EBM ดึงระบบ AI ติดตั้งกล้องตรวจจับ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ลดอุบัติเหตุ

17 มิ.ย. 2567 | 14:58 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มิ.ย. 2567 | 15:05 น.

"สุรพงษ์ นำทีมคมนาคม ลงพื้นที่ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" หลังกลับมาเปิดให้บริการครบ 23 สถานี ฟาก EBM ลุยติดตั้งกล้อง AI ตรวจจับความผิดปกติทุก ขบวนรถ หวั่นซ้ำรอยอุบัติเหตุเดิม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​คมนาคม​ เปิดเผยว่า สำหรับการลงพื้นที่ตรวจสอบรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจากอุบัติเหตุ​ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากมีวัสดุร่วงหล่นลงมานั้น เบื้องต้นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน​แห่งประเทศไทย​ (รฟม.)​ ,กรมการขนส่งทางราง (ขร.)และเอกชนผู้ให้บริการ ได้สรุปสาเหตุและแก้ไขปรับปรุงจนสามารถเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งก่อนการเปิดให้บริการมีการตรวจสอบระบบให้พร้อมใช้งานตามหลักความปลอดภัย​การเดินรถ

 

ส่วนมาตรการความปลอดภัย​หลังจากนี้ได้ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และติดตั้งกล้องที่ขบวนรถ เพื่อตรวจจับความผิดปกติ หากพบว่า มีความผิดปกติจะมีการแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมความปลอดภัย​ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ​และระยะเวลาในการซ่อมแซม โดยจะติดตั้งรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองและสายสีชมพู เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการใช้บริการ

EBM  ดึงระบบ AI ติดตั้งกล้องตรวจจับ \"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง\" ลดอุบัติเหตุ

"การตรวจสอบในการซ่อมบำรุงขบวนรถนั้นจากเดิมที่มีการเพิ่มความถี่ทุก 6 เดือน เป็นทุกๆ 2 เดือน แต่หากเป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ จะเพิ่มความถี่ทุกๆสัปดาห์"

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยได้มีการดำเนินการตรวจสอบรอยต่อคานทางวิ่ง (expansion joint) ทั้งโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองและสีชมพู ซึ่งมีการตรวจเช็คมาร์คหัวนอต เพื่อสังเกตการคลายตัวของนอต การเคาะแผ่นต่อเชื่อมคานทางวิ่ง (finger plate) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของตัวแผ่นเหล็กจากเสียงที่เกิดขึ้น

EBM  ดึงระบบ AI ติดตั้งกล้องตรวจจับ \"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง\" ลดอุบัติเหตุ

ขณะที่การใช้อุปกรณ์พิเศษรูปตัวแอล สอดไปบริเวณระหว่างหัวนอตกับแผ่นต่อเชื่อมคานทางวิ่ง (finger plate) เพื่อตรวจสอบนอตที่ไม่แนบแผ่นต่อเชื่อมคานทางวิ่ง (finger plate) หรือการขันทอร์กด้วยเครื่องมือตรวจวัดค่าทอร์กที่มีการสอบเทียบ (calibrate) เพื่อตรวจสภาพเกลียวของรูนอตก่อนเปลี่ยนนอตใหม่ให้แนบกับแผ่นต่อเชื่อมคานทางวิ่ง (finger plate) ซึ่งการดำเนินการนี้ ยังมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องต่อไป

EBM  ดึงระบบ AI ติดตั้งกล้องตรวจจับ \"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง\" ลดอุบัติเหตุ

"ขร. ได้กำชับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้ให้บริการ (EBM) ผู้รับสัมปทานให้เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสภาพโครงสร้าง ขบวนรถไฟฟ้า อุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเพิ่มความถี่ในการขันทอร์กจาก 4 เดือนเป็น 2 เดือน และถี่กว่านั้นในส่วนที่สำคัญเพื่อป้องกันความผิดพลาดและมีความปลอดภัยอยู่เสมอ"

 

นอกจากนี้ผูัให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองและสายสีชมพูได้ดำเนินการติดตั้งกล้อง image processing ร่วมกับ AI ไว้ใต้ขบวนรถไฟฟ้า เพื่อตรวจจับความผิดปกติของชิ้นส่วนในระบบราง หากมีตำแหน่งคลาดเคลื่อนจากเดิม จะมีการแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมการเดินรถ เพื่อประสานผู้เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งได้ดำเนินการซ่อมบำรุงตามคู่มือและแนวทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประชาชนมั่นใจสูงสุดในการใช้บริการระบบราง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า จากการดำเนินการซ่อมบำรุงเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ช่วงสถานีกลันตัน (YL12) - สถานีสวนหลวง ร.9 (YL15) โดยผู้รับสัมปทานได้ทำการรื้อถอนรางจ่ายกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์ยึดจับรางฯ ที่เสียหายออกจากระบบ เปลี่ยนแผ่นเชื่อมคานทางวิ่ง (Finger Type Expansion Joint) ที่ชำรุด ณ จุดเกิดเหตุเป็นชุดใหม่ และนำรางจ่ายกระแสไฟฟ้าชุดใหม่ขึ้นติดตั้งแทนของเดิม

EBM  ดึงระบบ AI ติดตั้งกล้องตรวจจับ \"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง\" ลดอุบัติเหตุ

สำหรับการติดตั้งกล้อง image processing เพื่อตรวจจับความผิดปกติของชิ้นส่วนในระบบราง เบื้องต้นรฟม.ได้มอบหมายให้เอกชนดำเนินการติดตั้งกล้องทุกขบวนรถ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันที

 

ทั้งนี้ รฟม. ได้ร่วมกับ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ติดตามการทดสอบระบบต่างๆ และตรวจประเมินความพร้อมของระบบ ก่อนที่ผู้รับสัมปทานจะกลับมาเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ตามปกติครบทั้ง 23 สถานี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โดยรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง เปิดให้บริการระหว่างเวลา 06.00 – 00.00 น. ด้วยความถี่ทุก 10 นาทีต่อขบวน นอกช่วงเวลาเร่งด่วน และความถี่ทุก 5 นาทีต่อขบวน ในช่วงเวลาเร่งด่วน (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.00 – 09.00 น. และเวลา 17.00 – 20.00 น.)