ลาวกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ "กู้ยืมเงิน" จำนวนมาก ส่วนใหญ่จากจีนผ่านโครงการริเริ่มแถบและเส้นทาง เพื่อสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน
ลาวได้สร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำประมาณ 80 แห่งบนแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา แต่รายได้จากโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เกิดขึ้น ในขณะที่การชำระหนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้น
หนี้รวมที่รัฐบาลค้ำประกันทั้งในประเทศและต่างประเทศของลาวสูงถึง 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 108% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในปีที่แล้ว
ประมาณครึ่งหนึ่งของหนี้ 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ติดค้างกับประเทศอื่นๆ เป็นหนี้ที่ติดค้างกับจีน แม้ว่ารายละเอียดของเงินกู้จะยังคงไม่ชัดเจน
คำถามที่ตามมาคือ ลาวอาจล้มละลายในเร็วๆ นี้หรือไม่
อะไรนำไปสู่วิกฤตหนี้
"ลาว" เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมพรรคเดียวตั้งแต่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวขึ้นสู่อำนาจเมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี 1975 ประเทศนี้มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาข้าวเพื่อยังชีพ
เศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งตลอดช่วงทศวรรษ 2010 โดยมีเงินกู้ยืมไหลเข้ามาเพื่อสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน แต่สถานการณ์เลวร้ายลงในช่วงการระบาดใหญ่ โดยเงินกีบมีค่าเสื่อมลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิด "ภาวะเงินเฟ้อ" รุนแรง
อัตราเงินเฟ้อโดยรวมของลาวเฉลี่ยอยู่ที่ 31% ตลอดปี 2023 ตามรายงานของธนาคารโลก
เงินกีบอ่อนค่าซ้ำเติม
ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินกีบลดลง คือ การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความจำเป็นในการชำระหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก แม้จะมีการเลื่อนการชำระหนี้บางส่วน และกระแสเงินทุนเข้าที่จำกัด ธนาคารโลกกล่าวในรายงานเมื่อปีที่แล้ว
ปัจจุบัน การซื้อขายเงินกีบประมาณ 21,500 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ ต้องใช้เงินกีบแลกเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวต่อเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2022 เคยแลก 11,500 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ เเต่ก็ไม่ได้หยุดแผนของรัฐบาลในการเพิ่มทุนสำรองเงินดอลลาร์
นักวิชาการบางคนบอกว่า ลาวกู้ยืมเงินค่อนข้างมากและอาจกล่าวได้ว่าไม่ยั่งยืน ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานใหม่รวมถึงโครงการขนส่ง เช่น ทางหลวงและเส้นทางรถไฟร่วมทุนกับจีน เเละโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเป็นตัวการสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สาธารณะ
ปัญหานี้ทวีความรุนแรงขึ้นจากการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดใหญ่ แต่นั่นเป็นความจริงสำหรับหลายประเทศ
การพยายามบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เป็นแนวทางที่มีข้อบกพร่อง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่สามารถมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนา และมักต้องอาศัยการกู้ยืมเพื่อสนับสนุนทางการเงิน
ไม่ใช่ว่าการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดในลาวควรหยุดชะงัก แต่ต้องการแนวทางที่สมดุลมากขึ้นในการพัฒนา แนวทางที่ให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจน การพัฒนามนุษย์ และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสกัดทรัพยากร
ผู้คนในลาวได้รับผลกระทบอย่างไร?
เงินที่นำไปชำระหนี้คือเงินที่ไม่ได้นำไปใช้ในด้านการศึกษา สาธารณสุข บริการสังคม และสินค้าสาธารณะอื่นๆ ขณะที่ประเทศลาว ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ สิ่งนี้ส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่อความพยายามในการขจัดความยากจน และความสามารถของลาวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การลดค่าของเงินกีบและภาวะเงินเฟ้อได้ทำลายครัวเรือนชาวลาว ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า รวมถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐานเช่นอาหารและยา ผู้คนในพื้นที่เมืองได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้เป็นเงินสดและอาหารนำเข้ามากกว่า ขณะที่ประชากรในชนบทสามารถพึ่งพาอาหารที่ปลูกหรือหาได้ในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง สำหรับคนจนในเมืองและชนชั้นกลางระดับล่าง อำนาจการใช้จ่ายของลดลงอย่างมาก
สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้ออาหารที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและสุขภาพ
วิกฤตเศรษฐกิจเป็นหายนะสำหรับวัยรุ่นลาวที่ออกจากโรงเรียนในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีคนนับพันข้ามพรมแดนไปยังประเทศไทยหรือไปไกลกว่านั้น เพื่อหางานที่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินตราต่างประเทศ"
ทำไมหนี้สินจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่?
