GIZ สร้างแพลทฟอร์ม Moverity ประหยัดน้ำมันรถยนต์

05 ต.ค. 2563 | 17:31 น.
1.3 k

GIZ นำ บิ๊กดาต้า พัฒนาแพลทฟอร์มออนไลน์ Moverity ช่วยผู้ขับรถยนต์ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมัน โดยนำดาต้าพฤติกรรมและเทคนิคการขับขี่ของผู้ใช้รถมาคำนวณ สอดรับ เป้าหมาย พพ. กระทรวงพลังงาน ที่จะลดความเข้มข้นการใช้พลังงานลง 30% ภายในปี 2579 เผย พพ.เตรียมรับมอบแพลทฟอร์ม มาพัฒนาต่อ เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น

นางคาโรลิน คาโพเน่ ผู้อำนวยการโครงการภาคการคมนาคมประจำประเทศไทย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดเผยว่า GIZ ได้สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ Moverity ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ผู้ขับรถยนต์ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมัน โดยคำนึงถึงปัญหาความแตกต่างของค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากห้องทดลองกับการขับขี่จริงบนท้องถนน โดย Moverity มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน 2 เรื่อง คือ การให้ข้อมูลประสิทธิภาพการใช้น้ำมันของรถรุ่นต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจเมื่อซื้อรถยนต์ใหม่ และการให้เทคนิคการขับขี่ เพื่อประหยัดพลังงาน (eco-driving) ผ่านทางแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ 

นอกจากนี้ Moverity ยังสามารถแสดงผลการใช้น้ำมันที่เปลี่ยนแปลง เมื่อผู้ใช้งานปรับพฤติกรรมการขับขี่ตามเทคนิคการขับขี่ เพื่อประหยัดพลังงาน เช่น การเปลี่ยนยาง หรือการเปลี่ยนประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง โดยข้อมูลจากการศึกษาเรื่อง The Transport, Health and Environment Pan European Programme (THE PEP) ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ แห่งสหประชาชาติในยุโรป และองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นยุโรป พบว่า การขับขี่เพื่อประหยัดพลังงานอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยประหยัดน้ำมันได้สูงสุด 20% 

Moverity เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลการใช้น้ำมันจากผู้ขับรถ และสร้างเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ (consumer-based crown sourcing) ทำให้ฐานข้อมูลสะท้อนค่าประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่จริงบนท้องถนน ซึ่งแตกต่างจากค่าที่ได้จากห้องทดลอง Moverity ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ IOS และ Android รวมถึง Facebook Messenger โดยผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนและเลือกรุ่นรถยนต์เพื่อเริ่มต้น ใช้งานในระบบได้ และกรอกข้อมูลทุกครั้งหลังจากการเติมน้ำมัน โดยแนะนำให้ผู้ใช้งานเก็บใบเสร็จ และจดเลขหน้าไมล์รถยนต์หลังจากเติมน้ำมันทุกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีในการบันทึกแต่ละรอบ 

หลังจากนั้น ระบบจะคำนวณค่าประสิทธิภาพการใช้น้ำมันของผู้ใช้งาน ซึ่งขณะนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน กำลังดำเนินการรับมอบ Moverity เพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของ Moverity และทำให้แพลตฟอร์มมีความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น

นายชัยยุทธ สารพา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายที่จะลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI) ลง 30% ภายในปี พ.ศ.2579 ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ.2558-2579) โดยได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานในภาคคมนาคมขนส่ง 

เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา รัฐบาลได้เปลี่ยนรูปแบบการเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการนำ Eco Sticker มาใช้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์ทราบว่า รถยนต์กินน้ำมันกี่ลิตร ต่อการวิ่งในระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้รถยนต์สามารถนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้น้ำมันของรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้

Eco Sticker จะแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน ที่สามารถช่วยผู้ใช้รถยนต์ตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ โดยการเลือกซื้อรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน อาจช่วยผู้ขับขี่รถยนต์ประหยัดค่าน้ำมันได้สูงสุดถึง 60,000 บาท ถ้าผู้ใช้รถยนต์เลือกซื้อรถรุ่นที่ประหยัดน้ำมันที่สุดที่มีอยู่ในท้องตลาดแทนรถใหญ่ที่กินน้ำมันมากที่สุด  

นางคาโรลิน กล่าวว่า ข้อจำกัดของ Eco Sticker คือ ค่าการใช้น้ำมันของรถรุ่นต่างๆ ที่รายงานไว้นั้น ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ซึ่งมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในห้องทดลอง ไม่สะท้อนสภาวะการขับขี่จริงในปัจจุบัน เช่น การทดสอบในห้องทดลองมีการกำหนดค่าความเร็ว ที่ไม่ได้ตรงกับสภาวะการเดินทางจริงของการขับรถในเมืองในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถสะท้อนอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน จากการขับรถยนต์ในช่วงที่มีการจราจรติดขัด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันของการขับรถยนต์ในเมือง

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันของรถยนต์ ที่ไม่สามารถทดสอบในห้องทดลองได้ เช่น พฤติกรรมการขับรถของผู้ขับขี่บนท้องถนน การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และการใช้งานเครื่องปรับอากาศขณะขับรถ

