RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน

21 มี.ค. 2565 | 11:24 น.
อัปเดตล่าสุด :21 มี.ค. 2565 | 18:31 น.

RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน  ชี้มีทิศทางการขยายตัวดี มีการเติบโตของการเปิดกิจการใหม่ร้อยละ 39. แนะผู้ประกอบการเตรียมพร้อมใช้ประโยชน์

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า เดือนมกราคมปีนี้พบว่าธุรกิจโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนเปิดกิจการใหม่กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 444 ราย เติบโตร้อยละ 39.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนการเปิดกิจการมากที่สุด 3 อันดับแรก

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

คือ  การขนส่งและขนถ่ายสินค้า จำนวน 244 ราย , การขนส่งสินค้าทางถนน 68 ราย และ กิจกรรมตัวแทน  รับจัดส่งสินค้า 33 ราย และธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การบริหารจัดการด้านการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพื่อสนับสนุนการผลิตและกระจายสินค้าและวัตถุดิบ (TSIC 52291) ในปี 2563 โตถึงร้อยละ 22.4

 

RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน

สำหรับธุรกิจการบริหารจัดการด้านการขนส่งฯ ที่ดำเนินกิจการอยู่ 1,276 ราย ส่วนใหญ่มีการจดทะเบียนกระจุกตัวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลร้อย และพื้นที่เขต EEC)และพบว่าในเขตจังหวัดชายแดน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการค้าภูมิภาค ยังมีจำนวนการจดทะเบียนธุรกิจคลังสินค้าค่อนข้างน้อย เช่น เชียงราย  หนองคาย  บึงกาฬ  มุกดาหาร และนครพนม  เป็นต้น

RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน

ธุรกิจคลังสินค้าจึงเป็นโอกาสของนักธุรกิจหน้าใหม่ ยังมีพื้นที่ให้เข้ามาทำตลาดอีกมาก โดยผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงสถานที่ประกอบการเป็นหลักเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งของ รวมถึงการพัฒนารูปแบบคลังสินค้าให้ทันสมัย นำเทคโนโลยีมาใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตเพิ่มมากขึ้น

 

RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน

“ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 นั้น เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันและหนุนการส่งออกไทยให้ขยายตัวมากขึ้น โดยผู้ประกอบการด้านพิธีการทางศุลกากรและผู้ส่งออก ควรเร่งศึกษาสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ”

RCEP ช่วยหนุนธุรกิจโลจิสติกส์ไทยโตในตลาดอาเซียน

อย่างไรก็ตามในปี 2565 ธุรกิจบริการโลจิสติกส์จะมีส่วนที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะ  การขยายการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP และการขยายตัวของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อเตรียมพร้อมรองรับรถไฟจีน-ลาว สำหรับภาครัฐจะต้องร่วมมือกันเร่งสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมกลยุทธ์การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนการขนส่งทั้งในและระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า มีการติดตามสถานการณ์โลจิสติกส์อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านธุรกิจบริการโลจิสติกส์ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป