เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%” ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

25 มิ.ย. 2565 | 16:00 น.
อัปเดตล่าสุด :26 มิ.ย. 2565 | 01:39 น.
3.1 k

2 สมาคม “สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย-สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย” ระบุชัด เกษตรอินทรีย์ 100% พ่นพิษ ต้นเหตุศรีลังกาล่มสลาย เตือนไทยระวังซ้ำรอย “เปล่งศักดิ์” ชี้ อย่ามองนักลงทุนเป็นศัตรู พลิกวิกฤติขายอาหารส่งทั่วโลก

เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช

 

นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ต้องถอดบทเรียนประเทศศรีลังกา การประกาศเกษตรอินทรีย์ 100% ส่งผลให้ประเทศเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ไม่มีเงินไปซื้อน้ำมัน และไฟฟ้าใช้ จนทำให้  ‘รานิล วิกรามาสิงหะ’ นายกรัฐมนตรีศรีลังกา ประกาศเมื่อวันพุธ (22 มิ.ย. 2565) ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจของศรีลังกาได้เข้าสู่ภาวะ ‘ล่มสลายโดยสมบูรณ์’ หลัง ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาถือเป็นวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ของศรีลังกา นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2491 อย่าผลักให้เคมีเป็นผู้ร้าย

 

“วันนี้เมืองไทยแม้จะไม่ขาดอาหาร แต่ต้องนำเงินเข้าประเทศด้วย ผลผลิตต้องมีคุณภาพ มีความมั่นคงทางอาหาร ในเรื่องการเกษตรยากที่สุด เพราะหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ไม่ใช่แค่ยกหูมือถือ ฮัลโหล แต่ต้องลงไปเช็คดิน เช็คพันธุ์ที่จะใช้ เช็คดินฟ้าอากาศ แล้วโรคพืชก็เยอะแยะ ต้องอยู่กับท้องไร่ท้องนา แต่เราต้องโกยเงินเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้”

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

นายเปล่งศักดิ์ กล่าวว่า  อย่ามองนักลงทุนเป็นศัตรูหมด สุดท้ายก็เจ๊ง แล้วจะเลี้ยงประเทศได้อย่างไร นี่คือปัญหา คุณรักเกษตรกร ต้องเลี้ยงอาหาร แต่ถ้าเงินไม่พอที่จะทำอย่างอื่นควบคู่ด้วย แบบเดียวกันกับศรีลังกา สุดท้ายประกาศประเทศล้มละลาย คณะรัฐบาลต้องลาออกหมด ไล่ประธานาธิบดีแล้ว ตัวนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งเปลี่ยนเข้าไปแค่ 1 เดือนจะอยู่ไม่ได้ สุดท้ายเงินซื้อน้ำมันก็ไม่มี เอกชนก็เจ๊งหมด เงินไม่มีความหมาย ซื้อของไม่ได้ ตอนนี้มีหลายองค์กรระหว่างประเทศเข้าไปช่วย แต่มองดูแล้วไม่พอยาใส้ เพราะทั้งประเทศมีปัญหาตามมามากมาย

 

“ประเทศศรีลังกา” เมื่อเดือนที่แล้วให้ข้าราชการประจำหยุดงาน สัปดาห์ละ 2 ครั้งให้ไปทำนา ไม่มีข้าวที่จะนำมารับประทาน เมื่อมาพูดถึงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ต่อไปเมืองไทยควรจะขายพืชผลทางการเกษตรได้เงินอีกมากมาย วันนี้ต้องพูดว่าจะทำอย่างไรให้มีอาหารขายทั่วโลกให้มากขึ้น วันนี้หากภาคภูมิใจ ทุเรียนขายสูงสุด รองลงมาเป็นข้าว อยู่ในติดนำรายได้เข้าประเทศแสนล้านบาท แล้ววันนี้ที่มีประกาศทุเรียนอินทรีย์ กี่ไร่ ต่อไปอนาคตจะมีส่งออกหรือไม่

 

 

"การประกาศอินทรีย์เป็นเรื่องดี แต่การใช้ปุ๋ยเคมี ก็ควรจะควบคู่ เพราะช่วยเรื่องผลิตผลและผลิตคุณภาพ เช่น ทุเรียนอินทรีย์ จะขาดความหอมหวานของรสชาติ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องการใช้สารเคมีต่างๆ ต้องใช้ให้ถูกต้อง แต่วันนี้พอเราแบนสารเคมีไป ราคาในประเทศพุ่ง 5 เท่า ไร้คุณภาพ แต่ต้องใช้เพราะไม่มีสารอะไรทดแทนได้ นี่คือบทเรียนของประเทศไทย ทำให้ต้นทุนเกษตรเพิ่มขึ้น จากบทเรียนดังกล่าวนี้ มีผลทำให้ ร่างพระราชบัญญัติสารเคมี พ.ศ. ..... สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) รู้ความจริงแล้ว จึงไม่ลงมติให้"

