ลงทะเบียนน้ำท่วมออนไลน์ flood67.disaster.go.th ปภ.กำหนดวันสุดท้าย 15 ม.ค.

09 ม.ค. 2568 | 09:23 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ม.ค. 2568 | 12:57 น.
11.5 k

ลงทะเบียนน้ำท่วมออนไลน์ flood67.disaster.go.th รับเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567 จำนวน 9,000 บาท ผู้ประสบภัย 16 จังหวัดรีบลงทะเบียนด่วน ปภ.ขีดเส้นวันสุดท้าย 15 มกราคมนี้

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ขยายระยะเวลาเยียวยาน้ำท่วม 2567 ให้กับผู้ประสบภัยพิบัตน้ำท่วม จำนวน 16 จังหวัด ให้มาลงทะเบียนภายในวันที่ 15 มกราคม 2567 ก่อนหมดสิทธิรับเงินเยียวยาน้ำท่วมจำนวน 9,000 บาท

16 จังหวัดที่ได้รับสิทธิลงทะเบียนน้ำท่วม 2567

  • ชัยนาท
  • บุรีรัมย์
  • สมุทรสาคร
  • สิงห์บุรี ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในห้วงวันที่ 20 พ.ค. – 2 พ.ย. 67

พื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้

  • กระบี่
  • ชุมพร
  • นครศรีธรรมราช
  •  นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ตรัง
  • พัทลุง
  • ยะลา
  • สงขลา
  • สตูล
  • สุราษฎร์ธานี

พื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในห้วงวันที่ 3 พ.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67

โดยจะต้องได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสองกรณี กรณีแรกคือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมไม่เกิน 7 วัน และมีทรัพย์สินเสียหาย และกรณีที่สองที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมเกิน 7 วัน ในกรณีที่ถูกน้ำท่วมหลายครั้งจะได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว

 

วิธีลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วม ปี 2567

ลงทะเบียนแบบ Onsite

  • ติดต่อยื่นเอกสาร ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. หรือเทศบาล) ในวันและเวลาราชการ
  • กรณีไปแจ้งด้วยตนเอง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตรวจสอบวันปิดรับลงทะเบียนของท้องถิ่น
  • หลักฐานที่ต้องเตรียม
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียน)
  • สัญญาเช่าบ้าน หรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรณีบ้านเช่า)
  • หากเป็นกรณีอื่น อาทิ บ้านพักอาศัยประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้านจะต้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น รวมกับผู้นำชุมชน ตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3

 

ลงทะเบียนน้ำท่วมออนไลน์

 

ลงทะเบียนน้ำท่วมออนไลน์

  • ไปที่เว็บไซต์ https://flood67.disaster.go.th/Dashboard/BoardHelpRegister (คลิกที่นี่) 
  • หลักจากนั้นไปที่ ยื่นแบบคำร้องขอความช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 (เพิ่มเติม) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 (คลิกที่นี่)
  •  อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนแล้วติ๊กเครื่องหมายถูก กด ยอมรับ (คลิกที่นี่)
  • หลังจากนั้น กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 13 หลัก ไม่ต้องเว้นวรรค
  • กรอก ชื่อ นามสกุล และ วันเดือนปีเกิด
  • คลิก กรอก แบบฟอร์ม เพื่อกรอกรายละเอียดทั้งหมด
  • คลิก เสร็จสิ้น

ปภ.นราธิวาส แจ้งผู้ประสบอุทกภัยที่ยังไม่ลงทะเบียน รีบลงทะเบียนและยื่นเอกสารด่วน

นายวสันต์ ไชยทวีวงศ์  หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติม ตามมติ ครม.วันที่ 3 ธ.ค.67 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนฯขอให้รีบดำเนินการลงทะเบียนฯ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ม.ค. 68  โดยผู้ที่จะลงทะเบียนฯ ขอให้ประเมินตนเองก่อน ว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบตามหลักเกณฑ์หรือไม่  เช่น บ้านที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ หากอยู่ในพื้นที่ประกาศแล้ว เกิดน้ำท่วม มี 2 กรณีคือ น้ำท่วมไม่เกิน 7 วัน ต้องมีทรัพย์สินเสียหาย และกรณีน้ำท่วมเกิน7 วัน จึงจะสามารถลงทะเบียนได้ อีกทั้งผู้ประสงค์จะลงทะเบียน ต้องตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของตนเองว่าบ้านที่ตนเองอยู่อาศัย เป็นกลุ่มไหน  เช่น บ้านตนเอง บ้านเช่า หรือบ้านไม่มีเลขที่ จากนั้นให้เดินทางไปลงทะเบียนที่ เทศบาลหรือ อบต.ที่ตนเองอยู่ หรือลงทะเบียนทางออนไลน์  จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2568 นี้เท่านั้น

หลังจากลงทะเบียนแล้ว ทางท้องถิ่นจะดำเนินการตามขั้นตอน โดยตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นนำเข้าประชาคม เมื่อผ่านการประชาคม จะนำส่งเข้าที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ตามลำดับ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีการพิจารณาอย่างละเอียดและเข้มงวด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ เป็นผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ทั้งนี้ สำหรับจังหวัดนราธิวาสมีผู้ประสบอุทกภัยที่ผ่านการประชุม ก.ช.ภ.จ.นราธิวาส จำนวน 40,007 ราย แบ่งเป็นรอบแรก จำนวน 12,189 ราย ครั้งที่ 2 จำนวน 35,818 ราย ส่วนผู้ประสบภัยที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจาก ก.ช.ภ.จ. นราธิวาส แล้วพบว่ามีปัญหาขึ้นสถานะ “โอนเงินไม่สำเร็จ”  ในส่วนนี้ขอให้ผู้ประสบอุทกภัยตรวจสอบว่าตนเองได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนไว้แล้วหรือไม่ และบัญชีดังกล่าวยังอยู่ในสถานะปกติหรือถูกปิดบัญชีไปแล้ว หากถูกปิดไปแล้วต้องไปยกเลิกการผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนบัญชีเดิม แล้วขอเปิดบัญชีใหม่โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ ปภ.โอนเงินเข้าบัญชีในรอบถัดไป.

ที่มา: ปภ. , ปภ.นราธิวาส