ศ.ดร.
นายอัครา กล่าวว่า ในปี 2567 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรสู่ความสำเร็จ สานต่อนโยบายเดิม 9 ด้าน เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ โอกาส และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย สอดรับกับนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้ภาคการเกษตรไทย
“กรมวิชาการเกษตร” เป็นหน่วยงานที่สำคัญ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นหลักในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย โดยใช้งานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในปัจจุบันเป็นยุคที่มีความท้าทาย เพราะเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติต่าง ๆ การระบาดของโรค แมลงศัตรูพืชใหม่ ความมั่นคงทางอาหาร ความต้องการอาหารสุขภาพในอนาคต และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ในรูปแบบอื่น ๆ
กรมวิชาการเกษตร ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยการนำผลวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยี มาช่วยในการสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต ให้กับเกษตรกร โดยเน้นการบริหารจัดการภาคการเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้าน ตั้งแต่ ดิน น้ำ นวัตกรรมเทคโนโลยี การพัฒนาพันธุ์พืช ตลอดจนการใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง ซึ่งเป็นอีกนโยบายที่ต้องการให้ช่วยในการขับเคลื่อน โดยขอให้มีงานวิจัยที่มีการต่อยอด โครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง (76 จังหวัดสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง) รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ ให้กับเกษตรกร 3 เท่า ใน 4 ปี
สำหรับนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เป็นนโยบายจำเป็นที่กรมวิชาการเกษตรต้องเร่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำในภาคการเกษตร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำโครงการนำร่องการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพแบบ Low Carbon ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
รวมทั้งการจัดตั้งกองวิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่ และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร เพื่อทำหน้าที่ศึกษาวิจัยและดำเนินงานเกี่ยวกับ การลดก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืช ซึ่งกรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตในพืชเศรษฐกิจหลัก และพัฒนาหน่วยงานจนสามารถเป็นหน่วยตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภายใต้มาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
ปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินแล้ว จำนวน 31 ราย และมีการศึกษาวิจัยแนวทางการลดปัญหา ฝุ่นควันภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการเผาในพื้นที่ปลูกพืช และลดปัญหาฝุ่นควัน ในภาคเกษตร ตามนโนบาย 3R (Re-Habit/Replace with high Value Crops/ Replace with Alternate Crops) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น การปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชมูลค่าสูง เช่น กาแฟ เพื่อลดการเผาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือ
สอดคล้องกับแผนการลดปริมาณการนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่ากาแฟไทย โดยจัดทำโครงการประกวดสุดยอดกาแฟ ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้ามอบถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราขเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นวาระสำคัญระดับนานาชาติ ในระดับอาเซียน มีเครือข่ายเสริมสร้างศักยภาพ ในการปรับตัวรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN Climate Resilience Network : ASEAN CRN)
เป็นอีกองค์กรที่มีการขับเคลื่อนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเป็นประธานเครือข่ายเสริมสร้างศักยภาพ ในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน และกำลังเตรียมจัดงาน 10 ปี ASEAN CRN ที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนมกราคม 2568 กรมวิชาการเกษตรควรใช้โอกาสนี้ แลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อน สร้างความร่วมมือ รวมถึงผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและต้นแบบ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรของภูมิภาคอาเซียน
รมช.เกษตร กล่าวอีกว่า ภารกิจที่สำคัญยิ่งอีกด้านของกรมวิชาการเกษตร ที่ต้องการให้มีการพัฒนาการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือการสานต่อการทำสงครามสินค้าเกษตรเถื่อน การป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า - ส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมายด้านพืช รวมถึงการลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการด้านการรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการส่งออกซึ่งแต่ละปีมีการขอและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ไม่น้อยกว่า 400,000 ฉบับ มูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 800,000 ล้านบาท
รวมถึงการพัฒนาระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ให้เกิดความสะดวกต่อผู้รับบริการ อย่างชัดเจน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน อำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตพืช และผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อการส่งออก ให้สามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย และไร้เอกสาร (Paperless) สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
ด้านนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการปฏิบัติภารกิจของกรมวิชาการเกษตร ภายใต้การกำกับดูแลของ ศ.ดร.
เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและต้านทานต่อโรคและศัตรูอุบัติใหม่ เป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ และพันธุ์พืชเขตร้อน (Tropical Seed Hub) และมีศูนย์ถ่ายทอดเพื่อสร้างการเรียนรู้ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ การนำระบบ AI เข้ามาใข้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิจัยเพื่อให้เกิดการนำผลงานไปสู่การปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
รวมถึง นโยบายด้านการพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการดำเนินงานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรี่สินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสับสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี 30 ปี ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ เพื่อสนองพระราชดำริและน้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ขยายผลสู่ประชาชนต่อไป