDP ประเทศ กลับมาบวก 1.5% แต่ภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมา ที่กลับมาคือ ภาคอุสาหกรรม ภาคการส่งออก เพราะมีทั้งชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ โจทย์สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข คือ การทำให้ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ฟื้น ทำให้เกษตรรายได้มากขึ้นมาสอดคล้องกับอุตสาหกรรม โดยการใช้เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทฟาร์มมิ่ง ที่ถือว่าภาครัฐทำได้ดี เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนเกษตรรุ่นใหม่ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริม ถือเป็นการลดปัญหาดังกล่าวได้ ทำให้มีเด็กรุ่นใหม่กลับเข้าสู่ภาคเกษตรเยอะขึ้น

ความท้าทายของไทยคือ เงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาน้อยลง แรงงานก็ยังอยู่ภาคการเกษตรเยอะ จากการศึกษา 13 หมุดหมายที่จะพลิกโฉมประเทศไทย ของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่เข้าไปแก้ไขและกระตุ้นทั้ง 1. ภาคการผลิตและการบริการเป้าหมาย 2. โอกาสและความเสมอภาคทางเสรษฐกิจและสังคม 3. ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรามชาติและสิ่งแวดล้อม และ 4. ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประทศ 

พลิกเศรษฐกิจชุมชน เร่งแก้ปัญหา SMEs เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ

เรื่องเหล่านี้ควรสื่อสารและลงมือปฏิบัติให้มาก ที่สำคัญคือต้องมีการกระจายตัวไปในทุกภูมิภาค ไม่กระจุกอยู่ที่ภาคใดภาคหนึ่ง อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และรัฐควรทบทวนกระบวนการการดำเนินงานของภาคธุรกิจ 1,094 กระบวนงาน ว่าจะลดขั้นตอนได้อย่างไรเพื่อเพิ่มความคล่องตัวของการทำธุรกิจของภาคเอกชน เพราะจะช่วยทั้งลดต้นทุนทั้งภาครัฐและเอกชนได้  

 

ด้านนายวิศิฐ กล่าวว่า ตอนนี้ธุรกิจที่มาแรงคือ ธุรกิจด้านสุขภาพ ในขณะที่ภาคบริการและภาคการส่งออก ยังนำรายได้ให้กับประเทศราว 60% และเป็นภาคส่วนที่ใช้แรงงานเยอะ การจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจประทศ จึงต้องเร่งขยายธุรกิจในสองส่วนนี้ให้มาก ไม่่ว่าจะเป็น ภาคการท่องเที่ยว สปา ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ รวมทั้งค้าปลีก และเรื่องของสุขภาพ

สิ่งที่ทำได้คือ การเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจเหล่านี้ด้วยไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรม และการนำสิ่งที่มีอยู่มาเพิ่มมลค่า เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพราะเป็นโมเดลธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายด้านกว้างได้ค่อนข้างเยอะนอกจากนี้ เรื่องใหม่ๆ ในภาคบริการ คือ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่บริการต่างๆ การนำโรบอทเข้ามาเสริม ก็ทำให้ธุรกิจมีสีสันน่าสนใจมากขึ้น

ส่วนปัญหาและอุปสรรคของภาคการค้าและการบริการไทย ที่ต้งเร่งแก้ไขคือ 

  1. ปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน
  2. ขาดบุคลลากรและความรู้ด้านการส่งออก
  3. ปัญหาความยุ่งยากทางด้านเอกสารและขั้นตอนการส่งออก
  4. ความแตกต่างด้านภาษีและวัฒนธรรม
  5. การกีดกันทางการค้า