 

ดร.จรรยา มณีโชติ

 

ด้าน ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย  เผยผ่านงานสัมนาที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเสวนา เคมี..พระเอกหรือผู้ร้าย ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ "อินทรีย์-เคมี: โอกาสของไทยใน ภาวะวิกฤตอาหารโลก" จัดโดยสภาอุตสาหกรรม ,สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย และ สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย  เพื่อค้นหาคำตอบว่า ประเทศไทยจะก้าวเดินต่อไปเป็นครัวไทยสู่ครัวโลกในภาวะวิกฤตอาหารโลกที่กำลังขาดแคลนได้ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ หรือ การทำเกษตรแบบใช้สารเคมีอย่างถูกต้องปลอดภัย (GAP)

 

 

ประเด็นที่น่าสนใจคือ เกษตรอินทรีย์ : ผลผลิตต่ำกว่า ใช้แรงงานคนมากกว่า ต้นทุนการผลิตสูงกว่า และ ใช้พื้นที่ผลิตมากกว่า จึงขายได้ราคาสูงกว่า  แต่ ไม่สามารถผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ทำให้โรงงานผลิตน้ำพริกอินทรีย์ ต้องรอเก้อมานานถึง 10 ปีก็ยังไม่ได้เปิดการผลิตซักที เนื่องจากไม่มีผลผลิตเพียงพอจะเดินเครื่อง (ข้อมูลจาก สุรวุฒิ ศรีนาม  ประธานกรรมการบริษัทเรียลฟาร์ม ผู้ผลิตและส่งออกพริกไปต่างประเทศ)และถ้าจะส่งผักผลไม้อินทรีย์ออกไปขายต่างประเทศ ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจ 3 อย่าง คือ 1.สารเคมีตกค้าง 2.โรคแมลงที่อาจติดไป และ 3.การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรที่ผลิตด้วยสารเคมี 

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

รู้มั้ยว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกเพียง 1.5% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งโลก...หากเกษตรอินทรีย์ทำได้ง่ายราคาดี..ทำไมทุกประเทศไม่ทำเกษตรอินทรีย์ 100% “ศรีลังกา” เป็นประเทศแรกในโลกที่ประกาศทำเกษตรอินทรีย์ 100% และห้ามนำเข้าสารเคมีทุกชนิดเมื่อเดือนเมษายน 2564 แต่ปรากฏว่า 6 เดือนผ่านไปเศรษฐกิจของศรีลังกา เข้าสู่ภาวะ วิกฤตและเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ไปทัั้งประเทศ  จำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 5 แสนคน ทำให้รัฐบาลศรีลังกาจึงประกาศยกเลิกการแบนปุ๋ยเคมี ในเดือนพฤศจิกายน 2564

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

ย้อนกลับมามองประเทศไทยของเรา...พื้นที่เพาะปลูกในประเทศไทยมีทั้งหมด 149 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ 1.2 ล้านไร่ หรือ คิดเป็น 0.9% เท่านั้น และในพื้นที่อินทรีย์ 1.2 ล้านไร่เป็นข้าวอินทรีย์  1.056 ล้านไร่ อีก 2 แสนไร่เป็นพืชไร่ ผักและไม้ผล

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศ 147.8  ล้านไร่ หรือ 99.1% ใช้ ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงประชากรไทยทั้งประเทศและยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศนำเงินตราเข้าประเทศได้ปีละ 1. 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าสินค้าเกษตรที่ผลิตด้วยสารเคมีไม่ได้มีปัญหาการตกค้างของสารเคมี เพราะไม่เช่นนั้นเราคงไม่สามารถส่งออกไปขายยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกาซึ่งมีความเข้มงวดเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

การสร้างมายาคติเรื่อง "สารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผักผลไม้" หรือ วาทะกรรม "สารพิษอาบแผ่นดิน" เป็นการกระทำของกลุ่ม NGO ที่ต้องกาทำให้สังคมเกิดความตระหนกจนเกินเหตุ ค่ามาตรฐาน MRLs (Maximum Residue Limits) เป็นแค่เพียงมาตรฐานทางการค้า (Trading Standard ) ไม่ใช่มาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard)

 

 

