วิเคราะห์ปัจจัยบวก-ลบ ผลกระทบนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ในมุมมอง "กนอ."

21 พ.ย. 2567 | 09:54 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ธ.ค. 2567 | 16:47 น.

วิเคราะห์ปัจจัยบวก-ลบ ผลกระทบนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ในมุมมอง "กนอ." หลังเตรียมเข้าพิธีตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯอย่างเป็นทางการวันที่ 20 ม.ค. 67 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลไว้ให้หมดแล้วที่นี่

"โดนัลด์ ทรัมป์" จากพรรครีพับลิกัน จะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 และจะเข้าพิธีรับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 

ทั้งนี้ นโยบายที่โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศไว้ในแคมเปญหาเสียง ครอบคลุมหลายนโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การควบคุมการอพยพเข้าประเทศ และส่งเสริมพลังงานในประเทศ รวมถึงนโยบายที่มีต่อประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน โดยนโยบายดังกล่าวถือว่าส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับกับผลกระทบต่อประเทศไทย รวมทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) หลายด้านในเชิงบวกและลบ กับนายนายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการการ กนอ. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. พบว่า 

ปัจจัยบวก

  • การย้ายฐานการผลิต นโยบายกีดกันทางการค้าของทรัมป์ โดยเฉพาะการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน อาจทำให้บริษัทต่างชาติพิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมายังประเทศอื่น รวมถึงไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งอาจเพิ่มการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. เป็นโอกาสในการดึงดูดการลงทุน

วิเคราะห์ปัจจัยบวก-ลบ ผลกระทบนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ในมุมมอง "กนอ."

  • โอกาสการส่งออก หากสหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ไทยอาจได้รับโอกาสในการส่งออกสินค้าทดแทนไปยังสหรัฐฯ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ โซลาร์เซลล์ ถุงมือยาง น้ำผลไม้ อุปกรณ์โทรทัศน์ PCA และของเล่น อย่างไรก็ตาม ในอนาคต สินค้าส่งออกของไทยอาจมีความเสี่ยงจากมาตรการปรับเพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้าของทรัมป์เช่นกัน เนื่องจากไทยมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูง (มากกว่า 4 พันล้านเหรียญ)
  • การถูกกดดันจากสหรัฐฯ อาจทำให้จีนหันมาพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ไทยอาจได้รับโอกาสในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับจีนในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และโครงการพัฒนาระดับภูมิภาค
     
  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อาจทำให้ราคาน้ำมันโลกลดลง ช่วยลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ไทยควรพิจารณาความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวโดยเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศ
  • นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานฟอสซิลในสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดย้ายฐานการผลิตเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศ
  • ผู้ผลิตเครื่องยนต์สันดาป (ICE) อาจได้รับแรงหนุนเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการเงินและการตลาด
  • ไทยอาจได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ตามผลของนโยบายที่จะดึงดูดการลงทุนไปตั้งฐานการผลิตในสหรัฐฯมากขึ้น
  • แรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการไทยและนิคมอุตสาหกรรมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เพื่อเป็นฐานรองรับการผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก

ปัจจัยลบ

  • นโยบายต่างประเทศของทรัมป์ที่มีแนวโน้มเคร่งครัดทางภาษีต่อประเทศอื่น ๆ และมุ่งเน้นการผลิตในประเทศ รวมถึงดึงดูดการย้ายกลับถิ่นฐานเดิม (Reshoring) ของบริษัทสัญชาติอเมริกันให้กลับไปผลิตในประเทศ อาจทำให้สหรัฐฯ ลดการลงทุนในภูมิภาคอื่น ซึ่งอาจกระทบต่อการลงทุนของผู้ประกอบการสหรัฐฯ ที่วางแผนจะลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงในไทย
  • นักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนจากนโยบายสหรัฐฯ ส่งผลให้การย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยอาจยังไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น ม้ว่าจะมีบางบริษัทได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แล้วก็ตาม 
  • ประเทศที่จีนย้ายฐานลงทุนไปผลิตสินค้าเพื่อเลี่ยงสงครามการค้าอาจเผชิญความเสี่ยงที่จะถูกใช้มาตรการทางการค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
  • การแข่งขันที่สูงขึ้น จากแนวโน้มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนที่จะเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ อาจส่งผลให้สินค้าจีนหันมาสู่ตลาดอื่น รวมถึงไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง (เหล็ก) สิ่งทอ ละเครื่องนุ่งห่ม ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งอาจเผชิญกับแรงกดดันในการพัฒนาคุณภาพ สินค้าและลดต้นทุนเพื่อให้แข่งขันได้
  • จากกนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้า ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตและส่งออกในสินค้าประเภท คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นกำแพงภาษี
  • จีนเผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกกดดันจากสหรัฐฯ และแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนยังแสดงสัญญาณการชะลอตัว ในขณะที่ไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคพึ่งพาจีนเป็นอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
  • ราคาพลังงานที่ลดลงอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของ กนอ. ที่การนำเข้าและส่งออกผ่านท่าเรือมาบตาพุดเป็นสินค้าประเภทปิโตรเคมีเป็นส่วนมาก
  • ความมั่นคงและการทูต ไทยต้องพิจารณาบทบาทในเวทีโลกอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสหรัฐฯ และจีน โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขั้วต่างกันมีแนวโน้มจะลดการพึ่งพาการค้าระหว่างกัน และหันไปพึ่งพาประเทศที่มีบทบาทเป็นกลางมากขึ้น หากประเทศไทยสามารถรักษาบทบาทความเป็นกลางในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลก
  • ไว้ได้ อาจได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและการลงทุนที่เกิดจากความแตกแยกทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศเหล่านี้
  • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของทรัมป์อาจส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมีหรือความต้องการผลิตภัณฑ์พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น ชะลอตัวลง รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการ พัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมลดลง ซึ่งอาจกระทบต่อการพัฒนาพลังงานสะอาดในไทย