นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า AWC อยู่ระหว่างการลงทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ในการพลิกโฉมพื้นที่ประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการบริการระดับอัลตร้าลักชัวรี เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่มาตรฐานสากล
โดยจะพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 3 แปลง ให้เป็น“โรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน แบงค็อก เดอะ ริเวอร์ไซด์" ได้แก่ พื้นที่ฝั่ง เดอะ ล้ง 1919 ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น ซึ่งเป็นพื้นที่เช่าระยะยาว และพื้นที่อีก 2 แปลงบริเวณถนนทรงวาด ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกันครอบคลุมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมห้องพักทั้งหมด 192 ห้อง เพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวในสายน้ำเจ้าพระยา ภายใต้ AWC River Journey
โครงการนี้เป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลกที่ไม่ซ้ำใคร โดยผสานความหรูหราของแบรนด์ริทซ์-คาร์ลตัน เข้ากับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และการพัฒนาโครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้ระยะยาว แต่ยังสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก
การพัฒนาพื้นที่ทั้ง 3 แปลง ครอบคลุมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบไปด้วย
ปัจจุบันได้ตอกเสาเอกเริ่มก่อสร้างแล้วในวันนี้ ในฝั่งล้ง 1919 การก่อสร้างเริ่มจากอาคารหลักด้านหลังก่อน เพื่อสร้างฮวงจุ้ยให้ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว มองออกสู่แม่น้ำ ก่อนจะดำเนินการในส่วนอาคารอนุรักษ์และพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ส่วนแปลงอื่นๆจะทยอยก่อสร้างควบคู่กันไป คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการ กลางปี 2571 โดยในส่วนห้องพักทั้ง 192 ห้อง จะเน้นห้องพักขนาด 2-3 ห้องนอน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของห้องพักทั้งหมด
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ AWC River Journey Project ที่เชื่อมต่อแลนด์มาร์กต่างๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ปากคลองตลาด และเวิ้งนครเกษม เยาวราช ในอนาคต โครงการมีเลานจ์ที่เอเชียทีคเพื่อให้บริการแก่แขกที่เดินทางผ่านเส้นทางสายน้ำ พร้อมโปรแกรมท่องเที่ยวแบบครึ่งวันและเต็มวัน
AWC มุ่งเป้าหมายสู่กลุ่มนักเดินทางคุณภาพระดับสากล ที่มองหาประสบการณ์เชิงลึกและคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยไม่จำกัดสัญชาติ แต่เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
"นักเดินทางรุ่นใหม่ไม่ได้มองหาแค่ที่พัก แต่ต้องการประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ และสามารถนำไปเล่าต่อได้ ซึ่งตรงกับจุดเด่นของโครงการที่ผสานเรื่องราวประวัติศาสตร์กับการบริการระดับโลก"
อีกทั้งโครงการนี้ยังนำเสนอแนวคิดใหม่ด้วยการเป็น "Holistic Wellness Resort" ที่ผสานปรัชญาหยิน-หยางเข้ากับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยแบ่งประสบการณ์เป็น 2 ฝั่ง
โครงการมุ่งหวังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยใน 3 ด้าน ได้แก่
1. ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว: สร้างจุดหมายปลายทางระดับอัลตร้าลักชัวรีที่ไม่มีที่ไหนเทียบได้
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน: ผ่านโครงการ AWC River Journey Project ที่เชื่อมต่อแลนด์มาร์กริมเจ้าพระยา
3. สร้างการจ้างงาน: ทั้งในช่วงก่อสร้างและดำเนินงาน พร้อมพัฒนาทักษะแรงงานในท้องถิ่น
โครงการดำเนินการภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากร เนื่องจากเดอะ ล้ง 1919 เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว การก่อสร้างใช้เทคนิคพิเศษเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนและปกป้องโครงสร้างอาคารเดิม
โครงการผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอรับรองมาตรฐาน Green Building ตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ AWC
การบูรณะดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรยา บุญประสงค์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (A49) และอะแดปทีฟ ดีไซน์ แอนด์ ดอค จำกัด
AWC ร่วมมือกับแมริออท อินเตอร์เนชันแนลในการพัฒนาโครงการ โดยนำแบรนด์เดอะ ริทซ์-คาร์ลตันซึ่งเป็นแบรนด์ระดับอัลตร้าลักชัวรีมาดำเนินการ
มร.แบรด เอ็ดแมน รองประธานกรรมการประจำประเทศไทย กัมพูชา และเมียนมา แมริออท อินเตอร์เนชันแนล ระบุว่าโครงการเป็นตัวอย่างการผสานการอนุรักษ์วัฒนธรรมกับมาตรฐานการบริการระดับสากล