เช็คหลักเกณฑ์รับเงิน 10000 ค่าล้างดินโคลนน้ำท่วม เอกสารที่ต้องยื่นขอดูเลย

13 ต.ค. 2567 | 19:53 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ต.ค. 2567 | 20:01 น.

เช็คหลักเกณฑ์รับเงิน 10000 ค่าล้างดินโคลนเหตุน้ำท่วม ล่าสุด กระทรวงมหาดไทยเร่งสำรวจบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง ดูเลย

เช็คหลักเกณฑ์รับเงิน 10000 ค่าล้างดินโคลนบ้าน เหตุน้ำท่วมภาคเหนือ ความคืบหน้าภายหลัง กระทรวงมหาดไทยได้รายงานให้ คณะรัฐมนตรี รับทราบกรณีกรมบัญชีกลาง อนุมัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัด พื้นที่ซึ่งประกาศเขตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สามารถใช้เงินทดรองราชการจ่ายเป็นค่าช่วยล้างดินโคลน รวมทั้งซากวัสดุต่าง ๆ ในที่อยู่อาศัยประชาชนซึ่งประสบอุทกภัยในอัตรา 10,000 บาทต่อหลัง

นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้กำชับให้ อปท. ในพื้นที่เกิดอุทกภัย ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การยื่นคำขอ การลงพื้นที่สำรวจ และประชุมพิจารณาอนุมัติให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว

เช็คหลักเกณฑ์รับเงิน 10000 ค่าล้างดินโคลนน้ำท่วม

สำหรับการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าล้างดินโคลนหลังละ 10,000 บาท เป็นคนละส่วนกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในฤดูฝน ปี 2567 ครัวเรือนละ 9,000 บาท

หลักเกณฑ์เบื้องต้น บ้านเรือนที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ หลังละ 10,000 บาท นี้ จะจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่รวมถึงที่อยู่อาศัยที่เสียหายทั้งหลัง หรือที่ส่วนราชการหรือส่วนอื่น ๆ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีที่มีหน่วยงานเข้าช่วยเหลือทำความสะอาดบางส่วน แต่เจ้าของที่อยู่อาศัยยังต้องจ้างแรงงาน ซื้อเครื่องมือเข้าทำความสะอาดเพิ่มเติมก่อนเข้าพักอาศัยได้ตามปกติ ทางคณะกรรมการจะลงพื้นที่สำรวจเป็นรายกรณี

เอกสารที่ต้องยื่นขอเงินเยียวยาค่าล้างดินโคลนน้ำท่วม1000  ดังนี้

  • เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรอกแบบฟอร์มขอรับการช่วยเหลือ
  • ยื่นได้ที่ อปท.ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่

เช็คหลักเกณฑ์รับเงิน 10000 ค่าล้างดินโคลนน้ำท่วม เอกสารที่ต้องยื่นขอดูเลย

ล่าสุด นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า  สำหรับผู้ประสบภัย ที่เอกสารสำคัญชำรุดหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรประจำตัวประชาชน  โฉนดที่ดิน ใบรับรอง หรือหนังสือสำคัญของทางราชการ สามารถติดต่อขอรับใหม่ได้ โดยขอรับ "หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา" จาก อปท.ในพื้นที่ก่อน แล้วนำหนังสือรับรองดังกล่าวไปดำเนินการขอรับเอกสารสำคัญในขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ “หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา” จำเป็นต้องใช้ในการประกอบเพื่อขอรับเงินเยียวยาตามนโยบายรัฐบาล ทั้งการเยียวยาเหมาจ่ายครัวเรือนละ 9,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าล้างดินโคลน หลังละ 10,000 บาท 

“เงินเยียวยาครัวเรือนละ 9,000 บาท คาดว่าจะโอนเข้าบัญชีผู้ประสบภัยเร็วๆนี้ ส่วนเงินค่าล้างโคลน  เทศบาล/อบต.ในแต่ละพื้นที่จะต้องลงพื้นที่สำรวจ ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนประชุมพิจารณาและจ่ายเงินให้ผู้ประสบภัยต่อไป เน้นย้ำผู้ประสบภัย ขอให้ตรวจสอบข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในการสำรวจของเทศบาลหรือไม่ ป้องกันรายชื่อที่อาจตกหล่น” นายจิรายุ กล่าว.

ที่มา:เพจไทยคู่ฟ้า