"หยาดอำพันภูจอง"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

01 เม.ย. 2565 | 16:07 น.
อัปเดตล่าสุด :01 เม.ย. 2565 | 23:24 น.

     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ค้นพบผึ้งชนิดใหม่ของโลก ผึ้งหยาดอำพันภูจอง พบแห่งเดียวในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ถือเป็นกลุ่มผึ้งหายาก ก่อนหน้านี้เคยมีการค้นพบเพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น

จังหวัดอุบลราชธานี ประกาศการค้นพลผึ้งชนิดใหม่ของโลก "หยาดอำพันภูจอง" ผึ้งเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของโลก ที่พบแห่งเดียวในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ในโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพอุบลราชธานี

 

โดยมีนายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ธรรมรักษ์ ละอองนวล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมกันแถลงข่าวการค้นพบ เพื่อพัฒนาอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของไทยและโลก 

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

โดยทาง  ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา ผู้ค้นพบ เปิดเผยว่า ในเดือนตุลาคมปี 2561 ในระหว่างการเดินทางไปเก็บตัวอย่างภาคสนาม ที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ทีมนักวิจัยพบรังผึ้งกลุ่มเล็ก ๆ 7 รังบนตลิ่งดินแนวดิ่ง จึงทำการขุดค้นรังทั้งหมด และนำกลับมายังห้องทดลองของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อทำการตรวจ  

 

หลังจากเลี้ยงจนผึ้งโตเต็มวัย ก็สามารถระบุได้ว่า เป็นสายพันธุ์ชนิดใหม่ของ Ranthidiellum โดยตั้งชื่อว่า "ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" เป็นการตั้งชื่อสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ให้เกียรติสถานที่ที่เขาอยู่อาศัย และลักษณะเด่นเฉพาะที่งดงามของเขา จะทำให้คนสนใจในสถานที่ที่ค้นพบ และต่อยอดเศรษฐกิจในพื้นที่ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ต่อไป

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 
สำหรับ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” จัดอยู่ในสกุล Anthidiellum สกุลย่อย Ranthidiellum ซึ่งเป็นกลุ่มของผึ้งหายากที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้าเพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น และมีการค้นพบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้นพบทั้งหมดเป็นเพียงการพบเจอตัวผึ้ง โดยไม่ทราบแง่มุมทางชีววิทยาใด ๆ เลย

 

ซึ่งมีการพบรังของผึ้งกลุ่มนี้ว่า มีการสร้างท่อยางไม้เป็นปากทางเข้ารัง เพียงครั้งเดียวเท่านั้นจากประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศไทย มีการพบผึ้งกลุ่มนี้ 2 ชนิด ผึ้งหยาดอำพันภูจอง จึงจัดเป็นชนิดที่ 5 ของกลุ่มนี้ เน้นย้ำให้เห็นถึงความหายากของผึ้งกลุ่มนี้เป็นอย่างดี

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

ผึ้งหยาดอำพันภูจอง มีลักษณะอาศัยอยู่ในรังบนผาดิน จะใช้ยางไม้ในการสร้างรังและปากทางเข้ารัง โดยเฉพาะยางต้นเหียง หรือยางเหียง ที่ขึ้นในป่าเต็งรัง มีมากในอุทยานแห่งชาติภูจอง ตอนที่ทีมวิจัยเจอรังผึ้ง เป็นช่วงที่แสงแดดส่องกระทบรังผึ้ง มีสีเหลืองอำพันระยิบระยับ เพศเมียจะมีเหล็กใน (sting) ใช้สำหรับป้องกันตัว ซึ่งมีพิษอยู่เล็กน้อย สามารถต่อยได้หลายครั้ง

 

ต่างจากผึ้งพันธุ์ที่ให้น้ำหวาน ที่จะต่อยครั้งเดียวแล้วผึ้งจะตายไป เนื่องจากสลัดเหล็กในออกไม่ได้ ปกติผึ้งหยาดอำพันภูจองจะไม่ต่อยคนหากไม่ถูกรบกวนมากจนเกินไป ขณะที่เพศผู้ หลังจากออกจากดักแด้ จะมีบทบาทเฉพาะการสืบพันธุ์กับเพศเมียจากนั้นก็จะตายไป

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

สำหรับ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย มีเขตพื้นที่ติด 3 อำเภอ คือ  อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสปป.ลาว และประเทศกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วยภูเขาภูเล็กภูน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลาญสูง ภูพลาญยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร

 

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย กรมป่าไม้ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นอุทธยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2527  เป็นอุทยานแห่งชาติ  ลำดับที่ 53 ของประเทศเพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ   และพบว่าสภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดชุกชุม และมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง 