หลังจากการใช้จ่ายทั้งหมดในเขื่อนและสายส่ง บริษัทไฟฟ้าของรัฐ EDL-Gen หรือ EDL-Generation Public Company คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานน้ำรายใหญ่ที่สุดของ เป็นหนี้ประมาณ 40% ของหนี้สาธารณะและหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันของลาว
สาเหตุของหนี้ก้อนใหญ่นี้มีหลายสาเหตุและเกิดขึ้นต่อเนื่องรวมถึง
ผลลัพธ์คือเกิดกำลังการผลิตพลังงานภายในประเทศส่วนเกินจำนวนมาก และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้งาน ขณะเดียวกัน การลดค่าของเงินกีบอย่างรุนแรงทำให้มูลค่าของรายได้ที่ EdL ได้รับเป็นสกุลเงินท้องถิ่นลดลงเมื่อเทียบกับการชำระหนี้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่กำหนดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาเหล่านี้แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลาวกู้ยืมมากเกินไปสำหรับโครงการที่จะคุ้มทุนได้ในระยะยาวเท่านั้น แต่ต้องเริ่มชำระหนี้ก้อนใหญ่ให้จีนในตอนนี้
จีนได้ดึงลาวเข้าสู่ "กับดักหนี้" หรือไม่
บางฝ่ายกล่าวหาว่าจีนดำเนินการการทูตกับดักหนี้ โดยจงใจล่อให้ลาวกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาล เพื่อให้สามารถยึดทรัพย์สินหรือเพิ่มอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ เเต่นี่เป็นข้อกล่าวหาที่จีนปฏิเสธ
กระทรวงการต่างประเทศจีนเพิ่งให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่า จีนได้ให้ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน กับประเทศกำลังพัฒนารวมถึงลาว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงฯ กล่าวว่า ข้อกล่าวหาเรื่อง "กับดักหนี้" เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของสหรัฐฯ ในการขัดขวางความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศกำลังพัฒนา
"มันไม่สามารถหลอกลวงประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้" กระทรวงฯ กล่าว
ขณะเดียกันมีการถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการใช้คำว่า "การทูตกับดักหนี้" เเละชี้ให้เห็นว่าพันธมิตรด้านการพัฒนาอื่นๆ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย ก็ได้เรียกร้องให้ลาวลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น พลังงานน้ำ ซึ่งหมายถึง จีนเพียงแค่เป็นผู้ที่เข้ามาให้เงินเท่านั้น
เเต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าการให้เงินกู้แก่อีกประเทศหนึ่งนำมาซึ่งอำนาจต่อรองทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ลาวกำลังหาทางออกจากหลุมนี้อย่างไร?
เมื่อเจอปัญหารุมเร้าแบบนี้ "ลาว" อาจกลับไปใช้วิธีการเดิมในการแก้หนี้โดยการหันไป "พึ่งพาจีน"
รัฐบาลลาวกำลังพยายามหาเงินทุกวิถีทาง โดยเฉพาะในรูปแบบเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งรวมถึงการกู้ยืมภายในประเทศและการขายทรัพย์สินของรัฐ สิ่งหลักที่ทำให้ลาวยังคงอยู่รอดได้ในขณะนี้
คือการที่ลาวได้รับอนุญาตให้เลื่อนการชำระหนี้ให้กับจีน ซึ่งมีมูลค่าสูงมาก แต่ทุกปีลาวต้องเจรจากับจีนเพื่อให้ได้รับสิ่งนี้ ซึ่งไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และไม่ว่าในกรณีใด ลาวยังคงต้องหาเงินเพิ่ม เพราะยังต้องชำระหนี้อื่นๆ และตอบสนองความต้องการนำเข้า
มาตรการที่ลาวกำลังดำเนินการดูเหมือนจะไม่สามารถลดอัตราเงินเฟ้อ หรือทำให้สกุลเงินลาวเคลื่อนไหวในทิศทางที่ถูกต้องได้ เงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ประมาณ 25 % และเงินกีบยังคงค่อยๆ สูญเสียมูลค่าหลังจากที่เสื่อมลง 60 % นับตั้งแต่ปี 2019
ในช่วงสิ้นปี 2024 ลาวมีแนวโน้มที่จะเข้าเกณฑ์นิยามหนึ่งของภาวะเงินเฟ้อสูงซึ่งกำหนดไว้ว่าเป็นอัตราเงินเฟ้อสะสม 100 % ในช่วงสามปี
มีรายงานจากสื่อต่างๆ ว่าลาวได้ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อจัดการกับหนี้สินที่มีต่อจีน เกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างลาวและจีน ดังนี้
ข้อตกลงสวอปค่าเงิน
ข้อเสนอเพิ่มเติมจากรัฐบาลลาว (ตามรายงานของนิกเคอิเอเชีย)
ข้อตกลงเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของลาวในการจัดการกับภาระหนี้สิน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจนำไปสู่การเพิ่มอิทธิพลของจีนในเศรษฐกิจลาวมากขึ้น
โยกย้ายผู้ว่าการธนาคารกลาง
ความเคลื่อนไหวล่าสุด คือ การโยกย้าย บุนเหลือ สินไซวอละวง ออกจากตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติลาว หลังจากทำหน้าที่ได้แค่ 2 ปี ถูกจับตาว่าเป็นสัญญาณที่สะท้อนถึงปัญหาหนี้สินของลาว
ลาวใกล้ผิดนัดชำระหนี้แค่ไหน?
ในปี 2567 ลาวได้ขอเลื่อนการชำระหนี้ไปแล้ว 670 ล้านดอลลาร์ รวมสะสมเป็น 1,200 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การผิดนัดชำระหนี้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับลาว ซึ่งจะเป็นโอกาสในการปรับโครงสร้างหนี้และกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่การผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้การกู้ยืมในอนาคตยากลำบากและมีราคาแพงมากขึ้น เนื่องจากลาวขาดความโปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้กับจีน
เนื่องจากหนี้ต่างประเทศของลาวมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในมือจีน การที่ลาวจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจีนจะเลือกให้ความช่วยเหลือลาวหรือไม่ เช่น เสนอการเลื่อนการชำระหนี้
ในที่สุดแล้ว ลาวต้องการการลดหนี้จำนวนมาก แทนที่จะแค่การเลื่อนการชำระหนี้ระยะสั้นจากจีนต่อไป แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดของหนี้อาจจะนำมาซึ่งต้นทุนทางสังคมมหาศาลสำหรับลาว
ขณะที่ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าทุนสำรองต่างประเทศสุทธิของลาวซึ่งไม่รวมข้อตกลงสวอป จะรองรับการนำเข้าสินค้า และบริการจากต่างประเทศได้เพียง1 เดือน
ข้อมูลอ้างอิง