เช็ครายชื่อร้าน “Subway” ที่ถูกลิขสิทธิ์ มีที่ไหนบ้าง

04 พ.ย. 2567 | 10:59 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ย. 2567 | 11:09 น.
14.8 k

เช็ครายชื่อร้าน “Subway” ที่ถูกลิขสิทธิ์ มีที่ไหนบ้าง หลังพบร้านซับเวย์ ที่สิ้นสุดการเป็นผู้รับแฟรนไชส์ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 2567 แต่ยังเปิดบริการ ทำคุณภาพอาหารไม่ตรงมาตรฐาน

สนั่นโลกโซเชียล สำหรับดราม่าของร้านซับเวย์ (Subway) กรณีที่ลูกค้าหลายคนพบปัญหาเรื่องคุณภาพอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละสาขา ทำให้เกิดความสับสนว่าร้านไหนกันแน่ที่เป็นร้าน Subway ของแท้

Subway

สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากการที่บางสาขาของ Subway ได้รับการยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ไปแล้ว แต่ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการและสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่ Subway กำหนด ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของแบรนด์

วิธีเช็คว่าร้าน Subway สาขาไหนของจริง

เพื่อป้องกันไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่อของร้าน Subway ปลอม หรือสาขาที่ไม่ได้มาตรฐาน ทาง Subway Thailand ได้แนะนำวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบดังนี้

1.สังเกตหน้าร้าน ร้าน Subway ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะมีป้ายแสดงเลขที่ร้านและเครื่องหมาย Authorized Franchise อย่างชัดเจน

2.ตรวจสอบเมนูและวัตถุดิบ ร้าน Subway ของแท้จะมีเมนูและวัตถุดิบครบถ้วนตามมาตรฐานของแบรนด์ เช่น อโวคาโด, มะกอก

ร้านซับเวย์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง ได้แก่

1. พัทยากลาง (ใกล้หาด)

2. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ

3. สุขุมวิท 23

4. เอาต์เลตมอลล์ พัทยา

5. สยาม พารากอน

6. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (1)

7. สนามบินภูเก็ต - ห้องรับรองผู้โดยสารภายในประเทศ (2)

8. สนามบินดอนเมือง ระหว่างประเทศ

9. ฟอร์จูนทาวน์

10. บางจากสุขุมวิท 62

11. โรงเรียนนานาชาติ บางกอกพัฒนา

12. เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต

13. โรงพยาบาลเวชธานี

14. อมาติโอ ชิล ปาร์ค

15. ปั๊ม ปตท. เดอะ ดีล แจ้งวัฒนะ

16. หาดจอมเทียน

17. โรงพยาบาล เมคปาร์ค

18. มอเตอร์เวย์ (ขาเข้า)

19. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 1

20. เอ็มควอเทียร์

Subway

21. สนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารภายในประเทศ

22. ฮาบิโตะ

23. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 แอร์ไซด์

24. สนามบินเชียงใหม่-ชาร์เตอร์

25. สนามบินภูเก็ต-บริเวณเช็กอิน

26. มอเตอร์เวย์ (ขาออก)

27. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

28. ไมค์ ช้อปปิ้งมอลล์

29. ชาลีเพลส (ซอยบัวขาว)

30. คาลเท็กซ์ บางใหญ่

31. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า

32. สนามบินสุวรรณภูมิ ภายในประเทศ

33. อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์

34. ตลาดรวมทรัพย์

35. เทอร์มินอล 21 (อโศก)

36. ไทม์สแควร์

37. พีที รัชดาภิเษก

38. สนามบินดอนเมือง อาคารเทอร์มินัล 2 ชั้น 4

39. สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ

40. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3

รูปจากเว็บไซต์ Subway

41. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4

42. ปั๊มบางจาก เกษตรนวมินทร์

43. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse E)

44. ถนนเลียบหาดป่าตอง

45. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 อาคารใหม่ 1

46. เซ็นทรัล ฟลอเรสต้า

47. อ่าวนาง

48. นิมมานเหมินท์ ซอย 10

49. เมกา บางนา

50. ฮักมอลล์ ขอนแก่น

51. สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse C)

ปัญหาซับเวย์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างที่ดีในการเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่มักจะมีสาขาจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วไป การเลือกใช้บริการจากร้านที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป