ทางเลือกเกษตรกรเลี้ยงหมูในยาม ASF มาเยือน 

20 ก.พ. 2565 | 19:43 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2565 | 02:56 น.

โรคระบาด ASF ทำให้เกษตรกรผู้เลี้่ยงหมูต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมากแล้ว ปริมาณเนื้อหมูออกสู่ตลาดน้อย ดันราคาพุ่ง แม้วันนี้จะลดลงบ้างแล้ว จากนี้ทุกฟาร์มจำต้องมีเทคโนโลยีป้องกันโรค ปิดฉากการเลี้ยงหมูหลังบ้าน แต่ยังมีทางเลือกสำหรับเกษตรกร

 ช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาด ASF ทำให้ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบถึงปริมาณเนื้อหมูที่ออกสู่ตลาด และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดประเด็นราคาหมูแพง

 

แม้วันนี้ระดับราคาหมูจะลดลงแล้วตามหลักกลไกการตลาด แต่แนวทางในการทำฟาร์มเลี้ยงหมูจากนี้ไป จะเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เรื่องของเทคโนโลยีป้องกันโรคเป็นความจำเป็นที่ทุกฟาร์มต้องมี เพราะวิธีเลี้ยงแบบดั้งเดิมหรือเลี้ยงตามหลังบ้าน จะไม่สามารถเลี้ยงหมูให้รอดปลอดภัยได้อีกต่อไป

ปฐพี สวัสดิ์สุคนธ์  นักวิชาการด้านปศุสัตว์ เสนอ"ทางเลือกเกษตรกรเลี้่ยงหมูในยาม ASF มาเยือน" โดยชี้่่่ว่า...

ทางเลือกเกษตรกรเลี้ยงหมูในยาม ASF มาเยือน 

ภาครัฐโดยกรมปศุสัตว์ได้วางมาตรฐานด้านนี้อย่างจริงจัง เป็นนโยบายขับเคลื่อนฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสุกร ที่เรียกกันว่า GFM หรือ Good Farm Management  เพื่อยกระดับการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและรายย่อย ให้มีการจัดการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อช่วยลดปัญหาจากโรคระบาดและส่งเสริมให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย 

ระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) นี้ มีองค์ประกอบด้านการจัดการ 8 หัวข้อ ได้แก่ การจัดพื้นที่เลี้ยงและโครงสร้าง การจัดการโรงเรือนหรือเล้าและอุปกรณ์ การจัดการยานพาหนะ การจัดการบุคคล การจัดการด้านสุขภาพ การจัดการอาหาร น้ำ และยาสัตว์  การจัดการข้อมูล และการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

นั่นเป็นเพียงระบบจัดการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น  ยังมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอีกมาก  อาทิ การเลือกหมูสายพันธุ์ที่ดีและแข็งแรงมาเลี้ยง การเลือกใช้อาหารที่ถูกสุขลักษณะและสอดคล้องกับช่วงวัยของหมู รวมถึงอีกหลายเรื่องที่ต้องรองรับการทำฟาร์ม เพื่อความมั่นคงทางอาชีพ

 

ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่จะรับซื้อหมู เลี้ยงแล้วจะเอาไปขายให้ใคร จะขายได้ในระดับราคาที่จะเท่าไหร่ แล้วเทคนิควิทยาการหรือเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ จะเอามาจากไหน ที่สำคัญ เงินทุนที่มีในกระเป๋าจะเพียงพอต่อการเลี้ยงหมูรุ่นใหม่หรือไม่ เพราะเงินลงทุนในการทำฟาร์มหมูมาตรฐาน และต้นทุนการดูแลหมูให้ดีนั้นใช้เงินลงทุนสูงมาก แล้วจะเอาสินเชื่อจากที่ไหน ใครจะให้กู้

 

ลำพังเกษตรกรที่คิดจะกลับเข้าสู่อาชีพอีกครั้ง คงไม่ง่ายนักถ้าจะต้องทำอะไรทุกอย่างด้วยตัวเอง และแขวนชีวิตไว้กับราคาขายหมูหน้าฟาร์มที่มีแต่ความไม่แน่นอน  เกษตรกรยุคใหม่คงต้องเสาะหาทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงทางรายได้

 

