นัดต้นเดือน ส.ค. “ม็อบมะพร้าว” บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์

29 มิ.ย. 2565 | 20:25 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2565 | 03:25 น.
2.4 k

โควิด คลี่คลาย “ประจวบฯ “ เมืองหลวงมะพร้าว วันนี้ จัดประชุมปลุกระดมชาวสวน เรียกร้อง “จุรินทร์” ลงพื้นที่เจรจา หากไม่มา คาดต้นเดือน ส.ค. บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์ เปิดปฏิบัติการทวงสัญญา

นัดต้นเดือน ส.ค. “ม็อบมะพร้าว” บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์

 

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ แกนนำเครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ ประชุมเครือข่ายชาวสวนมะพร้าวมีตัวแทนมาจาก 3 อำเภอ ได้แก่ ทับสะแก บางสะพาน และ อ.บางสะพานน้อย คึกคักมากมาปรับข้อมูลและทำเอกสารแจกชาวสวนมะพร้าวให้เท่าทัน  จัดกิจกรรมในพื้นที่แล้วเชิญ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาหารือ ประมาณกลาง ก.ค. นี้

 

แต่ถ้าไม่มาจะไปค้างที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ ประมาณต้นเดือนสิงหาคม ทางทางเกษตรกรจำเป็นต้องไปทวงคำตอบ 10 ข้อที่รับปากไว้กับชาวสวน ถ้าไม่ได้ตามสัญญาจะไม่กลับบ้านจ่อปักหลักยาว ต้นเดือน ส.ค. ทางถามการบ้าน

 

1. ยุตินำเข้ามะพร้าวผล กะทิเข้มข้นและน้ำกะทิแช่แข็งทั้งในและนอกโควตา WTO จนกว่าราคามะพร้าวผลไม่ต่ำกว่า 15 บาท  2.ต้องมีใบอนุญาตประกอบโรงงาน (ร.4) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกะทิและน้ำมันมะพร้าวเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ต้องมีประวัติการนำเข้าย้อนหลัง 3 ปี

 

2. กำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า ดังนี้

 

2.1 ต้องมีใบอนุญาตประกอบโรงงาน(รง.4ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกะทิและหรือน้ำมันมะพร้าวเพื่อส่งออกไปต่างประเทศและต้องมีประวัติการนำเข้าย้อนหลัง 3 ปี

 

2.2 ต้องมีใบแจ้งประกอบกิจการโรงงาน(รง.5) และยังคงดำเนินกิจการโรงงานผลิตกะทิและหรือน้ำมันมะพร้าวเพื่อส่งออกตามที่ได้รับอนุญาตตามใบ รง.4

 

2.3 ห้ามบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีได้ดำเนินกิจการผสิตกะทิและหรือน้ำมันมะพร้าวเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศนำเข้ามะพร้าวผล,น้ำกะติเข้มข้นและน้ำกะทิแช่แข็ง,เนื้อมะพร้าวสดทุกชนิด(เนื้อมะพร้าวขาว/เนื้อมะพร้าวดำทั้งแช่แข็งและไม่แช่แข็งโดยเด็ดขาด

2.4 ให้ผู้นำเข้ามะพร้าวนำมาใช้ในกิจการโรงานของตนเองเท่านั้น

 

2.5 ปริมาณการนำเข้าต้องไม่เกินอัตราการผลิตที่ขออนุญาตไว้

 

2.6 ห้ามผู้นำเข้ามะพร้าวทุกประเภททั้งในโควต้ WTO และนอกโควต้า WTO และกรอU AFTA จำหน่าย จ่าย โอนวัตถุติบมะพร้าวที่นำเข้าไปยังผู้อื่นโดยเด็ดชาด หากกระทำผิดให้กำหนดโทษพัก ใบอนุญาต 5 ปี โดยให้ประกาศเป็นกฎกระทรวง

 

3. การมีส่วนร่วมของเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว ได้แก่

 

3.1 ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ

 

3.2 คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการสินค้มะพร้าวควรเพิ่มตัวแทนจากเครือข่าชาวสวนมะพร้าว อ.ทับสะแก อ.บางสะพาน อำเภอละ 1 ท่าน เนื่องจากสองอำเภอนี้ปลูกมะพร้าวมากที่สุด

 

3.3 บอร์ดคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชควรเพิ่มตัวแทนจากเครือข่ายชาวสวนมะพร้าวเพิ่มอีก 1 ท่านเนื่องจากในปัจจุบันเห็นว่าตัวแทนที่มีอยู่น้อยเกินไป

นัดต้นเดือน ส.ค. “ม็อบมะพร้าว” บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์

 

4. การเก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับมะพร้าว

 

4.1 การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกควรใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการสำรวจ และสำรวจทุกปี

 

4.2 การสำรวจตัวเลขผลผลิตต่อต้นต่อเดือนให้ใกล้เคียงความจริง(7-8 ผล : ต้น : เดือน)

 

4.3 การคำนวณต้นทุนมะพร้าวต่อผลตามความเป็นจริง(8 บาท : ผล)

