เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 "กลุ่มตกหล่น" โอนเงินถึงวันไหนดูเลย

05 ม.ค. 2565 | 14:19 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ม.ค. 2565 | 21:25 น.
15.1 k

เงินเยียวยา ประกันสังคมมาตรา 33,มาตรา 39 และมาตรา 40 กลุ่มตกหล่น อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ www.sso.go.th หลัง ครม.อนุมัติโอนเงินถึงวันไหนตรวจสอบได้ที่นี่

เกาะติดโอนเงินเยียวยากลุ่มตกหล่น มาตรา 33 นายจ้าง ลูกจ้าง , มาตรา 39 และ มาตรา 40 หลังจาก คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาตามโครงการฯ  ดังนั้น ครม. จึงให้สำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมของการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามขั้นตอนโดยเร็ว เพื่อให้ความช่วยเหลือของภาครัฐถึงกลุ่มเป้าหมายเร็วที่สุด

สำหรับกลุ่มตกหล่นที่ทบทวนสิทธิแล้ว เเต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา มีสถานะขึ้น สีแดง หลังจากเช็คสิทธิเงินเยียวยาผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th ทางสำนักงานประกันสังคมขยายเวลา โอนเงินเยียวยา ม.33 ม.39 ม.40 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้มกลุ่มตกหล่น จาก ธันวาคม  2564 ไปสิ้นสุด มีนาคม 2565 โดยจะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน 5,000-10,000 บาท

 

13 จังหวัด กลุ่มตกหล่น

  •  กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • นราธิวาส
  • สงขลา
  • ชลบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • พระนครศรีอยุธยา

 

เช็คเงินเยียวยา

  • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือก ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ

 

ประกันสังคม

  • เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก

กรอกรหัสตามภาพ

กด ค้นหา

 

มาตรา33

  • เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39

กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก

กรอกรหัสตามภาพ

 

 

 

ตรวจสอบสถานะ

  • เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40

กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด

   กดค้นหา

 

ตรวจสอบสิทธิ

 

 

ระบบจะแสดงผลการค้นหา พร้อมระบุจะอัพเดตข้อมูลล่าสุด ตามวันเวลาที่กำหนดอีกครั้ง

 

ขั้นตอนวิธีผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

 

  1. เช็คว่าผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน 13 หลักถูกต้องหรือไม่
  2. ตรวจสอบการเดินบัญชีรับเงิน หากไม่มีให้ไปติดต่อธนาคาร
  3. หากบัญชีที่ผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชนไว้ ปิดไป หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ให้รีบติดต่อธนาคารและผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนทันที.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม