เตรียมรับแรงกระแทก แรงกดดัน "ภาวะเงินฝืดจีน" ลากยาวถึงกลางปี 67

29 ม.ค. 2567 | 14:56 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ม.ค. 2567 | 14:58 น.

แรงกดดันภาวะเงินฝืดของจีนมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ และในขณะที่วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ยังคงบั่นทอนความเชื่อมั่นภายในเศรษฐกิจ

จับตาแรงกดดัน ภาวะเงินฝืด ของจีน ล่าสุดมีแนวโน้มจากนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่าจะลากยาวอีกอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากดีมานด์อ่อนแอ และ "วิกฤตอสังหาริมทรัพย์" บั่นทอนความเชื่อมั่นภายในเศรษฐกิจ

ล่าสุด ศาลฮ่องกงสั่งให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ ขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11.5 ล้านล้านบาท ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่คาดว่าทำให้เกิดเเรงกระเพื่อมผ่านตลาดการเงินของจีน ท่ามกลางการดิ้นรนควบคุมวิกฤตที่รุนแรงยิ่งขึ้น

 

นักเศรษฐศาสตร์ 12 จาก 19 คน ในการสำรวจของ Bloomberg ครั้งใหม่ คาดว่า GDP จะลดลงอย่างน้อย 2 ไตรมาส  เป็นมาตรวัดความแตกต่างระหว่างการเติบโตของ GDP ที่ระบุและการเติบโตที่แท้จริง ได้ลดลงแล้วในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา และการลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายนถือเป็นสถิติที่ยาวสุดนับตั้งแต่ปี 1999

นอกจากนี้ภาวะเงินฝืดที่ฝังแน่นและราคาบ้านที่ลดลง ยังเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด ที่จีนต้องเผชิญในปีนี้ ท่ามกลางความพยายามฟื้นและรักษาโมเมนตัมไว้ แม้ว่าจีนจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ประมาณ 5% ในปี 2566 ก็ตาม 

 

นักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของ Bloomberg ยังปรับการคาดการณ์การเติบโตของเล็กน้อยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จากการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ 66 คน พบว่า GDP ในปี 2567 ขยายตัว 4.6% จากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 4.5% ค่ามัธยฐาน ( ค่าของข้อมูลที่อยู่ตรงกลางจากข้อมูลทั้งหมด) ประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ 51 คนสำหรับการเติบโตในปี 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 4.5% จาก 4.3% เเต่ตัวเลขเหล่านี้ก็ยังต่ำกว่าอัตราการเติบโต 5%

ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงตกต่ำในช่วงต้นปี นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 0.2% ในไตรมาสนี้ก่อนจะเร่งขึ้น ค่ามัธยฐานโดยประมาณสำหรับ CPI ประจำปีอยู่ที่ 1.1% ซึ่งต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้น 1.4% ในการสำรวจครั้งล่าสุดเล็กน้อย

ที่มาข้อมูล 

bloomberg