พิษโควิด-นํ้ามัน ลุ้น‘กรีนบัส’ หยุดวิ่งรถภาคเหนือ

24 มิ.ย. 2565 | 11:01 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มิ.ย. 2565 | 18:16 น.

กรีนบัสอ่วมพิษนํ้ามันกระทบหนัก ปรับลดเที่ยววิ่งทั่วภาคเหนือ โอดวิกฤติซํ้าจากโควิด-19 ยังไม่ทันฟื้น สภาพคล่องเหือดหนักวอนรัฐช่วยเหลือคาดยื้อได้อีกแค่ 1-2 สัปดาห์ อาจต้องปิดกิจการกระทบ พนักงาน 300 ราย

นายสมชาย ทองคําคูณกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ หรือ กรีนบัส เปิดเผยว่า กรีนบัสให้บริการเดินรถโดยสารทั่วภาคเหนือมาอย่างยาวนานมากกว่า 60 ปี จากสถานการณ์ราคานํ้ามันที่สูงขึ้น มาซํ้าเติมผลกระทบการระบาดของไวรัสโควิด-

 

“ช่วงสองปีที่ผ่านมากรีน บัสได้พยายามปรับลดค่าใช้จ่ายเพื่อพยุงกิจการให้สามารถดำเนินธุรกิจไปต่อให้ได้โดยในช่วงสถาน การณ์การระบาดเชื้อ​โควิด-19 ​ในปี 2563-2564 บริษัท​ฯ มีผลประกอบการขาดทุนไม่ตํ่ากว่า 149 ล้านบาท และมีหนี้สินในปี  2562-2564 รวม 165 ล้านบาท”

นายสมชาย ทองคําคูณกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด

 

พิษโควิด-นํ้ามัน ลุ้น‘กรีนบัส’ หยุดวิ่งรถภาคเหนือ

แม้สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แต่ราคมนํ้ามันได้ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องขณะที่จำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ ยังไม่มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นซึ่งราคานํ้ามันได้ส่งผลกระทบอย่างมาก เนื่องจาก​อัตรา​ค่าโดยสาร​ที่ใช้ในปัจจุ​บัน คำนวณจาก​ราคานํ้ามัน​ที่ 27 บาทต่อลิตร แต่ปัจจุบัน​ราคานํ้ามัน​ขึ้นมาอยู่ที่ 35 บาทกว่าแล้ว โดยมีราคาสูงกว่าที่กรุงเทพฯ 0.80 บาทต่อลิตร เดิม​บริษัท​ฯมีต้นทุนนํ้ามันอยู่ที่ 27% ต่อรายได้ค่าโดยสาร ​แต่ขณะนี้​ได้ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 36% ต่อรายได้​ค่าโดยสาร ​ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดที่มีอัตราลดลงอย่างมาก

 

นายสมชาย กล่าวอีกว่าเมื่อกลับมาให้บริการหลังปลดล็อก มีบางเส้นทางที่มีปริมาณ​ผู้โดยสาร​ไปและกลับ เฉลี่ยเกินกว่า 95% ของจำนวนที่นั่งบนรถอาทิ 1. เชียงใหม่-เชียงราย 3 เที่ยวต่อวัน 2. เชียงใหม่-พะเยา 2 เที่ยวต่อวัน 3. เชียงใหม่-น่าน 2 เที่ยวต่อวัน 4. เชียงใหม่-แม่สอด 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ 5. เชียงใหม่​-ภูเก็ต​ 2 เที่ยว​ต่อ​สัปดาห์ 6. แม่สาย-ภูเก็ต 2 เที่ยวต่อ​สัปดาห์ เส้นทางที่เหลือมีรายได้จากผู้โดยสาร ตํ่ากว่าต้น ทุนและค่าใช้จ่าย

พิษโควิด-นํ้ามัน ลุ้น‘กรีนบัส’ หยุดวิ่งรถภาคเหนือ พิษโควิด-นํ้ามัน ลุ้น‘กรีนบัส’ หยุดวิ่งรถภาคเหนือ

