จากห้องแล็บสู่งานสนาม ม.อ.พัฒนานวัตกรรมหนุนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

25 มี.ค. 2565 | 15:43 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มี.ค. 2565 | 22:54 น.

คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. จับมือ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 พัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับการสืบสวนสอบสวน ถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมปฎิบัติการตรวจพิสูจน์หลักฐาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) โดย รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร พร้อมด้วย ผศ. ดร.อภิชัย พลชัย และทีมวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมและบริการนิติวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์  ร่วมกับ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 พัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในงานสืบสวนสอบสวน 

 

โดยทางคณะวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมปฎิบัติ เรื่องการเตรียมพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์แบบเจล และการใช้อุปกรณ์เก็บกู้เลขหมาย ให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานพิสูจน์หลักฐาน 9 ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย และส่งมอบพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์แบบเจลชนิดต่าง ๆ และอุปกรณ์เก็บกู้เลขหมาย จำนวน 3 เครื่อง โดยมีผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 พล.ต.ต.สิทธิภูมิ เธียนชัยวัฒนา เป็นผู้แทนรับมอบ

จากห้องแล็บสู่งานสนาม ม.อ.พัฒนานวัตกรรมหนุนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

จากห้องแล็บสู่งานสนาม ม.อ.พัฒนานวัตกรรมหนุนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

นอกจากนี้ คณะวิจัยยังได้ลงพื้นที่ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8 ในการถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมปฎิบัติ เรื่องการเตรียมพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์แบบเจล และการใช้อุปกรณ์เก็บกู้เลขหมายให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานพิสูจน์หลักฐาน 8 และบรรยายพิเศษเรื่องอุปกรณ์ตรวจวัดทางสี สำหรับตรวจพิสูจน์ยาทรามาดอล ที่มีการนำมาใช้ในทางที่ผิดในตัวอย่างเครื่องดื่มต้องสงสัย และยาทรามาดอลปลอม

 

อุปกรณ์ตรวจวัดในรูปแบบห้องปฏิบัติการบนกระดาษแบบพกพา สำหรับตรวจวัดสารเมทแอมเฟตามีน, อุปกรณ์ตรวจวัดสารเสพติดกลุ่มเบนโชไดอะซีพีน ชนิดพกพา ให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานพิสูจน์หลักฐาน จำนวน 12 หน่วยงานในภาคใต้ พร้อมส่งมอบนวัตกรรม โดยมี พล.ต.ต.วิรุตติ์ เย็นสวัสดิ์ ผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8 และหัวหน้าพิสูจน์หลักฐานจังหวัด รับมอบ

จากห้องแล็บสู่งานสนาม ม.อ.พัฒนานวัตกรรมหนุนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

จากห้องแล็บสู่งานสนาม ม.อ.พัฒนานวัตกรรมหนุนศูนย์พิสูจน์หลักฐาน

รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. มีพันธกิจในการดำเนินงานด้านการวิจัย และบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรม การที่ศูนย์นวัตกรรมและบริการนิติวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้ร่วมกับศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้นำปัญหาที่เกิดจากหน้างานมาพัฒนาองค์ความรู้ที่มี ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง 

 

 ความร่วมมือครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันพัฒนาการบวนการสืบสวนสอบสวน นอกเหนือจากการได้ผลงานที่ใช้งานได้จริงแล้ว ยังทำให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และหน่วยงานภายนอกอีกด้วย