คลินิกแก้หนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จ่ายบัตร-สินเชื่อไม่ไหว เช็คได้ที่นี่

06 ม.ค. 2565 | 15:15 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ม.ค. 2565 | 22:39 น.
32.3 k

ตรวจสอบคุณสมบัติ ขั้นตอน วิธีการลงทะเบียนร่วมโครงการรวมหนี้เป็นก้นอเดียว กับ คลินิกแก้หนี้ สำหรับผู้ที่มีหนี้บัตรเครติด หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ที่จ่ายไม่ไหว มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง สรุปให้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ นำคุณผู้อ่านมารู้จักโครงการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว กับ "คลินิกแก้หนี้" เนื่องสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ทำให้ประชาชนหลายคนรายได้หดหาย ตกงาน ไม่มีกำลังที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 

ทั้งนี้ โครงการคลีนิกแก้หนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี2560 โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 1 เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของ "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ด้วยความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารเจ้าหนี้ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียว 

คลินิกแก้หนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จ่ายบัตร-สินเชื่อไม่ไหว เช็คได้ที่นี่

ธนาคารเจ้าหนี้ 16 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ มอบหมายให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย ควบคู่กับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้านการลดความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และสร้างเสริมสุขภาพทางการเงินที่ดีให้แก่คนรุ่นใหม่ในสังคม นำไปสู่การลดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ต่อมาปี 2562 โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 ขยายขอบเขตให้รวมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ non-bank 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกหนี้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ทำให้โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกในการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างกว้างขวางและครบวงจรอย่างแท้จริง

คลินิกแก้หนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จ่ายบัตร-สินเชื่อไม่ไหว เช็คได้ที่นี่

ปี 2563 โครงการคลินิกแก้หนี้เดินหน้าเข้าสู่ “ระยะที่ 3” โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2562 มาเป็นวันที่ 1 มกราคม 2563 และปรับเงื่อนไขจากเป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เมื่อช่วงปลายปี

ปัจจุบัน(2564)โครงการฯ ได้ปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

 

สำหรับขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการคลีนิกแก้หนี้ มีดังนี้ 

  • ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
  • ขั้นตอนที่ 2 : กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มใบสมัคร
  • ขั้นตอนที่ 3 : จัดเตรียมเอกสารประกอบการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
  1. ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
  2. รายงานเครดิตบูโร
  3. สำเนาบัตรประชาชน
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน
  5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  6. เอกสารแสดงรายได้ (แยกตามกรณี)
  • กรณีพนักงานประจำ : สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 1 เดือน
  • กรณีอาชีพอิสระ : รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3 เดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ (ตามแบบฟอร์มแนบท้ายใบสมัคร)    

 

  • ขั้นตอนที่ 4 : ส่งเอกสารมาที่ ตู้ปณ. 40 ปณฝ.ซันทาวเวอร์ส กรุงเทพฯ 10905 (แนะนำส่งผ่านไปรษณีย์ไทย เพื่อสามารถตรวจสอบการจัดส่งและป้องกันการสูญหายของเอกสาร)

คลินิกแก้หนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จ่ายบัตร-สินเชื่อไม่ไหว เช็คได้ที่นี่

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคลีนิกแก้หนี้ มีดังนี้

  1. อายุไม่เกิน 70 ปี ที่มีรายได้

  2. เป็นหนี้เสียสารพัดบัตร หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน

  3. เป็น NPL ก่อน 1 ต.ค. 64

  4. หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท

  5. ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน ก.ย. 64 มีสถานะค้างชำระ 91-120 วันขึ้นไป

 

ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการคลีนิกแก้หนี้

  • ไม่ถูกทวงถามจากเจ้าหนี้หลายราย
  • แก้ไขหนี้หลายรายได้ครบ จบในที่เดียว
  • ทำสัญญาแก้หนี้เพียงฉบับเดียว
  • ผ่อนสบายๆ ตามตารางชำระหนี้
  • ผ่อนได้ยาวๆ ไม่เกิน 10 ปี ดอกเบี้ยขั้นต่ำ 5% ต่อปี
  • ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ไม่ต้องพึ่งหนี้นอกระบบ

คลินิกแก้หนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว จ่ายบัตร-สินเชื่อไม่ไหว เช็คได้ที่นี่

 

ที่มาข้อมูล