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย  เป็นพื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และเนินเขาซึ่งลาดไปทางทิศใต้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 300 – 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าโดยทั่วไปเป็น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพรรณไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ประมาณ 75 % ของพื้นที่ 

 

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอยมีสภาพธรรมชาติที่งดงาม มีสภาพป่าสมบูรณ์ ในพื้นที่พบ “ ต้นจอง ” หรือต้นสำรองจำนวนมาก อันเป็นที่มาของชื่ออุทยาน ฯ ส่วน “ นายอย ” มาจากคำว่า น้ำย้อย ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำไหลย้อยลงมาตามเพิงผาที่อยู่ใกล้น้ำตก และมีลำน้ำสายน้ำสำคัญต่าง ๆ เช่น ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ และห้วยหลวง เป็นต้น 

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

ภายในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยนอกจากยังคงสภาพเป็นป่าทึบและมีสัตว์ป่าชุกชุมแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี มีน้ำตกที่ขึ้นชื่อ สวยงามหลายแห่ง อาทิเช่น 

 

น้ำตกห้วยหลวง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำธารห้วยหลวงไหลตกจากหน้าผาที่มีความ สูง ประมาณ 45 เมตร เบื้องล่างมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ พื้นน้ำเป็นสีเขียวมรกต และมีหาดทรายขาวสะอาดเหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ  ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ ระหว่าง เดือนสิงหาคม – เดือนกุมภาพันธ์ 

 

น้ำตกประโอนละออ อยู่ถัดลงมาด้านล่างของน้ำตกห้วยหลวง ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงประมาณ 100 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามมีแอ่งน้ำที่เหมาะสำ หรับลงเล่นและนวดตัวด้วยสายน้ำ

 

น้ำตกเกิ้งแม่ฟอง อยู่กลางป่าลึกอันอุดมสมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่เกิดจาก ลำโดมน้อย โดยสายน้ำไหลผ่านลานหินแล้วตกลงจากหน้าผาที่มี ความสูงประมาณ 10 เมตร ในช่วงฤดูฝนจะมีพืชจำพวกมอสเฟิร์น
ขึ้นเขียวครึ้มทั่วทั้งบริเวณโขดหิน  และผีเสื้อสวยงาม นานาชนิด  

\"หยาดอำพันภูจอง\"ผึ้้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก แห่งเดียวที่อุบลฯ 

แก่งกะเลา  เป็นแก่งหินกลางลำธารห้วยหลวงที่มีธารน้ำไหลแผ่กว้างไปตามลานหิน บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด และมีผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ อีกด้วย

 

พลาญกงเกวียน ลานหินกว้าง ที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงตามธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ขึ้นสลับกันเป็นหย่อม ๆ มีประวัติความเป็นมาว่า ในอดีตนักเดินทางได้ใช้ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้สำหรับกำบังแดดและฝน เปรียบเพิงหินเสมือน “กงเกวียน” หรือ “ พวงเกวียน” จึงเป็นที่มาของชื่อ “พลาญกงเกวียน” โดยพลาญ หมายถึง บริเวณที่เป็นลานกว้าง และกงเกวียนซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่าพวงเกวียน หมายถึงประทุ่นหรือกระทุนของเกวียน

 

พลาญป่าชาด อยู่ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลักษณะเป็นลานหินสลับด้วยทุ่งดอกไม้นานาชนิด (ดอกหญ้าต่างๆ ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ เช่น มณีเทวา ดุสิตา สรัสจันทร เป็นต้น) บางส่วนเป็นผืนป่าเต็งรังขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยต้นยาง-เหียงหรือต้นชาด ที่มาของชื่อ “ พลาญป่าชาด ”บริเวณกลางป่าจะมีลำธารซึ่งสร้างความ ชุ่มชื้นและเป็นจุดกำเนิดของน้ำตก “ พลาญป่าชาด ” นับเป็นเส้นทางเดินป่าที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้ดอกและพืชพันธุ์หลากหลายชนิด

 

นอกจากนั้น อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย  ยังมีเส้นทางเดินป่า  มี กล้วยไม้ป่า หลากหลายสายพันธุ์ และดอกไม้หลากสี ที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน  ตามฤดูกาล  จุดชมวิวบริเวณหน้าผาสามารถมอง เห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแถบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ภูหินด่าง” มีลานสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อีกด้วย  

 

สำหรับ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ห่างจาก จังหวัดอุบลราชธานี 140 กิโลเมตร  ใช้เส้นทาง อุบลราชธานี-อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน  ก่อนถึงตัวอำเภอนาจะหลวย ประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณ บ้านแก้งเรือง จะมีทางแยกเข้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย โทรศัพท์ 045-210706 / https://www.facebook.com/Phuchong.DNP/


ชลธิษ จันทร์สิงห์/ รายงาน