ทั้งนี้ งานวิจัยจาก International Council of Clean Transport (ICCT) ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่าง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจากสภาวะการขับขี่จริง กับอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่มาจากการทดสอบ พบว่าตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองค่ามีความแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ และจากการเก็บข้อมูลในปีพ.ศ. 2562 แสดงให้เห็นว่าค่าการใช้น้ำมันที่ได้จากสภาวะการขับขี่จริง และค่าที่ได้จากห้องทดลองนั้น มีความแตกต่างกันมากถึง 50% โดยประมาณ (จากข้อมูลของการใช้น้ำมันของรถยนต์ในทวีปยุโรปในปีพ.ศ. 2543 ทั้งสองค่านี้มีความแตกต่างกันเพียง 10% เท่านั้น) 

นอกจากนี้ ค่าการปล่อยสารมลพิษ เช่น ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) หรือ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงขณะขับขี่จริงก็จะมีค่ามากกว่าที่ระบุไว้จากการทดสอบในห้องทดลองอีกด้วย สำหรับผู้ใช้รถยนต์ความแตกต่างของทั้งสองค่านี้ หมายถึงค่าใช้จ่ายการเติมน้ำมันที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และสำหรับภาครัฐ จะหมายถึง ความท้าทายในการกำหนดนโยบายให้ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น มาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

นายชัยยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า รายงานข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้รถยนต์ เช่น ข้อมูลการใช้น้ำมันของ Moverity เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่มาจากสภาวะการขับขี่จริง และยังสามารถใช้ในการติดตามผลการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้แผนงานการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Moverity ดูได้ที่ เว็บไซต์ Mymoverity.com เพจเฟซบุ๊ก moverity และ Line official “@Moverity”

แนวโน้มการใช้รถยนต์ของประเทศไทย ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยแต่ละปี จะมีรถใหม่เพิ่มขึ้นบนท้องถนนประมาณ 3 ล้านคัน ข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ผู้ขับขี่นิยมเลือกใช้รถที่มีขนาดใหญ่และกินน้ำมันมากขึ้น เช่น รถ SUV รถกระบะ และรถตู้ขนาดเล็ก ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันของภาคขนส่งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นยุทธศาสตร์ด้านพลังงานสำหรับภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็น 

นอกจากนี้ การเผาผลาญเชื้อเพลิงของรถยนต์ ยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศมากกว่า 50% เกิดจากการปล่อยควันจากท่อเสียของรถยนต์ที่ขาดการบำรุงรักษา หรือมีอายุการใช้งานสูง 

นางคาโรลิน กล่าวว่า ข้อจำกัดของ Eco Sticker คือ ค่าการใช้น้ำมันของรถรุ่นต่างๆ ที่รายงานไว้นั้น ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ซึ่งมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในห้องทดลอง ไม่สะท้อนสภาวะการขับขี่จริงในปัจจุบัน เช่น การทดสอบในห้องทดลองมีการกำหนดค่าความเร็ว ที่ไม่ได้ตรงกับสภาวะการเดินทางจริงของการขับรถในเมืองในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถสะท้อนอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน จากการขับรถยนต์ในช่วงที่มีการจราจรติดขัด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันของการขับรถยนต์ในเมือง

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันของรถยนต์ ที่ไม่สามารถทดสอบในห้องทดลองได้ เช่น พฤติกรรมการขับรถของผู้ขับขี่บนท้องถนน การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และการใช้งานเครื่องปรับอากาศขณะขับรถ

ทั้งนี้ งานวิจัยจาก International Council of Clean Transport (ICCT) ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่าง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจากสภาวะการขับขี่จริง กับอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่มาจากการทดสอบ พบว่าตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองค่ามีความแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ และจากการเก็บข้อมูลในปีพ.ศ. 2562 แสดงให้เห็นว่าค่าการใช้น้ำมันที่ได้จากสภาวะการขับขี่จริง และค่าที่ได้จากห้องทดลองนั้น มีความแตกต่างกันมากถึง 50% โดยประมาณ (จากข้อมูลของการใช้น้ำมันของรถยนต์ในทวีปยุโรปในปีพ.ศ. 2543 ทั้งสองค่านี้มีความแตกต่างกันเพียง 10% เท่านั้น) 

นอกจากนี้ ค่าการปล่อยสารมลพิษ เช่น ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) หรือ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงขณะขับขี่จริงก็จะมีค่ามากกว่าที่ระบุไว้จากการทดสอบในห้องทดลองอีกด้วย สำหรับผู้ใช้รถยนต์ความแตกต่างของทั้งสองค่านี้ หมายถึงค่าใช้จ่ายการเติมน้ำมันที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และสำหรับภาครัฐ จะหมายถึง ความท้าทายในการกำหนดนโยบายให้ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น มาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

นายชัยยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า รายงานข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้รถยนต์ เช่น ข้อมูลการใช้น้ำมันของ Moverity เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่มาจากสภาวะการขับขี่จริง และยังสามารถใช้ในการติดตามผลการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้แผนงานการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

แนวโน้มการใช้รถยนต์ของประเทศไทย ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยแต่ละปี จะมีรถใหม่เพิ่มขึ้นบนท้องถนนประมาณ 3 ล้านคัน ข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ผู้ขับขี่นิยมเลือกใช้รถที่มีขนาดใหญ่และกินน้ำมันมากขึ้น เช่น รถ SUV รถกระบะ และรถตู้ขนาดเล็ก ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันของภาคขนส่งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นยุทธศาสตร์ด้านพลังงานสำหรับภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็น 

นอกจากนี้ การเผาผลาญเชื้อเพลิงของรถยนต์ ยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศมากกว่า 50% เกิดจากการปล่อยควันจากท่อเสียของรถยนต์ที่ขาดการบำรุงรักษา หรือมีอายุการใช้งานสูง