ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

22 พ.ค. 2565 | 16:19 น.
อัปเดตล่าสุด :22 พ.ค. 2565 | 23:31 น.

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้งแต่ไม่มีปัญหาต่อการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคปลายปี และถือว่าไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ทุกเขตเศรษฐกิจได้ยอมรับและสนับสนุน BCG ModelและFTAAP ที่จะเกิดขึ้นในปี2040

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค(Ministers Responsible for Trade Meeting: MRT)  ว่าภาพรวมการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตลอด 2 วันที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ ในฐานะประธานในที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปคจากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคหรือที่เรียกว่า ABAC (สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค) และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปคในการผลักดันและกำหนดทิศทางผ่านการแสดงวิสัยทัศน์และมุมมองที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อฝ่าวิกฤต โควิด-19 ไปด้วยกัน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

รวมทั้งการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคประจำปี 2022 ที่ประเทศไทยกำหนดขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance”สะท้อนความสำเร็จของประเทศไทยคือการที่ทุกเขตเศรษฐกิจได้ยอมรับและสนับสนุน BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ของไทย ให้เป็นวิสัยทัศน์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปคในอนาคต

 

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

แต่อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของการประชุมเอเปคได้เช่นเดียวกับบางครั้งที่เกิดขึ้นในอดีต  เนื่องจากว่ามีบางเขตเศรษฐกิจมีความเห็นขัดแย้งกับบางเขตเศรษฐกิจ หรือมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน ทำให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ 

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

ซึ่งประเด็นความขัดแย้ง มาจากสภานการณ์โลกที่เกิดขึ้นและแม้ว่าจะไม่มีแถลงการณ์ร่วมแต่จะมีจะมีผลลัพธ์ในรูปถ้อยแถลงหรือแถลงการณ์ของประธานการประชุมเอเปค คือประเทศไทยในรูป  Chair Statement แทน ซึ่งได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่าง เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการยกร่างและจะประกาศเป็นทางการในรูปเอกสารต่อไป

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

“เหตุผลที่ไม่มีการแถลงการณ์ร่วมกัน21เขต เหมือนที่เคยทำ เนื่องจากที่ประชุมต้องมีความเห็นที่สอดคล้องกันในทุกประเด็นซึ่งหากมีบางประเด็นหรือมีบางเขตเศรษฐกิจใดเขตเศรษฐกิจหนึ่งไม่เห็นด้วย ก็จะไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปี2017ที่ปากัวกีนี หรือเวียดนามในปี2019 ซึ่งการประชุมก็ยังดำเนินการต่อมาไห้จนถึงปีนี้ และปีหน่าสหรัฐฯเป็นประธานการประชุมก็มั่นใจว่าการประชุมเอเปคก็ยังคงเดินหน้าต่อและไม่มีปัญหาต่อการประชุมสุดยอดผู้นำในปลายปีนี้”

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

นานยจุรินทร์ยังกล่าวอีกว่แม้ว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วม แต่ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จและประเทศไทยเคารพความเห็นของทุกเขตเศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยยังพร้อมทำงานร่วมกับเอเปคอย่างเข้มแข็งต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้ง FTAAP การสนับสนุนการค้าในรูปแบบพหุภาคีรวมทั้ง WTO และการจับมือเดินไปด้วยกันอยู่ร่วมกันกับโควิดและอนาคตต่อไป  และย้ำว่าการแถลงการณ์ร่วมจะเกิดขึ้นได้เมื่อทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจมีความเห็นตรงกันทั้งหมดที่เรียกว่าเป็นฉันทามติ ถ้ามีแม้เขตเศรษฐกิจใดเศรษฐกิจหนึ่งเห็นไม่สอดคล้องก็ไม่สามารถประกาศได้ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเนื่องจากมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในการให้มีแถลงการณ์ร่วม เพียงแต่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่เห็นไม่สอดคล้องกัน บางเขตเศรษฐกิจเห็นไม่ตรงกัน เป็นที่มาที่ทำให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้

ปิดฉากประชุมรมต.เศรษฐกิจเอเปค ไร้แถลงการณ์ร่วมเหตุขัดแย้ง

 

รายงานข่าวที่ประชุมเอเปคเปิดเผยว่า มีบางเขตเศรษฐกิจสนอให้มีการบรรจุความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเข้าไปที่ประชุมครั้งนี้ด้วย  ซึ่งทางรัสเซียไม่เห็นด้วย ส่งผลให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้