ส่งออกอัญมณี ”อินเดีย“ เดือนมิ.ย.ทรุด 13.44% เหตุตลาดโลกซบเซา

11 ส.ค. 2567 | 12:32 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ส.ค. 2567 | 12:48 น.

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ประเทศอินเดีย รายงานภาพรวมส่งออกอัญมณีเดือนมิถุนายน 67 หดตัว 13.44% เหตุตลาดโลกซบเซา รัฐบาลเร่งออกมาตรการช่วยเหลือ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รายงานว่า ภาพรวมการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียในเดือนมิถุนายน 2567 คิดเป็นมูลค่า 1.91พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.59 แสนล้านรูปีอินเดีย ลดลงร้อยละ13.44 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.84 แสนล้านรูปีอินเดีย

เนื่องมาจากความต้องการในต่างประเทศซบเซาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์หรือการเมืองระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อโดยการส่งออกเพชรเจียระไนและขัดเงาในเดือนมิถุนายน 2567 ลดลงถึงร้อยละ 25.17 คิดเป็นมูลค่า 1.02พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8.50 หมื่นล้านรูปีอินเดีย

เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2566ซึ่งมีมูลค่า 1.38 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.13 แสนล้านรูปีอินเดียเนื่องจากตลาดส่งออกหลักของอินเดีย อาทิ จีน ซึ่งครองสัดส่วนหนึ่งในสามของตลาดส่งออกเพชรเจียระไนและขัดเงาของอินเดียทั้งหมดมีอุปสงค์ที่อ่อนแอ

ขณะที่การส่งออกเครื่องประดับทองยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่า 571.63 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.70 หมื่นล้านรูปีอินเดีย โดยเป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก

เนื่องจากราคาในปัจจุบันมีความผันผวนน้อยลง ทําให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อมากขึ้นเนื่องจากเล็งเห็นถึงโอกาสในการลงทุนโดยอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีส่วนช่วยในการจ้างงานประมาณ 4.3 ล้านตําแหน่ง คิดเป็นประมาณร้อยละ10 ของการส่งออกทั้งประเทศจึงถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม

เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียยังต้องพึ่งพาการนําเข้าวัตถุดิบอีกมาก อาทิ ทองคํา เพชร เงินและอัญมณีพลอยสี ประกอบกับปัจจัยความท้าทายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เช่น สถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ กระบวนการการทําเหมืองแร่และการแยกแร่ ปัญหาการแสวงหาเพชรดิบ GJEPC จึงเรียกร้องข้อเสนอเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในการประชุมงบประมาณปี 2024 - 2025 โดยได้เสนอแนวทาง ดังนี้

  • การลดอัตราภาษีนําเข้าโลหะมีค่าเหลือร้อยละ 4
  • การอํานวยความสะดวกและสนับสนุนให้นายหน้าและผู้ค้าเพชรดิบเข้าดําเนินธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากมีบทบาทสําคัญในการขายเพชรดิบจากเหมืองแร่ขนาดเล็ก และแหล่งวัตถุดิบจากประเทศอื่นๆ
  • การส่งเสริมให้ใช้ใบอนุญาต Diamond Imprest Licence
  • การอนุญาตให้ขายเพชรดิบในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถรับมือต่อความท้าทายที่ต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนการนําเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ส่งออกอินเดียในตลาดโลก

โดยภายหลังจากการประชุมงบประมาณปี 2024 - 2025 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียได้ออกมาประกาศลดภาษีนําเข้าสินค้าโลหะมีค่า เช่นทองคํา เงินและทองคําขาวโดยภาษีนําเข้าสินค้าทองคําและเงินเดิมอยู่ที่ร้อยละ 15 ปรับลดลงเหลือร้อยละ 6

ขณะที่ภาษีนําเข้าทองคําขาวจากเดิมร้อยละ 15.4 ลดลงเหลือร้อยละ 6.4 ซึ่งการปรับลดอัตราภาษีนําเข้านี้จะส่งผลทําให้

ราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีค่าที่จําหน่ายในตลาดมีราคาลดลงโดยราคาสินค้าเครื่องประดับทอง 24K จะลดลงประมาณ 2,800 รูปีอินเดียจากปัจจุบันที่มีราคา 72,700 รูปีอินเดียต่อ 10 กรัม

ขณะที่ราคาเครื่องประดับเงินจะลดลงประมาณ 1,650 รูปีอินเดียจากปัจจุบันที่มีราคา 87,350 รูปีอินเดียต่อกิโลกรัมและสําหรับทองคําขาวคาดว่าจะมีราคาอยู่ที่ 28,940 รูปีอินเดียต่อ10 กรัมโดยการลดอัตราภาษีดังกล่าวนี้

นอกจากจะเป็นการกระตุ้นความต้องการสินค้าเครื่องประดับมีค่าในตลาดก่อให้เกิดการจ้างงาน ช่างฝีมือในการผลิตเครื่องประดับแล้ว ยังจะช่วยลดการลักลอบการนําเข้าทองคําและเครื่องประดับมีค่าอย่างผิดกฎหมายอีกด้วย