เปิดงบฯดูแลผู้สูงอายุ เหตุผลที่รัฐจ่อออก “หวยเกษียณ”

09 มิ.ย. 2567 | 15:02 น.
1.3 k

เปิดงบประมาณด้านผู้สูงอายุ ปี 2566 ทะลุ 90,000 ล้านบาท สาเหตุรัฐจ่อออก “หวยเกษียณ” แก้ปัญหาสังคมผู้สูงวัย พบงบฯเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุบวมทุกปี

จากกรณีกระทรวงการคลังได้เปิดตัวนโยบาย “สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรือ “สลากเกษียณ” หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่นำพฤติกรรมชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมเงิน โดยนอกจากจะได้ลุ้นรางวัลแล้วยังเป็นการสะสมเงินไปในตัว โดยเงินที่ซื้อหวยเกษียณทั้งหมดสามารถถอนออกมาได้เมื่ออายุครบ 60 ปี

โดยจะเปิดให้ซื้อ “หวยเกษียณ” ผ่านแอปพลิเคชันของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ในลักษณะสลากขูดแบบดิจิทัล โดยขายให้กับ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1.สมาชิก กอช. 2. ผู้ประกันตนมาตรา 40 และ 3. แรงงานนอกระบบ โดยอาจะมีกลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งสามารถซื้อได้ทุกวัน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. เป็นรางวัลที่ 1 จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ1,000,000 บาท และรางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท 

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า “ปัจจุบันการใช้งบประมาณสำหรับดูแลเบี้ยชราสูงถึงปีละหลายแสนล้านบาท แต่หวยเกษียณดังกล่าวใช้เงินงบประมาณมาดำเนินการ เฉลี่ยใช้งบเพียงสัปดาห์ละ 15 ล้านบาท คิดเป็นเดือนละ 60 ล้านบาท หรือปีละ 700 ล้านบาทเท่านั้น และขั้นตอนในการดำเนินการสามารถทำได้ด้วยการแก้ไขกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถเริ่มได้ในปี 2568”

เปิดงบฯดูแลผู้สูงอายุ เหตุผลที่รัฐจ่อออก “หวยเกษียณ”

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า งบประมาณภาพรวมด้านผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566 มีวงเงินสูงถึง 90,583.2355 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบสวัสดิการด้านผู้สูงอายุ 89,675.0527  ล้านบาท งบบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 448.6718 ล้านบาท และงบ Function 459.5110 ล้านบาท

สำหรับรายละเอียดการใช้งบประมาณด้านผู้สูงอายุในแต่ละด้าน มีดังนี้

งบสวัสดิการด้านผู้สูงอายุ 89,675.0527  ล้านบาท ประกอบด้วย

  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 87,580 ล้านบาท
  • กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น 71,407.5 ล้านบาท
  • กรุงเทพมหานคร 7,026.46 ล้านบาท
  • พัทยา 96.2 ล้านบาท
  • เทศบาลนคร 3,139.68 ล้านบาท
  • เทศบาลเมือง 5,910.20 ล้านบาท
  • กองทุนสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1,265.65 ล้านบาท
  • สงเคราะห์ศพผู้สูงอายุตามประเพณี 319 ล้านบาท
  • สงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก 37.5 ล้านบาท
  • สนับสนุนศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 68.6 ล้านบาท
  • กองทุนผู้สูงอายุ 70 ล้านบาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ 334.2 ล้านบาท

งบบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 448.6718 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • กรมประชาสัมพันธ์ 3.27 ล้านบาท
  • กรมกิจการผู้สูงอายุ 268.7 ล้านบาท
  • สนง.คคก.สุขภาพแห่งชาติ 6.15 ล้านบาท
  • วิทยาลัยชุมชน 5 ล้านบาท
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร 1 ล้านบาท
  • สนง.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 19.71 ล้านบาท
  • สนง.เศรษฐกิจดิจิทัล 27.28 ล้านบาท
  • กรมจัดหางาน 8. ล้านบาท
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3.6 ล้านบาท
  • สป.สธ. 16.41 ล้านบาท
  • กรมการแพทย์ 19.58 ล้านบาท
  • กรมการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก 1 ล้านบาท
  • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 1 ล้านบาท
  • กรมสุขภาพจิต 9 ล้านบาท
  • กรมอนามัย 58.73 ล้านบาท

เปิดงบฯดูแลผู้สูงอายุ เหตุผลที่รัฐจ่อออก “หวยเกษียณ”

งบ Function(ภารกิจพื้นฐาน)  459.5110 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(กรมกิจการผู้สูงอายุ) 158.59 ล้านบาท
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 13.85 ล้านบาท
  • กระทรวงแรงงาน 6.44 ล้านบาท
  • กระทรวงสาธารณสุข 6 ล้านบาท
  • กระทรวงศึกษาธิการ 30.1 ล้านบาท
  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 232.76 ล้านบาท
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4.42 ล้านบาท
  • สภากาชาดไทย 7.31 ล้านบาท

รายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปี 2555 - 2562

  • ปี 2555 จำนวน 52,535 .42 ล้านบาท
  • ปี 2556 จำนวน  58,350.30 ล้านบาท
  • ปี 2557 จำนวน 60,999.87 ล้านบาท
  • ปี 2558 จำนวน 62,127.00 ล้านบาท
  • ปี 2559 จำนวน 63,219.44 ล้านบาท
  • ปี 2560 จำนวน 64,783.64 ล้านบาท
  • ปี 2561 จำนวน 66,407.36 ล้านบาท
  • ปี 2562 จำนวน 71,911.17 ล้านบาท

ทั้งนี้ งบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ใช้งบประมาณด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 56,462 ล้านบาท  ปี 2565 ใช้งบประมาณด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 82,341 ล้านบาท