กฟผ.ช่วยโควิดทำกำไรหด 1.9 หมื่นล้าน

30 มี.ค. 2564 | 12:49 น.
997

กฟผ.ช่วยประชาชนช่วงโควิด ทำกำไรหดกว่า 19,000 ล้านบาท ขณะเทียบค่าไฟฟ้า10 ประเทศอาเซียน ไทยแพงอันดับ 4 แพง กมธ.พลังงาน ตั้งอนุฯศึกษาปรับลดราคาน้ำมัน-ก๊าซ ขีดเส้น 2 เดือนชงสภา

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เผยผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในปี 2563 ส่งผลให้ กฟผ.มีกำไรสุทธิ 25,480 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562  กว่า 19,696 ล้านบาท เหตุจากหน่วยขายไฟฟ้าลด 3% ลดรายได้ค่าขายไฟฟ้าปี 2563 จากเงิน Claw Back เพื่อสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 5,763 ล้านบาท และรายการปรับปรุงตาม TFRS 16 เรื่อง สัญญาเช่า โดยในปี 2563 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ของรายการตามสัญญาเช่าฯ ลดลงจากปีก่อน จำนวน 10.513 ล้านบาท

ข้อมูลดังกล่าวได้รายงานต่อนายกิตติกร โลห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน(กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ที่ได้เดินทางศึกษาดูงาน และรับฟังการนำเสนอภาพรวมการบริหารงานด้านธุรกิจผลิตและส่งไฟฟ้าของ กฟผ. พร้อมเข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ศูนย์การเรียนรู้ทางด้านพลังงานที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. และคณะผู้บริหาร กฟผ. ให้การต้อนรับ

นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน กล่าวว่า แนวโน้มทางด้านพลังงานของโลกที่เปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด เป็นเรื่องที่ กฟผ. จำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับความต้องการการใช้พลังงานของประเทศที่มีความต้องการพลังงานสูงขึ้นทุกวัน ที่ผ่านมา กฟผ. ประสบความสำเร็จและได้รับคำชื่นชมในการบริหารจัดพลังงานเพื่อพัฒนาประเทศอย่างดี และทำหน้าที่ในการดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ค่อยประสบภาวะวิกฤติไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า กฟผ. จะทำหน้าที่ได้ดีเช่นนี้ตลอดไป

กฟผ.ช่วยโควิดทำกำไรหด 1.9 หมื่นล้าน

ในปี 2563 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้า ของระบบการ 3 การไฟฟ้า จำนวน 49,702 เมกะวัตต์ คิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 203,328 ล้านหน่วย แยกตามเชื้อเพลิงในการผลิต พลังงานก๊าซธรรมชาติ 27,961 เมกะวัตต์ (56%) ได้พลังงานไฟฟ้า 112,796 ล้านหน่วย (55%) พลังงานถ่านหิน 6,077 เมกะวัตต์ (12%) ได้พลังงานไฟฟ้า 45,902 ล้านหน่วย พลังงานน้ำ 7,049 เมกะวัตต์ (14%) ได้พลังงาน 20,788 ล้านหน่วย (23%) พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ 6,945 เมกะวัตต์ (14%) ได้พลังงาน 20,934 ล้านหน่วย พลังงานจากน้ำมันเตา ดีเซล ลำตะคอง มาเลเซีย 1,670 เมกะวัตต์ ได้พลังงาน 2,907 ล้านหน่วย

กฟผ.ช่วยโควิดทำกำไรหด 1.9 หมื่นล้าน

การใช้พลังงานในปี 2562-2563 นั้น ในปี 2562 ใช้พลังงานไฟฟ้า 192,960 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 2.73% จากปี 2561 โดยใช้ในภาคอุตสาหกรรม 45% ใช้ครอบเรือน 26% ใช้ในภาคธุรกิจ 25% และใช้อื่น ๆ 4% ประชากรภาคกลางใช้ไฟฟ้าใน 2562 สูงสุด 42% นครหลวง  28% อีสาน 12% ภาคเหนือกับภาคใต้ใช้ไฟฟ้า เท่ากัน 9% สำหรับในปี 2563 ช่วงระบายโควิด ใช้พลังงานรวม 187,046 ล้านหน่วย ลดลงจากปี 2562 3.06% ภาคอุตสาหกรรม 44% ครอบเรือน 28% ธุรกิจ 24% อื่นๆ 4%

ส่วนการจัดอันดับราคาค่าไฟฟ้าของ 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2562 ประเทศไทยมีราคาไฟฟ้าสูงเป็นอันดับที่ 4 สาเหตุที่ประเทศไทยมีราคาไฟฟ้าแพง เนื่องจากว่าประเทศไทยผลิตไฟฟ้าจาก LNG นำเข้า และน้ำมันซึ่งมีต้นทุนสูง รวมถึงมีต้นทุนระบบส่งและจำหน่ายสูง โดยประเทศที่มีค่าไฟฟ้าสูงกว่าไทยได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา จากภูมิประเทศที่เป็นเกาะ หรือมีการนำระบบส่งไฟฟ้าลงใต้ดิน

กฟผ.ช่วยโควิดทำกำไรหด 1.9 หมื่นล้าน

สำหรับประเทศที่มีราคาค่าไฟฟ้าต่ำกว่าประเทศไทยได้แก่ มาเลเซีย เมียนมา ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย จากมีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและน้ำ ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ในสัดส่วนเกินกว่า 50% ยกเว้นประเทศบรูไน แม้ว่าจะมีการผลิตจากก๊าซในสัดส่วน 100% แต่ว่ามีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้าจากภาครัฐ ส่วนเมียนมามีการปรับค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 67% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาครัฐลดการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้า

“จากกรณีที่ราคาค่าไฟฟ้าของประเทศไทยที่มีราคาสูงเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคอาเซียนนั้น ทาง กมธ.การพลังงาน กำลังศึกษาแนวทางการปรับลดโครงสร้างราคาพลังงานลง โดยเฉพาะ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา 2 ชุด คาดว่าภายใน 2 เดือนนี้ ทาง กมธ.การพลังงานจะนำเสนอรัฐสภา เพื่อทำการพิจารณาและเสนอให้รัฐบาลเพื่อปรับโครงการสร้างราคาพลังงานต่อไป ซึ่งถ้าเราสามารถปรับลดลงโครงการสร้างพลังงานได้ การผลิตไฟฟ้าของเราก็จะมีต้นทุนที่ต่ำลงได้” นายกิตติกร กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เยียวยารอบ2 สรุปมาตรการ กกพ.ลดค่าไฟฟ้า 2 เดือน

ผู้ใช้เฮ ลดค่าเอฟที ค่าไฟฟ้า ถูกลง 2.89 สตางค์ต่อหน่วย

กฟผ.สร้าง Eco System สถานีชาร์จ รองรับตลาด EV พุ่ง 1 ล้านคันใน 10 ปี

เด็กจบใหม่ 620 คนเริ่มลงพื้นที่ทำงานให้ กฟผ. เดือน พ.ค.

ครม.ต่ออายุ เงินกู้ระยะสั้น Credit Line  1 หมื่นล้านให้กฟผ.