พิษโควิด-นํ้ามัน ลุ้น‘กรีนบัส’ หยุดวิ่งรถภาคเหนือ

“หากภาครัฐ​ไม่รีบออกมาตรการมา​ช่วยเหลือ​ ก็จำเป็นจะต้องปรับลดเที่ยวรถโดยสาร เพื่อให้บริษัทฯสามารถดำเนินธุรกิจและเดินรถต่อไปได้บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหยุดวิ่งรถในบางเส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำเชียงใหม่-เทิง เชียงใหม่-เชียงม่วนและเส้นทางเชียงใหม่-แพร่ ตั้ง แต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 นี้”

 

นายสมชายกล่าวด้วยว่าในช่วงวิกฤติโควิด-19 เมื่อกลางปี 2564 ก็เกือบจะต้องหยุดกิจ การ​ไปแล้ว โชคดีที่ธนาคารออมสินให้ soft loans มา 50 ล้านบาท แต่ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว​ ดังนั้น บริษัท​ฯจะต้องลดเที่ยวที่ขาดทุนลงหรืออาจจะต้องหยุดกิจการ เพื่อลดภาวะการขาดทุน เพื่อไม่ต้องเข้าสู่การขอฟื้นฟู​กิจการ ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาคือพนักงาน​จำนวนกว่า 300 คน ที่จะต้องว่างงาน รวมถึงประชาชน​ที่มีความจำเป็นในการเดินทางใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะน่าเห็นใจคนมีรายได้น้อยที่เคยใช้บริการ ต่อไปไม่รู้จะกลับบ้านอย่างไร

 

“ขณะนี้คาดว่าบริษัทจะสามารถประคองใช้จ่ายต่อไปได้อีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงขอให้รัฐบาลเร่งหามาตรการช่วยเหลือไม่เช่นนั้นบริษัทคงต้องปิดกิจการ” นายสมชายกล่าวส่งท้าย

 

เมื่อต้นสัปดาห์มีการประชุมร่วมผู้ประกอบการขนส่งและบริษัทรถร่วมทั่วประเทศ จาก 27 บริษัท มีมติร่วมกันที่จะปรับลดเที่ยววิ่งรวมกันลง 80% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นี้ เนื่องจากต้นทุนเพิ่มจากเที่ยวละ 1,400 บาทต่อเที่ยวสัปดาห์ก่อน เพิ่มขึ้นเป็น 1,600 บาทแล้วในสัปดาห์นี้ และจะประเมินว่ายังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้หรือไม่ โดยได้หยุดเดินรถกันไปแล้ว 40% ของจำนวนรถสมาชิกที่มีรวมประมาณ 20,000 คัน

 

นายพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย กล่าวว่า ทางเดียวที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาเดินรถได้ตามปกติ คือต้องปรับค่าโดยสารขึ้น ซึ่งตารางอัตราค่าโดยสารของกรมการขนส่งทางบก ครั้งหลังสุดใช้มาตั้งแต่ปี 2562 ให้เก็บค่าโดยสารที่ 53 สตางค์ต่อกิโลเมตร โดยเวลานั้นนํ้ามันดีเซลที่ลิตรละ27.79 บาท ตอนนี้ราคานํ้ามันเพิ่มขึ้นสูงมาก จึงขอให้ปรับขึ้นอีก 6 สตางค์ เป็น 59 สตางค์ต่อกิโลเมตร พอทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้

 

ส่วนเรื่องคูปองส่วนลดราคาดีเซลลิตรละ 2 บาทนั้น แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะดีเซลเพิ่มจากเดิมไปลิตรละ 8 บาทแล้ว

 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง ที่จะปรับลดเส้นทางเดินรถตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้ อาทิ บริษัท สมบัติทัวร์ จำกัด32 เส้นทาง บริษัท นครชัยแอร์จำกัด 29 เส้นทาง บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด 16 เส้นทาง บริษัท 407 พัฒนาจำกัด 9 เส้นทาง เป็นต้น๖