ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

28 มี.ค. 2565 | 17:17 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มี.ค. 2565 | 00:28 น.

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่  สนค.แนะไทยนำบทเรียนนโยบายภาคเกษตรจากจีนมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเกษตรของไทยในอนาคต  เน้นลดการพึ่งพานำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ เปลี่ยนโครงสร้างผลผลิตภาคเกษตร พึ่งพาผลผลิตภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาติดตามนโยบายของจีนด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร จากแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่ (Advance Agricultural and Rural Modernization) ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2564 – 2568) แผนพัฒนาเกษตรฯ ฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูชนบทให้เข้มแข็งอย่างครอบคลุม และกระตุ้นการพัฒนาภาคเกษตรและชนบทให้ทันสมัย

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

ประกอบด้วยนโยบายสำคัญ อาทิ การเพิ่มอุปทานสินค้าเกษตร และสร้างความมั่นคงทางอาหารของผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มธัญพืช สินค้าปศุสัตว์และประมง การกระจายการนำเข้าและสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานโลกให้มั่นคงในกลุ่มสินค้าเกษตร ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำตาล ฝ้าย ยางธรรมชาติ เมล็ดพืชน้ำมัน และผลิตภัณฑ์นม ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย

 

การดำเนินนโยบายต่างๆ ของจีนย่อมส่งผลต่อการค้ากับไทย ซึ่งการติดตามนโยบายของจีนจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเตรียมพร้อมปรับตัว นอกจากนี้ ไทยสามารถถอดบทเรียนนโยบายภาคเกษตรจากจีน นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาภาคเกษตรของไทยได้

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

แผนพัฒนาเกษตรฯ ฉบับที่ 14 มีเป้าหมายหลัก คือ (1) การผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาปริมาณการผลิตธัญพืชที่ระดับ 650 ล้านตันต่อปี หรือมากกว่า และผลิตเนื้อสัตว์ให้ได้ 89 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2568 (2) การปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ต้องมีบทบาทมากขึ้นในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

และมีสัดส่วนอยู่ในปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัว (Contribution to Growth) ของผลผลิตทางการเกษตร ให้ถึงร้อยละ 64 ภายในปี 2568 (3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท เพิ่มจำนวนถนนลาดยาง และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสาธารณะ (4) การพัฒนาระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมในชนบทจากการทำเกษตรกรรม ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ย

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

จากมูลสัตว์ (5) เพิ่มรายได้ชาวชนบทให้เติบโตต่อเนื่อง โดยการขยายตัวของรายได้ต่อหัวของคนชนบทต้องสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และ (6) การมุ่งมั่นขจัดความยากจน ติดตามและช่วยเหลือประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้กลับสู่ความยากจน

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

แผนพัฒนาเกษตรฯ ของจีน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ประการแรก คือ จีนจะเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญเพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะธัญพืช และเนื้อสัตว์ กล่าวคือ จีนจะพึ่งพาตนเองมากขึ้นและลดการนำเข้า ทั้งนี้ สินค้าสำคัญในกลุ่มธัญพืช และเนื้อสัตว์ ที่ไทยส่งออกไปจีน ได้แก่ (1) ข้าว (ปี 2563 จีนนําเข้า ข้าวจากไทยเป็นอันดับที่ 3 รองจากเวียดนาม และเมียนมา) (2) ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง (ปี 2563 จีนนําเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยเป็นอันดับที่ 3 รองจากบราซิล และสหรัฐฯ) และ (3) กุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง (ปี 2563 จีนนําเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งจากไทยเป็น อันดับที่ 7 รองจากเอกวาดอร์ อินเดีย แคนาดา รัสเซีย เวียดนาม และออสเตรเลีย)

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

ประการที่ 2 จีนจะกระจายการนำเข้า และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานโลกให้มั่นคง ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยบางประเภท เช่น ยางธรรมชาติ ในปี 2563 จีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 รองลงมา คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ดังนั้น ไทยต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับระดับโลก กระจายตลาดส่งออก และพัฒนายางพาราไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ขณะที่แผนพัฒนาเกษตรฯ ดังกล่าว ก็อาจสร้างโอกาสให้ไทย

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

โดยสินค้าบางประเภทที่อาจส่งออกไปจีนได้มากขึ้น เช่น น้ำตาลทราย ในปี 2563 จีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 7 ยังมีโอกาสที่จะนำเข้าจากไทยได้มากขึ้น และน้ำมันมะพร้าว จีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 ซึ่งแนวโน้มผู้บริโภคจีนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ทำให้มีความต้องการน้ำมันมะพร้าวเพิ่มขึ้น

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

นอกจากนี้ ไทยสามารถถอดบทเรียนจากแผนพัฒนาเกษตรฯ ฉบับที่ 14 ของจีน นำมาประยุกต์ใช้ ดังนี้  (1) นําโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Model) ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ในภาคเกษตรอย่างจริงจัง (2) เพิ่มการวิจัยด้านการเกษตรและนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้ประกอบการและเกษตรกร (3) ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจบริการเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตร เกษตรอัจฉริยะ

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

รวมทั้งการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์และสายพันธุ์พืชและสัตว์ (4) ส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านภาคเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (5) แสวงหาโอกาสจากเส้นทางข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) อาทิ รถไฟลาว-จีน เพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่ง (6) พัฒนาโซ่ความเย็น (Cold Chain) และโลจิสติกส์ทั่วประเทศ ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการขนส่ง รักษาคุณภาพและความปลอดภัย

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

และรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และ (7) เตรียมพร้อมปรับตัวกรณีที่จีนลดการนำเข้าสินค้าเกษตร โดยไทยต้องเปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าเกษตรโภคภัณฑ์ เพื่อมุ่งส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น สร้างความโดดเด่นให้สินค้าไทยแตกต่าง เร่งพัฒนาปรับปรุงสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดจีน รวมทั้งหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ นอกเหนือจากการพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

“บทเรียนสำคัญจากจีน คือ การลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญจากต่างประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างผลผลิตภาคเกษตร ให้สามารถพึ่งพาผลผลิตภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ตลอดจนความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ จะเห็นถึงผลกระทบที่ตามมา ทั้งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้า การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน และการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์”

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

ดังนั้น ไทยต้องพยายามผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญภายในประเทศให้มากขึ้น อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์   ข้าวสาลี และถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ รวมถึงพืชอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปลูกในพื้นที่เหมาะสม และใช้สายพันธุ์ที่มีการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (เช่น ข้าวสาลีสะเมิง)

ถอดบทเรียนจีนกับแผนพัฒนาเกษตรขั้นสูงและชนบทสมัยใหม่

นอกจากนี้ อาจต้องมีการกำหนดพื้นที่และปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจใหม่ให้เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ตลอดจนมีการเก็บรักษาผลผลิตให้สามารถนำมาใช้ในช่วงฤดูที่มีผลผลิตน้อย (เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไทยผลิตได้น้อยกว่าความต้องการใช้ แต่ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดบางช่วงเวลา ดังนั้น ต้องมีการเก็บรักษาผลผลิตให้คงคุณภาพได้ยาวนานขึ้น)