ทำไมจึงกล้าพูดเช่นนี้ได้ เพราะถ้า MRLs เป็นค่ามาตรฐานความปลอดภัย  ค่า MRLs ของทุกประเทศทั่วโลก..ต้องมีค่าเท่ากันแต่ในความเป็นจริง.. MRLs ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน บางประเทศเช่นญี่ปุ่นกำหนดให้มีค่าต่ำมากๆ เพื่อเป็นการกีดกันไม่ให้สินค้าเกษตรชนิดเดียวกันเข้าไปขายในประเทศญี่ปุ่นได้ง่ายๆ เป็นการปกป้องเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากทั่วโลกยกเลิกกำแพงภาษีสินค้าเกษตรไปแล้ว หนทางเดียวที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะปกป้องเกษตรกรของตัวเองได้คือการกำหนดค่า MRLs ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ เพื่อกีดกันไม่ให้ สินค้าเกษตร จากต่างประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ง่ายๆ

 

“ทุเรียน” เป็นตัวอย่างพืชเศรษฐกิจที่ดีของระบบเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะผลิตในระบบ GAP (ใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย) เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าคือประเทศจีน  ทำรายได้เข้าประเทศ 1.2 แสนล้านบาท ถ้าไม่มีปุ๋ยเคมีไม่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเราคงไม่มีทุเรียนส่งออกได้เท่านี้

 

มูลค่าส่งออกพืชอินทรีย์ปี 2564 อยู่ที่ 1,239 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่คือ ข้าวอินทรีย์  มูลค่า 878.64 ล้านบาท ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับงบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุนโครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ในระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2564 คิดเป็นเงินทั้งหมด 9,696 ล้านบาท  ซึ่งยังไม่ทราบว่าพื้นที่ข้าวอินทรีย์ 1 ล้านไร่จะลดลงหรือเพิ่มขึ้นหากรัฐบาลงดการสนับสนุน

 

ในข่วง 10 ปี ที่ผ่านมา..เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 20 ล้านคน ซึ่งผลิตอาหารโดยใช้สารเคมีให้คนไทยทั้งประเทศได้ บริโภค และ ยังส่งออกไปขายต่างประเทศ ได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ณ เวลานี้ คงเหลือหนทางเดียวที่เกษตรกรจะทำได้คือ รอการเลือกตั้งครั้งต่อไป  และเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย (GAP) มากกว่า

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

ดร.จรรยา กล่าวว่า ต้องถอดบทเรียน ประเทศศรีลัง เกิดอะไรขึ้น นับตั้งแต่ เมื่อเดือนเมษายน 2564 รัฐบาลของนายโกตาบายา ราชปักษา ประกาศห้ามนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด  เพราะต้องการประหยัดเงินซื้อปุ๋ยเคมึและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้เริ่มนโยบายเกษตรอินทรีย์ 100% ไปในคราวเดียวกัน แต่หลังจากแบนไป  6 เดือน ก็ต้องประกาศยกเลิกการแบนปุ๋ยเคมีในเดือนพฤศจิกายน 2564 แต่ยังคงแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกขนิด สาเหตุที่ต้องยกเลิก

 

- ผลผลิตข้าวลดลง 33% ทำให้  รัฐต้องซื้อข้าวจากจีนและอินเดีย 650,000 ตัน

 

- รัฐต้องจ่ายเงินเยียวยาให้ชาวนา 12,200 ล้าน บาท

 

 - ผลผลิตใบชาลดลง 35% คิดเป็นมูลค่า 14,875 ล้านบาท

 

- ราคาอาหารในประเทศเพิ่มขึ้น 5 เท่า

 

- มีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 5 แสนคน

 

- เกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหาร

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

แต่ ยกเลิกการแบนสารเคมีครั้งนี้ยกเลิกเฉพาะปุ๋ยเคมีเท่านั้น..แต่ยังคงห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด ทั้งโรค แมลง และ วัชพืชเราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าการเกษตรของศรีลังกาจะฟื้นตัว โดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้หรือไม่เพราะศรีลังกาเคยมีบทเรียนมาครั้งหนึ่งจากการแบนโฟเซตเมื่อปี 2558 ด้วยความเชื่อว่าไกลโฟเซต อาจเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่ไม่ยังทราบสาเหตุ (CDKu: Chronic Kidney Disease unknown origin) และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง (ตามที่สถาบันมะเร็งนานาชาติได้ออกมาประกาศจัดให้ไกลโฟเซตอยู่ในกรุ๊ป 2A เมื่อปี 2557)

