เปิดตัวคู่มือ คำแนะนำป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับเกษตรกร

19 ม.ค. 2565 | 15:08 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ม.ค. 2565 | 22:20 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดตัวคู่มือ คำแนะนำป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับเกษตรกร ตั้งแต่สังเกตอาการ รอยโรคจุดที่พบ ป้องกันระบาดในฟาร์ม ตลอดจน เส้นทางการแพร่ระบาดโรค อ่านเข้าใจง่าย รูปภาพสีสดสวย สามารถคลิกดาวน์โหลด ได้เลย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกรซึ่งมีหมูป่าเป็นแหล่งรังโรคและมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

 

กรมปศุสัตว์ ออกคู่มือ ความรู้พื้นฐานสำหรับเกษตรกร ในเรื่อง โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ โรค ASF  ถ้าสัตว์เป็นโรค จะมีอาการป่วย ในกรณีฟาร์มที่เลี้ยงมากกว่า 50 ตัว มีสุกรตายตั้งแต่ร้อยละ 3 ต่อวัน ฟาร์มฟาร์มร์ ที่เลี้ยงน้อยกว่า 50 ตัว มีสุกรตายเฉียบพลัน  มี อาการไข้สูงนอนสุมกันร่วมกับไอ หรือแท้ง หรือท้องเสียเป็นเลือด หรือมีผิวหนังแดง หรือจุดเลือดออก หรือรอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง

 

อาการของโรค

 

 

ระบบความปลอดภัยทางชีวชีภาพสำ หรับรั ฟาร์มร์ (farm biosecurity) ระบบหรือมาตรการที่นำมาใช้เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดติดต่อถึงสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เพื่อควบคุมป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับคนสัตว์ สิ่งของ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ ต้องฆ่าเชื้อโรค ทางเข้า-ออก ฟาร์ม กำจัดสัตว์พาหะ มีพื้นที่พักสัตว์ พื้นที่เลี้ยง และพื้นที่ขายหมู แยกจากกัน ต้องเปลี่ยนชุดก่อน เข้า-ออก และจุ่มรองเท้าบู้ทฆ่าเชื้อทุกครั้ง

 

เปิดตัวคู่มือ คำแนะนำป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับเกษตรกร

 

 โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2558กรมปศุสัตว์ได้ยกระดับการป้องกันโรคเข้าประเทศ ด้วยคุมเข้มควบคุมเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรโดยติดตามสถานการณ์โรคในต่างประเทศ ชะลอการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศที่มีการระบาด รวมถึงการตรวจเข้มการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรในทุกช่องทาง

 

                                                                                                                    

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า คู่มือ อ่านง่าย กระชับ ให้สำหรับเกษตรกร มีความรู้เท่าทันโรค ป้องกันโรคระบาด ได้รวดเร็ว สามารถคลิกดาวน์โหลด (คลิกอ่านที่นี่)