เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม www.sso.go.th บอร์ดอนุมัติเพิ่ม 1,000 บาท

28 ส.ค. 2567 | 13:22 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2567 | 13:10 น.
8.8 k

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม www.sso.go.th หลังบอร์ดประกันสังคม อนุมัติเพิ่มเงินอุดหนุนบุตร อายุ 0-6 ปี จาก 800 บาท/เดือน เป็น 1,000 บาท/เดือน ตรวจสอบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์

ความคืบหน้าหลังจาก มติการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งนายจ้าง ผู้ประกันตน และหน่วยงานรัฐ ให้ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุ 0-6 ปี ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จาก เดิม 800 บาทต่อเดือน เป็น 1,000 ต่อเดือน โดยจะเริ่มประกาศใช้เดือนมกราคม 2568

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม  www.sso.go.th 

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 สามารถเช็กเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคมที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

เช็กเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม www.sso.go.th บอร์ดอนุมัติเพิ่ม 1,000  บาท

 

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

2.กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ

  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด

4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ

  • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  •  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  • นาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน 
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข).

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม