"เกษตร-พาณิชย์"ผนึกกำลังสร้างไทยศูนย์กลางอาหารโลก

16 ก.ค. 2563 | 11:40 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.ค. 2563 | 19:01 น.
1.1 k

    "จุรินทร์"ประกาศวิสัยทัศน์ สร้างไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรโลก ด้วยพันธกิจผนึกกำลัง 2 กระทรวง"เกษตร-พาณิชย์" มุ่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ดันจีดีพี จนถึงเพิ่มรายได้เกษตรกร 


    นำ"อาหารไทย อาหารโลก" เกษตร-พาณิชย์ ผนึกกำลังยกระดับศักยภาพการแข่งขัน นำอาหารไทยขึ้นชั้น 10 อันดับประเทศผู้ผลิตอาหารโลก จุรินทร์ประกาศพันธกิจ"2นำ3สร้าง"สู่เป้าหมายไทยศูนย์กลางอาหารโลก  เชื่อมั่น"อาหารไทย"ส่งออกเติบโตเป็นบวกแม้ฝ่าวิกฤตต่อเนื่อง 

 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ Roadmap อาหารไทยอาหารโลก ในงานสัมมนา"อาหารไทย อาหารโลก เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" ตอนหนึ่งว่า  วิสัยทัศน์"เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" ถือเป็นภาคต่อของการพัฒนาอาหารไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต ภายใต้พันธกิจร่วม 2 กระทรวง คือ "1 สร้าง 3 เพิ่ม"     สร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรของโลก 3 เพิ่ม คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอาหารไทย เพื่อไปเพิ่มที่ 2 . คือ เพิ่มจีพีดี หรือผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ และ 3. คือ ท้ายที่สุดต้องเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

\"เกษตร-พาณิชย์\"ผนึกกำลังสร้างไทยศูนย์กลางอาหารโลก
การจะบรรลุวิสัยทัศน์ข้างต้นได้ ทั้ง 2 กระทรวง รวมถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีพันธกิจ 4 ประการร่วมกัน คือ 1.การสร้าง Single Big Data ร่วมกันของกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นฐานข้อมูลร่วม พันธกิจประการที่ 2.คือ การสร้างแพลตฟอร์มกลางให้เกิดขึ้น และให้ใช้ร่วมกันของทุกฝ่าย ประการที่ 3.คือ การสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรและอาหารไทยจากตลาดโลก เชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และ 4. คือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ยกระดับกำลังคนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก 
    

"มีคำถามว่าอาหารไทย จะพัฒนาสู่อาหารโลก เป็นไปได้หรือไม่ ผมขอยืนยันว่า เป้าหมายนี้เป็นไปได้ และเป็นไปได้แน่นอน เพราะการส่งออกอาหารไทยเวลานี้เราอยู่อันดับที่  11 ของโลกอยู่แล้ว ทำไมจะก้าวสู่ อันดับที่ 10 9 8  จนถึงอันดับที่ 3 ที่ 2 หรือที่ 1 ทำไมจะเป็นไปไม่ได้"รองนายกฯและรัฐมนตรีพาณิชย์ กล่าวย้ำ
   

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 อาหารไทย วิ่งสู้ฟัด ดันติดท็อป 10 โลก

"อาหารไทยเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ...โอกาสธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในซัพพลายเชน"

"ตลาดนำการผลิต" ผ่าตัดใหญ่ภาคเกษตรไทย ฝันไกล-ไปถึง?

\"เกษตร-พาณิชย์\"ผนึกกำลังสร้างไทยศูนย์กลางอาหารโลก

 

นายจุรินทร์กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาสินค้าเกษตรไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย เผชิญกับปัญหาสงครามการค้า ค่าเงินบาทแข็งดันให้ราคาสินค้าเกษตรไทยที่เราเสนอขายแข่งกับคู่แข่งทั่วโลกแพงขึ้น ทำให้ศักยภาพการแข่งขันเราด้อยลง หรือล่าสุดเจอโควิด-19 แต่การส่งออกอาหารของไทยยังเดินหน้าต่อได้อย่างมีศัยภาพ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ทูนาแช่แข็ง สัปปะรดกระป๋อง 
    

แม้เผชิญเทรดวอร์ ค่าบาทแข็ง ทำให้ราคาเสนอขายแข่งคู่แข่งทั่วโลก ทำให้ศัยกาภแข่งขันเราด้อยลงไป ล่าสุดเจอโควิด
    

แต่การส่งออกอาหารของไทยก็ยังเดินหน้าต่อได้อย้างมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ทุน่าแช่แข็ง สัปปะรด โดยตัวเลขล่าสุดการส่งออกอาหารของเราเดือนพ.ค.ยังเติบโตเป็นบวกได้และเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
    

ดังนั้น ยุทธศาสตร์"อาหารไทยอาหารโลก" จึงเกิดขึ้นจากปัจจัยเกื้อหนุนหลายอย่าง ประการที่ 1. จากพื้นฐานประเทศของเราที่เป็นประเทศเกษตรกรรม เราอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการพัฒนาการผลิต และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารมาแต่เดิมแล้ว 2.ความยอมรับของตลาดโลกต่ออาหารไทยมีสูง ต่อไปต้องตอกย้ำเรื่องความปลอดภัยให้เป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้น 3.สินค้าอาหารไทยมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมทุกประเภท 4.สอดคล้องกับกระแสหรือทิศทางโลก เช่น อาหารไทยเรามีส่วนผสมของพืชสมุนไพร เครื่องปรุงรสหรือส่วนผสมอาหารก็ตอบรับเทรสด์สุขภาพ 5.ผู้ประกอบการไทยเรามีศักยภาพ และ 6.ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เริ่มก้าวสู่ระดับโลก    
 รองนายกฯและรัฐมนตรีพาณิชย์ ตอกย้ำว่า พันธสัญญาร่วมของกระทรวงเกษตร-พาณิชย์ และทุกภาคส่วน จะจับมือกันเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวข้างต้น  คือ ร่วมกัน 1. เพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้ผลิตภัณฑ์อาหารไทยขายได้ในระดับราคาที่สูงขึ้น 2.ทำการตลาดเชิงรุก ทั้งรักษาตลาดเก่าและเพิ่มตลาดใหม่ โดยจะมีทั้งเซลล์แมนระดับจังหวัด ขึ้นมาถึงระดับประเทศ เพื่อบูรณาการในการไปรุกตลาดโลก ซึ่งผู้ประอกบการไทยก็ต้องปรับตัวสู่การตลาดสมัยใหม่ ทั้งตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ ตลอดจนตลาดพันธสัญญา 
  

 

"ในประการที่ 3. ทางรัฐบาลอยากฟังความเห็นจากวงสัมมนา เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นอีกหนึ่งกุญแจความสำเร็จของยุทธศาสตร์นี้ เรื่องจากต้นทุนขนส่งเป็นต้นทุนหลักอีกตัว ภาคเอกชนอยากให้ภาครัฐสนับสนุนอย่างไรเพื่อลดต้นทุนส่วนนี้ลงให้เหลือน้อยที่สุด "
    

4.เรื่องการปรับปรุงกฎระเบียบให้การประกอบธุรกิจของภาคเอกชนทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ธุรกิจอาหารไทยมีศักยภาพเพิ่ม รวมถึงเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าทั้งในรูปแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก 5.เตรียมพร้อมนำอาหารไทยสู่ยุคหลังโควิด ซึ่งวันนี้เรายังไม่รู้ว่าถึงตอนนั้นจะมีมาตรฐานความปลอดภัยใหม่อะไรออกมาอีกบ้าง แต่เชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการเรามีความสามารถที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้     เราจะผงาดสู่การนำพาอาหารไทยสู่เวทีโลกได้อย่างแน่นอน