พับแผน ดึง "แท็กซี่" บูม"แกร็บ"ถูกกฎหมาย

20 ส.ค. 2563 | 11:33 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ส.ค. 2563 | 18:43 น.
583

"กรมการขนส่ง" ถอย ดันแท็กซี่ บูมแกร็บ นำรถส่วนบุคคล ให้บริการรถสาธารณะผ่านแอพพลิเคชันอย่างถูกกฎหมาย หลังสำนักงานกฤษฎีกาให้ความเห็นควรแก้ไข พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ขนส่ง ปี 2522 ไม่สามารถแก้ไขเพียงกฎกระทรวงได้อย่างเดียว

 

 ที่ผ่านกรมการขนส่ง (ขบ.) เร่งผลักดันนโยบายการนำรถส่วนบุคคลให้บริการรถสาธารณะผ่านแอพพลิเคชันอย่างถูกกฎหมาย  หรือ แท็กซี่ เป็นแกร็บ ถูกกฎหมาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ล่าสุดกรมขนส่งเตรียมพับแผนนโยบายดังกล่าว หลังสำนักงานกฤษฎีกาให้ความเห็นควรแก้ไข พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ขนส่ง ปี 2522 ไม่สามารถแก้ไขเพียงกฎกระทรวงได้อย่างเดียว ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับนโยบายดังกล่าวนั้นเป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการนโยบายฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจน ซึ่งจะต้องทำให้มีผลบังคับใช้ภายในปีนี้

พับแผน ดึง \"แท็กซี่\" บูม\"แกร็บ\"ถูกกฎหมาย

 “หากภายในปีนี้ยังไม่สามารถดำเนินการผลักดันแกร็บถูกกฎหมายได้และไม่เห็นนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมอาจจะไม่เห็นอธิบดี ขบ.ก็ได้

 นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เสนอร่างกฎกระทรวงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำรถยนต์ส่วนบุคคลให้บริการรถสาธารณะผ่านแอพพลิเคชัน แก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นชอบให้กรมการขนส่งทางบกแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มากกว่าแค่ออกเพียงกฎกระทรวงเพียงอย่างเดียวเพื่อให้เกิดความชัดเจน สามารถระบุรายละเอียดและหลักการได้ ล่าสุดทางขบ.เห็นว่าหากจะนำนโยบายฯ เข้ามาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการตามขั้นตอนนานหลายปี ทำให้มีการชะลอออกไป เบื้องต้นจะดำเนินการกลุ่มรถแท็กซี่สาธารณะผ่านแอพพลิเคชันให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งเป็นหลัก ซึ่งต้องดูผลตอบรับจากประชาชนก่อนว่าเป็นอย่างไร

 

 

 

 “ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพื่อกำหนดรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการผ่านแอพพลิเคชันเป็นกลุ่มรถประเภทใหม่ รวมทั้งใบอนุญาตขับขี่โดยการพัฒนาแอพฯกลาง เพื่อมาใช้กับรถแท็กซี่สาธารณะในปัจจุบันทั้งระบบ จำนวน 80,000-90,000 คัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

 ทั้งนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่า มีรถแท็กซี่ในระบบเปิดให้บริการลดลง จำนวน 30,000-40,000 คัน ส่งผลให้ประชาชนใช้บริการลดลง ขณะเดียวกันการดำเนินการดังกล่าวยังคงเป็นไปตามคำเรียกร้องของผู้ประกอบการขับรถแท็กซี่ที่เสนอให้ยกเลิก Taxi OK รวมทั้งการติดตั้งระบบจีพีเอส ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการรถแท็กซี่ คาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ภายในปีนี้ ตามข้อสั่งการของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

 

 

 

  พับแผน ดึง \"แท็กซี่\" บูม\"แกร็บ\"ถูกกฎหมาย

อย่างไรก็ตามคงต้องจับตาดูว่าอธิบดีกรมการขนส่งทางบกจะสามารถผลักดันแกร็บถูกกฎหมายได้มากน้อยแค่ไหน หากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ประชาชนใช้บริการได้สะดวกมากขึ้น แต่ถ้าเดินหน้าไม่สำเร็จภายในปีนี้ งานนี้อธิดีมีหนาวแน่ๆ

 

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,602 วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563