นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคนไทยถือหุ้นแทนต่างชาติในการประกอบธุรกิจ (นอมินี) ว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 กรมร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ตรวจสอบนอมินีและลงพื้นที่ตรวจสอบธุรกิจเป้าหมายจำนวน 26,019 ราย ใน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1.ภัตตาคาร ร้านอาหาร
2.ค้าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์
3.โรงแรม รีสอร์ต
4.ขนส่ง โลจิสติกส์
ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ โดยได้ติดตามงบการเงิน สถานที่ตั้ง ตามการประกอบธุรกิจ พร้อมออกหนังสือให้ นิติบุคคลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการลงทุน ทั้งหมด 498 ราย ซึ่งผลการคัดกรองธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าข่ายการเป็นนอมินี และต้องตรวจสอบเชิงลึกเพิ่มเติม 165 ราย ส่วนที่เหลือ 333 รายไม่มีความผิดปกติ
ล่าสุด กรมได้ขยายขอบเขตการตรวจสอบการประกอบธุรกิจนอมินีในธุรกิจเป้าหมาย 5 ธุรกิจ คือ ค้าส่ง-ค้าปลีก, คลังสินค้า, ก่อสร้าง, วิศวกรรม และค้าเหล็ก ซึ่งเป็นการหารือและพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งเห็นว่ากลุ่มธุรกิจดังกล่าวเข้าข่ายให้มีการตรวจสอบ
โดยได้ติดตามงบการเงิน สถานที่ตั้ง ตามการประกอบธุรกิจ พร้อมออกหนังสือให้ นิติบุคคลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการลงทุน ทั้งหมด 498 ราย ซึ่งผลการคัดกรองธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าข่ายการเป็นนอมินี และต้องตรวจสอบเชิงลึกเพิ่มเติม 165 ราย ส่วนที่เหลือ 333 รายไม่มีความผิดปกติ
ล่าสุด กรมได้ขยายขอบเขตการตรวจสอบการประกอบธุรกิจนอมินีในธุรกิจเป้าหมาย 5 ธุรกิจ คือ ค้าส่ง-ค้าปลีก, คลังสินค้า, ก่อสร้าง, วิศวกรรม และค้าเหล็ก ซึ่งเป็นการหารือและพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งเห็นว่ากลุ่มธุรกิจดังกล่าวเข้าข่ายให้มีการตรวจสอบ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยหากสงสัยหรือมีข้อมูลสามารถส่งข้อมูลมาให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ เพื่อที่จะดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป และกรมก็พร้อมที่จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตรวจสอบด้วย
“การตรวจสอบธุรกิจก็พิจารณาถึงพฤติกรรมของการทำธุรกิจ หรือมีการทำนิติกรรมอำพรางหรือไม่ หากพบสามารถแจ้งได้ ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการแจ้งข้อมูลมาแต่อย่างไร”
สำหรับกรณี TEMU ซึ่งที่ประชุมให้มีการจดทะเบียนนั้น เบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์ได้มีการประสานไปทางสถานทูตจีน ให้รับทราบว่าหากเป็นไปได้อยากได้รับความร่วมมือ ในการเข้ามาจดทะเบียน ตั้งสาขาที่ประเทศไทย เนื่องจากผู้บริโภคที่ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน ก็จะสามารถประสานงานได้สะดวก อย่างไรก็ดี ยังอยู่ระหว่างที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำหนด พร้อมติดตามว่าสามารถกำหนดเงื่อนไขได้หรือไม่ และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป