“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

23 ส.ค. 2564 | 12:40 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ส.ค. 2564 | 19:52 น.

ส่งออกไทย 7 เดือนขยายตัวต่อเนื่อง16.20% มั่นใจทั้งปีขยายตัวตามเป้า4% จากอานิสงส์ค่าบาท ตลาดโลกฟื้นตัว ตลาดสำคัญๆของไทยมีแนวโน้มดี ดันส่งออกเดือนก.ค. ขยายตัว20.27% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่5 เดินหน้าเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่า การกระทรวงพาณิชย์เปิดผยถึงสถานการณ์ส่งออกเดือนกรกฎาคม ว่า การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคมว่าเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ด้วยมูลค่า 22,650.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ 20.27 % เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการขยายตัว4เท่าจากเป้าทั้งปี ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 22,467.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 45.94% ดุลการค้าเกินดุล 183.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นผลจากการเร่งแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวดีในระดับที่น่าพอใจ ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปทำให้ภาคบริการฟื้นตัว ผลักดันให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตเร็วขึ้น อีกทั้งภาคการผลิตทั่วโลกยังคงขยายตัวดี

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยการผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเพื่อการลงทุนปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนต่อการส่งออกไทย ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 154,985.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.20% การนำเข้า มีมูลค่า 152,362.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว28.73% ดุลการค้า 7 เดือนแรก เกินดุล 2,622.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าเป้าส่งออก4% ไม่ไกลเกินเอื้อม

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

 

 

อย่างไรก็ตามสินค้าที่ขยายตัว เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผักและผลไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ไก่สด แช่เย็น แช่เข็ง และแปรรูป เครื่องดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร   สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  รวมถึงสินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศคู่ค้า

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

ขณะที่ตลาดส่งออก ขยายตัวเกือบทุกตลาด ตลาดสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง หากมองในตลาดอาเซียน อาเซียน (5) และ CLMV มีศักยภาพการเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดเมียนมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ ตลาดตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา แอฟริกา และรัสเซียและ CIS มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงแทบทั้งสิ้น

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผุ้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษต ขยายตัว4.3%  เป็นการขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง โดย สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว80.2%  ขยายตัวต่อเนื่อง4เดือน เช่น ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์ ยางพารา ขยายตัว 121%  ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง  มันสำปะหลัง ขยายตัว 62%  ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่องเป็นต้น

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

 

ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว5เดือนต่อเนื่อง โดยขยายตัว18% ซึ่ง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 39.2%  ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 16% ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง  ส่งผลให้ 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว16.2%

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

โดยภาพรวมการส่งออกไปกลุ่มตลาด อย่าง ตลาดหลัก ขยายตัว25.8%  ประกอบด้วย สหรัฐฯขยายตัว 22.2%  จีนขยายตัว 41% ญี่ปุ่นขยายตัว 23.3 %   สหภาพยุโรป (27) ขยายตัว 20.9% อาเซียน (5) ขยายตัว 26.9%  CLMV ขยายตัว 16.1 2%    ตลาดรอง ภาพรวมขยายตัว 27.6%  ได้แก่ เอเชียใต้ขยายตัว 73.8% ตะวันออกกลาง ขยายตัว 12.4% ทวีปแอฟริกา ขยายตัว 17.9 % ลาตินอเมริกา ขยายตัว 93.5% และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัว 53%  ขณะที่ทวีปออสเตรเลียติดลบ 6.8 % และ 3 ตลาดอื่นๆ ติดลบ76.7%

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

สำหรับแนวโน้มกระทรวงพาณิชย์มองว่าส่งออกไทยยังคงมีการขยายตัวที่ดีเนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ    ราคาพลังงานปรับสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อีกทั้งการส่งออกไปยังอาเซียนยังได้รับอานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าวเช่นกัน แม้ว่าจะยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรง    มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ และการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าของไทย  และค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทยในขณะนี้

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่

ด้านนายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงเร่งเพื่อเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับทูตพาณิชย์ของไทยในจีนเพื่อเร่งแก้ไขอุปสรรคการส่งออกในสินค้าผลไม้ เช่น ทุเรียน และลำไย ไปยังตลาดจีน ซึ่งจากความพยายามในการหารือและเจรจาครั้งที่ผ่านมาของกระทรวงพาณิชย์ ทำให้จีนปลดล็อกอุปสรรคการส่งออกในสินค้าเกษตรทั้ง 2 ชนิดแล้ว ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรในประเทศมีช่องทางในการระบายสินค้าและส่งผลดีต่อเกษตรกรของไทยต่อไป

“จุรินทร์” ปลื้มส่งออก 7 เดือนโต 4 เท่าจากเป้าหมาย ผนึกเอกชน เร่งเปิดตลาดใหม่