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

ในครั้งนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ในประเทศศรีลังกามาเตือนรัฐบาลว่า ข้อมูลในการแบนไกลโฟเซต ยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นยังไม่ควรแบน..แต่รัฐบาลก็ไม่ฟัง ฟังแล้วคุ้นๆหูเหมือนแบนพาราควอตในประเทศไทยยังไงไม่รู้ ผ่านไป 3 ปี  พืชเศรษฐกิจหลายชนิดเสียหาย โดยเฉพาะพืชส่งออกหลักของศรีลังกาเสียหายหนัก  จากการแบนไกลโฟเซต เพราะเนื่องจากผลผลิตใบชาจะลดลงยังมีการลักลอบนำไกลโฟเซตเข้ามาจำหน่ายในศรีลังกา  ขาดแคลนแรงงานกำจัดวัชพืชทำให้หญ้าขึ้นรก ทำให้คนงานไร่ชาถูกงูกัดเป็นจำนวนมาก

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

ที่สำคัญคือข้ออ้างในการแบนไกลโฟเซตที่รัฐบาลศรีลังกา ยังขาดความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องไกลโฟเซต อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งนั้น หน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั่วโลกประเมินแล้วว่า ไกลโฟเซต ไม่ใช่สารก่อมะเร็งในคน และอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไป  ปี 2561 รัฐบาลศรีลังกาจึงประกาศยกเลิกการแบนไกลโฟเซต โดย อนุญาตให้ใช้ในบางพืช เช่น ยางพารามะพร้าว และใบชาแต่ปี 2564 ไกลโฟเซต กลับมาถูกแบนอีกครั้ง ด้วยนโยบายเกษตรอินทรีย์ 100% ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

ดร.จรรยา กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทย มีพื้นที่ทำการเกษตรของประเทศไทย 149 ล้านไร่ ทำเกษตรอินทรีย์ได้ 1.2 ล้านหรือ 0.9% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศที่เรามีกินอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และสามารถจะเหลือส่งออก..ทำเงินตราเข้าประเทศปีละมากกว่า 1.3 ล้าน ล้านบาท..มาจากการผลิตแบบใช้สารเคมีหากสินค้าเกษตรของประเทศไทยปนเปื้อนด้วยสารพิษทำไมเราถึงส่งออกได้ทำไมประเทศปลายทางยังซื้อ สินค้าเกษตร จากประเทศไทย

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

แต่ในระยะ 8 ปีที่ผ่านมารัฐบาลกลับทุ่มงบประมาณจำนวนมาก ไปส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ โดยอ้างว่าผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีราคาสูงกว่า การเกษตรที่ใช้สารเคมี หลักฐานเชิงประจักษ์คือโครงการข้าวอินทรีย์ล้านไร่ที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณอุดหนุนไปทั้งหมด 9,996 ล้านบาทสงสัยว่าถ้าไม่มีเงินอุดหนุนแล้วชาวนาเหล่านั้นยังคงทำข้าวอินทรีย์กันต่อไปหรือไม่

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

เกษตรกรทำอินทรีย์ สามารถขายผลผลิตได้ราคาสูงก็จริง แต่ต้นทุนการผลิตสูงกว่า ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า ใช้แรงงานคนมากกว่า ต้องการพื้นที่เพิ่ม ขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตเท่ากับการใช้สารเคมี ถ้าจะทำเกษตรอินทรีย์กันทั้งประเทศ เราคงจะต้องไปตัดไม้ทำลายป่ากันอีกมากมายเพราะเกษตรอินทรีย์ต้องการพื้นที่มากกว่าเกษตรใช้สารเคมีอีกเท่าตัวก็สำคัญคือเราจะหาปุ๋ยอินทรีย์มาสำหรับพื้นที่ 149 ล้านไร่ ได้อย่างไรทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาการระบาดของโรคแมลงและวัชพืช

 

เปิดบทเรียน “เกษตรอินทรีย์ 100%”  ทำไม ประเทศศรีลังกา ล่มสลาย

 

โดยเฉพาะวัชพืชเรามีคนงานดายหญ้าพอหรือเครื่องจักรกลสามารถใช้ได้ในทุกพื้นที่ ทุกสภาพอากาศ และในทุกพืชจริงหรือชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชไม่ปนเปื้อนสารเคมีจริงหรือชีวภัณฑ์ กำจัดแมลงกำจัดโรคมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแมลงได้เท่าสารเคมีจริงหรือ

 

"ครัวไทยจะไปสู่ครัวโลก" ด้วยการทำ "เกษตรอินทรีย์" ทั้งประเทศได้จริงหรือ