หนึ่งในทางเลือกนั้นน่าจะเป็น  “ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง”  ซึ่งเป็นการทำสัญญาข้อตกลงกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัท ที่จะร่วมกันผลิตผลิตผลทางการเกษตรและมีผลตอบแทนตามที่ได้ตกลงกัน

ทางเลือกเกษตรกรเลี้ยงหมูในยาม ASF มาเยือน 

นายอดุลย์ วงษ์ภูเย็น เกษตรกรในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งของซีพีเอฟ ใน จ.หนองคาย เลี้ยงหมูภายใต้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2559 เล่าให้ฟังว่า เห็นการระบาดของโรคหมูในข่าวแล้วก็กลัวเหมือนกัน แต่ก็มั่นใจในมาตรฐานการป้องกันโรคที่บริษัทแนะนำ รวมถึงความเคร่งครัดของตนเอง ทำให้ฟาร์มของตนและเพื่อนบ้านไม่พบโรคดังกล่าวเลย  

 

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งแบบประกันรายได้ที่ตนทำอยู่นี้ มีความมั่นคงปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพได้มาก หากจะแนะนำให้เลี้ยงหมู ก็จะแนะนำให้เลือกการเข้าระบบนี้ แม้ไม่มีความรู้ก็สามารถเลี้ยงหมูได้ด้วยเทคนิควิชาการต่างๆที่บริษัทมีให้ 

ทางเลือกเกษตรกรเลี้ยงหมูในยาม ASF มาเยือน 

ด้านนางใบษร ทรายมูล อายุ 60 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูใน จ.ยโสธร กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ระบบนี้ให้อาชีพที่มั่นคงแก่ตนเอง ตั้งแต่ปี 2557 เรียกว่า อยู่ได้ทุกวันนี้เพราะเลี้ยงหมูในระบบนี้กับซีพีเอฟ มีรายได้ที่แน่นอน ซึ่งต่างกับการทำนาที่ขาดทุนทุกปี  มาตรฐานต่างๆ  คำแนะนำการป้องกันโรค การมีสัตวบาลดูแล และ การเข้าถึงสินเชื่อ ธกส. ล้วนเป็นสิ่งที่บริษัทช่วยได้มาก ถึงวันนี้ครบ 8 ปีก็สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้หมดแล้ว ประเด็นสำคัญคือ “ไม่เสี่ยง” ไม่ต้องลงทุนหมูหรืออาหารเองและได้รับค่าแรงเป็นค่าตอบแทนซึ่งคุ้มค่าสำหรับตน 
    ศักยภาพของทีมงานด้านวิชาการของบริษัทใหญ่ เป็นอีกข้อดีที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นที่ นางสุนิสา อัครนิธิยานนท์ เจ้าของฟาร์มสุกรแสงทอง จ.นครนายก ที่แม้ไม่ใช่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง แต่ก็เป็นหนึ่งในฟาร์มที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากซีพีเอฟ กล่าวว่า “ฟาร์มของเรามีความเสี่ยง เนื่องจากมีฟาร์มอื่นในรัศมี 5 กิโลเมตรเกิดโรคระบาด โชคดีที่ซีพีเอฟไม่ทอดทิ้งเกษตรกร และส่งทีมนักวิชาการและสัตวแพทย์เข้ามาให้คำปรึกษา ช่วยวางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างใกล้ชิดจนทำให้ฟาร์มของเราผ่านสถานการณ์อันน่ากังวลมาได้และทำให้ฟาร์มยังคงมีผลผลิตสุกรป้อนตลาดได้จนถึงทุกวันนี้”   
    เหล่านี้ เป็นตัวอย่างของประสิทธิภาพด้านเทคนิควิชาการ ซึ่งสำคัญมากในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด ผู้เขียน จึงมองว่า “ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง” เป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรในยุคนี้ เพื่อผ่องถ่ายความเสี่ยงบางส่วนไปให้ผู้ประกอบการ เกษตรกรคนไหนมีความพร้อมในระดับที่สูงขึ้น อาจเลือกทำข้อตกลงในรูปแบบที่แตกต่างไป ... อย่างน้อย “ความรู้” และ “การสนับสนุน” ที่บริษัทมีให้ก็คุ้มค่า เพราะเกษตรกรจะเลี้ยงหมูได้รอดปลอดภัย ภายใต้ความมั่นคงทางอาชีพ และรายได้