เช็กพื้นที่ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก วันที่ 1-5 พ.ค.

29 เม.ย. 2565 | 19:36 น.
อัปเดตล่าสุด :30 เม.ย. 2565 | 02:37 น.
2.0 k

กอนช. แจ้งเตือน วันที่ 1-5 พ.ค. รับมือ “พายุฤดูร้อน” ทำให้เกิด ประกอบกับ อิทธิพลของลมตะวันออก ปะทะ ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ใน ทำให้ อีสาน ตะวันออก ภาคใต้ เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ให้พร้อม อพยพหนีภัยทันที อีก 2 วันสิ้นสุดฤดูแล้ง

ชยันต์ เมืองสง

 

วันที่ 29 เมษายน 2565 นายชยันต์ เมืองสง  รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศ  ฉบับที่ 10/2565 แจ้แงเตือน  เรื่อง  เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน  ซึ่งจากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงวันที่ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2565 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 1 – 4 พฤษภาคม 2565

 

 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบน อากาศร้อนถึงร้อนจัดทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง รวมทั้งอิทธิพลของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 30 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2565 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม 2565 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด และภาคใต้ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และกระบี่

 

ด้าน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ - องค์การมหาชน โพสต์ สถานการณ์น้ำ วันที่ 29 เมษายน 2565 อีก 2 วันสิ้นสุดฤดูแล้ง

 

 

 

ประกาศ "กอนช." เตือนภัย

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

 

1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

 

2. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

 

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ และเตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์