 

5. กำหนดให้มีใบกำกับการเคลื่อนย้ายมะพร้าวผลภายในประเทศ กรณี น้ำหนักบรรทุกเกิน 4,000 กิโลกรัมขึ้นไปต้องมีใบกำกับการเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการลักลอบขนมะพร้าวเถื่อนและมีการออกเป็นกฎกระทรวงบังคับใช้ มีบทลงโทษกับผู้ที่กระทำความผิดในการเคลื่อนย้ายมะพร้าวที่ไม่ถูกต้อง

 

 

6. การศึกษาวิจัย

 

6.1 ให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ทราบ DNA ของมะพร้าวเพื่อแยกให้ชัดเจนถึงแหล่งที่มาของมะพร้าวว่ามาจากที่ใด(ในประเทศหรือต่างประเทศทั้งนี้ต้องมีชุดอุปกรณ์ตรวจสอบอยู่ทุกด้าน(เหมือนซุดเป๋าหาแอลกอฮอล์)เพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่

 

6.2 มีการศึกษาวิจัยถึงค่าไขมันของมะพร้าวไทยว่าใน 1 กิโลกรัม มีค่าไขมันกี่ % สามารถผลิตกะทิกล่องได้กี่กล่อง เพื่อหาต้นทุนของกะทิกล่องว่า ถ้าใช้มะพร้าวไทยในการผสิตมีการคุ้มทุนหรือไม่

 

6.3 ให้มีการศึกษาวิจัยมะพร้าวว่าสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆได้หรือไม่เพื่อขยายทางเลือกมากขึ้นทุกปี

 

นำเข้ามะหร้าวผล กะทิแช่แข็งมะพว้าวขาวแช่แข็ง ควรมีการกำหนดอัดราส่วน เช่น การนำเข้ากะทิมะพร้าวขาวแช่แข็ง อัตราส่วน 1 กก. ต้องนำไปหักออกจากโควต้ามะพร้าวผลที่ขอนำการควบคุมปริมาณการนำเข้า ป้องกันการนำเข้าที่มากเกินจำเป็น จนกลายเป็นการนำเข้าที่ทุบราคาผลผลิตในประเทศ และในกรณีที่มะพร้าวผลในประเทศราคาต่ำกว่า 12 บาทต่อผล ต้องหยุดการนำเข้า

 

นัดต้นเดือน ส.ค. “ม็อบมะพร้าว” บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์

7. การส่งเสริม ควรส่งเสริมให้มี

 

7.1 ตลาดกลางการซื้อขายสินค้ามะพร้าวในอำเภอทับสะแก หรืออำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบๆ

 

7.2. ส่งเสริมให้มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตกะทิกล่องในพื้นที่อำเภอทับสะแกหรืออำเภอบางสะพานเพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มากที่สุดโดยให้ชาวสวนมะพร้าวโดยให้ขาวสวนมะพร้าวในพื้นที่มีส่วนในการถือหุ้นเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการจ้างงานอีกทั้งลดความเหสื่อมล้ำทางสังคม

 

8. ให้กรมวิชาการเกษตรทำประวัติ DNA มะพร้าวไทยและ DNA มะพร้าวต่างประเทศ เพื่อรักษาสิทธิ์มะพร้าวไทยไม่ให้ได้รับผลกระทบด้านคุณภาพและการปลอมปนมะพร้าวที่ไม่ได้คุณภาพในการส่งออกไปต่างประเทศ

นัดต้นเดือน ส.ค. “ม็อบมะพร้าว” บุกกรุงค้าง กระทรวงพาณิชย์

 

9. ห้ามผู้นำเข้า นำมะพร้าวที่นำเข้าไปแปรรูป กะเทาะ และผิวนอกโรงงานของตนเองทั้งการนำเข้าในโควต้า WTO และนอกโควตา WTO และกรอบ AFTA

 

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ได้ฤกษ์ที่จะทวงถามการบ้านจากรัฐบาลแล้วต้นเดือน ส.ค.  ซึ่งในวันนั้นจะมีเรื่องเข้าพิจารณาบอร์ด เช่น การอ้างน้ำกะทิ เป็นสินค้าทีนำเข้าไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจริงๆ ไม่ถูกต้อง ทั้งที่ความจริงต้องการมีการคำนวณต้องซื้อมะพร้าวไทยกี่ลูก จะนำเข้าน้ำกะทิได้กี่กิโลกรัม แล้วการนำเข้าผลผลิตทั้งหมดต้องคิดเป็นจำนวนลูกไปหักออกจากยอดที่ขาดแคลนในประเทศ ถ้าไม่คืบหน้าจะปักหลักค้างคืนยาว แล้วครั้งนี้ไปกันเยอะมากไม่ต่ำกว่า  5 รถบัส คาดว่าประมาณ 500 คน วันนี้ชาวสวนทุกคนไม่ไหว ต้องแสดงพลัง ที่ผ่านมาไม่ทำอะไรเลยให้กับชาวสวนเลย