วิกฤตยูเครน! เกิดอะไรขึ้นก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง-อาวุธเศรษฐกิจ อ่านเลย

03 เม.ย. 2565 | 10:39 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2565 | 17:50 น.

วิกฤตยูเครนวิกฤตยูเครนเกิดอะไรขึ้นก่อนเริ่มใช้อาวุธจริงและอาวุธเศรษฐกิจ อ่านเลยที่นี่ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไขปมปัญหา

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala เกี่ยวกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ภายใต้หัวข้อ "เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” 

 

ในสงครามยูเครน มี point of no return สำคัญ 2 จุด ก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง และก่อนเริ่มใช้อาวุธเศรษฐกิจ

 

ถ้าจะมีผู้นำโลกคนใดคิดคลี่คลายวิกฤตด้วยศิลปะการฑูต อันที่จริง มีเวลาหลายเดือน เพราะรัสเซียเริ่มการเคลื่อนทัพ ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2021

 

คลิปเก่าของโจ ไบเดนสมัยเป็นวุฒิสมาชิก ถูกเผยแพร่โดยสำนักข่าว Sputniknews.com ของรัสเซีย เพื่อแสดงแนวคิดเบื้องลึกของไบเดน

 

ผมไม่สามารถแนบคลิป เพราะอาจถูกเฟสบุคปิดบัญชี แต่รูป 1-1 ถึง 1-11 มีข้อความต่อไปนี้

 

เราควรจะบุกเข้าไปในกรุงเบลเกรด (เมืองหลวงของยูโกสวาเวียขณะนั้น) เพื่อยึดปกครองเหมือนดังญี่ปุ่นและเยอรมนี (หลัง WW2)

ผมเสนอแนะให้เราบอมบ์กรุงเบลเกรด ผมเสนอแนะให้ส่งเครื่องบินสหรัฐ ไปบอมบ์สะพานตามแม่น้ำดรีน่า (ซึ่งกั้นระหว่างเซอร์เบียกับยูโกสวาเวียขณะนั้น)

ผมจะใช้พลังทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในตัว เพื่อจะผลักดันให้สหรัฐส่งทหาร ที่พร้อมยิงและฆ่าคู่ต่อสู้ เพื่อจะปกป้องคุ้มครองสิทธิของชาวอัลบาเนีย

ถ้าสหรัฐไม่เข้าไปแทรกแซงในยุโรป ยุโรปจะแตกสามัคคี เพราะไม่มีศูนย์รวมใจในยุโรป

รูป 2 ระบุว่า โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซียเป็นผู้ขุดเอาคลิปนี้มาเผยแพร่ และอ้างว่า เป็นคลิปการประชุมคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐ ในปี 1998

 

วิกฤตยูเครนก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง-อาวุธเศรษฐกิจ

 

หลังจากนั้น ในปี 1999 นาโต้ก็ใช้เครื่องบินโจมตียูโกสวาเวียหลายระลอก

เมื่อสี่ปีก่อน ผมไปเที่ยวกรุงเบลเกรด ยังเห็นตึกรามบ้านช่องขนาดใหญ่หลายตึก ที่ตรงกลางตึกโบ๋หายไป น่าสลดใจไม่แพ้ปัจจุบัน

รูป 3 โฆษกดังกล่าวระบุว่า เนื่องจากคลิปนี้เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้าการบอมบ์กรุงเบลเกรด จึงกล่าวหาว่า การบอมบ์เกิดขึ้นจากข้อเสนอของไบเดน

 

 

ผมลองเข้าไปดูเว็บไซต์สำนักข่าว Sputniknews.com เพื่อจะดูคลิปนี้ ปรากฏว่า ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์นี้ได้

 

วิกฤตยูเครนก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง-อาวุธเศรษฐกิจ

 

 

ไม่รู้ว่ามีใครสั่งบล็อคการเข้าถึงจากประเทศไทย หรือไม่?

 

 

ผมเห็นว่า การสรุปว่าการบอมบ์กรุงเบลเกรด เกิดจากข้อเสนอของไบเดนนั้น น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรองประธานาธิบดี

 

 

แต่ต้องยอมรับว่า คลิปนี้เปิดจุดยืนส่วนลึกในใจของไบเดน เขาเชื่อว่า สหรัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปแทรกแซงยุโรป และต้องใช้กำลังอาวุธ

 

 

อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้ ที่วิกฤตยูเครนผ่าน point of no return การใช้อาวุธจริง ไปอย่างน่าเสียดาย

 

 

หันมาดูด้านการใช้อาวุธการเงิน แซงชั่นรัสเซีย ซึ่งเป็นชุดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ก็เป็น point of no return ด้านเศรษฐกิจ

 

 

จากนี้ไป ไม่มีทางที่รัสเซียจะวางใจสกุลตะวันตก เพราะการใช้ trade settlement จะถูกเบรกเมื่อไหร่ก็ได้ การใช้เป็น store of value จะถูกยึดเมื่อไหร่ได้

 

 

ปูตินจึงได้กล่าวว่า ยูโรและดอลลาร์เป็นเพียงแค่กระดาษ และต่อไปจะมีอีกหลายประเทศที่ระวังเช่นนี้

 

ถามว่า ถ้าไม่ใช้เงินสกุลตะวันตก จะมีทางเลือกอื่นอย่างไร?

 

ด้าน trade settlement ในระยะสั้นมีอยู่เพียงทางเดียว คือใช้สกุลของสองประเทศคู่ค้าเป็นหลัก

 

ด้าน store of value เพื่อเอาทุนสำรองไปลงทุน ขณะนี้มีเพียง 2 ทางเลือก หนึ่ง ลงทุนทองคำ/บิตคอยน์

 

หรือ สอง ลงทุนในทรัพย์สินที่มี productivity ดังเช่นจีนทำโครงการ Belt & Road Initiatives เพื่อลงทุนในเศรษฐกิจจริงทั่วโลก แทนการซื้อพันธบัตรประเทศตะวันตก

 

แต่ประเทศขนาดเล็ก จำเป็นต้องลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง ทางเลือกที่สองจึงทำไม่ได้

 

ในการใช้สองสกุลแลกเปลี่ยนกัน ทองคำจะมีบทบาทสูง สะท้อนแนวคิดในการ์ตูนรูป 1

 

วิกฤตยูเครนก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง-อาวุธเศรษฐกิจ

 

รูป 2 Word Gold Council ประเมินว่า จำนวนทองคำในโลกมี 1.9 แสนตัน ราคาปัจจุบันเกือบ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ คิดเป็นมูลค่ารวม 12 ล้านล้านดอลลาร์

 

ตลาดเงินคริปโทยังเล็กกว่ามาก แค่ประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์

 

วิกฤตยูเครนก่อนเริ่มใช้อาวุธจริง-อาวุธเศรษฐกิจ

 

รูป 3 ทองคำที่ธนาคารชาติทั่วโลกถืออยู่ ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2020 เท่ากับ 3.5 หมื่นตัน คิดเป็น 18% ของ 1.9 แสนตัน

 

ทองคำที่ธนาคารชาติทั่วโลกถืออยู่

 

ดังนั้น เมื่อ trade settlement การค้าโลกเปลี่ยนไป เมื่อทางเลือกเอาทุนสำรองไปลงทุนแคบลง ความต้องการทองคำน่าจะสูงขึ้น
 

ที่มา เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala