ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่ กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

08 ก.ย. 2566 | 12:51 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ย. 2566 | 12:51 น.
1.0 k

สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง เปิดตัว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านไวรัสใบด่าง เล็งชงรัฐบาลใช้งบปีละ 300 ล้าน ติดต่อกัน 7 ปี กำจัดโรคให้สิ้นซาก เอกชน เฮ เชียร์ปลูกทั่วประเทศ รับดีมานด์จีนโตแรง หวังทดแทนนำเข้าวัตถุดิบปีละ 10 ล้านตัน เสริมความมั่นคงอาชีพเกษตรกร ป้องอุตฯ แสนล้านไปต่อ

"โรคใบด่างมันสำปะหลัง"  ที่พบครั้งแรกในไทยตั้งแต่ปี 2561 ยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่อง จากท่อนพันธุ์ที่มีโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะไม่มียาป้องกันหรือรักษาโดยตรง ซึ่งหากเป็นแล้วจะมีผลทำให้ผลผลิตหัวมันสดลดลง 40-80% พบมีการระบาดในประเทศแล้วมากกว่า 3 ล้านไร่ เป็นที่มาของมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงถึงความเสียหายรุนแรงของโรคใบด่างต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศในแต่ละปี และได้เร่งหาทางหยุดยั้ง

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 นายจเร จุฑารัตนกุล กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการและผู้อำนวยการใหญ่ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นับตั้งแต่เกิดโรคใบด่างฯ ทางมูลนิธิฯ ได้ริเริ่มโครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การนานาชาติมาสำรวจให้คำปรึกษาและจัดประชุมเพื่อถ่ายทอดวิชาการตั้งแต่ปี 2560 และในปี 2561 ได้หารือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมจัดทำโครงการปรับปรุงพันธุ์ต้านทานและใช้วิธีการควบคุมโรคพืช เพื่อควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง เริ่มดำเนินงานในปี 2562 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันเกษตรเขตร้อนนานาชาติ หรือ IITA จากประเทศไนจีเรีย จำนวน 5 พันธุ์ เพื่อนำมาทดสอบ และขยายพันธุ์

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้ได้ผ่านการตรวจสอบและควบคุมจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จนได้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคใบด่างระดับสูง จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1. TME B419 มีชื่อเล่นว่า “อิทธิ 1” 2. IITA-TMS-IBA980581 เรียกว่า “ อิทธิ 2” และ 3. IITA-TMS-IBA920057 เรียกว่า “อิทธิ 3” โดยทั้ง 3 พันธุ์นี้จะได้ขอพระราชทานชื่ออันเป็นมงคลนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 

ในส่วนของการให้ผลผลิตและเชื้อแป้งของมันสำปะหลังทั้ง 3 สายพันธุ์ แม้จะไม่สูงเท่ากับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 แต่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศ ไทยเพื่อนำไปปลูกทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง จากการดำเนินโครงการมา 5 ปีได้ประสบความสำเร็จ ได้พันธุ์มาขยายพันธุ์แล้วกว่า 17,000 ต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 ขณะที่เวลานี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือมูลนิธิฯได้รับท่อนพันธุ์จากคณะวิจัยพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำมาลงแปลงนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงปัจจุบัน จาก 17,000 ต้น ได้มาลงแปลงขยายปลูกเป็น 95,000 ต้น โดยใช้กรรมวิธีต่างๆ เพื่อไปสู่การขยายต้นพันธุ์ให้เร็วที่สุด คาดในปีหน้าจะสามารถเพิ่มเป็น 7 แสนต้นหรือเพิ่มขึ้น 40 เท่าตัว

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 

“ต้นพันธุ์ที่จะกระจายออกไปอาจเป็นต้นทุนของเกษตรกร สมัยก่อนต้นพันธุ์ ราคาอยู่ที่ 1.50 บาทต่อต้น แต่ตอนนี้ราคาพันธุ์ต้นละ 3-5 บาท เมื่อทุกคนตระหนักแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องเอาพันธุ์ใหม่ไปให้ถึงโดยเร็วที่สุด โดยวิธีการแจกฟรี หรือขายในราคาตํ่า ก็จะมีกำลังมาป้อน เพียงรัฐอุดหนุนปีละ 30 บาทต่อไร่ 10 ล้านไร่ ก็เท่ากับปีละ 300 ล้านบาท สามารถแก้ปัญหาได้เลย อย่างน้อยจะได้พันธุ์มาขยาย 15 ล้านต้นต่อปี”

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้หากนโยบายเดินหน้าต่อเนื่องยาว 7 ปี จะแก้ปัญหาโรคใบด่างฯได้สำเร็จ ใช้เงินไม่มาก โดยการได้พันธุ์ใหม่มาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ จะสำเร็จได้เมื่อพันธุ์มันสำปะหลังใหม่ได้ไปอยู่แปลงเกษตรกรทั่วประเทศ และจะเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมที่โรงงานสามารถนำไปแปรรูปส่งออกต่อได้ โดยขณะนี้ความต้องการของตลาดจีนยังมีสูงดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงได้ประกาศความสำเร็จในเบื้องต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายธีระ เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า อุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยวันนี้ค่อนข้างวิกฤตในแง่ผลผลิตจากผลกระทบโรคใบด่าง ซึ่งมันฯ 3 พันธุ์ใหม่ต้านไวรัสใบด่างถือเป็นอีกหนึ่งทางรอด ดังนั้นจะต้องนำพันธุ์เหล่านี้ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรเร็วที่สุด และฝากทางรัฐบาล รวมทั้งนักวิจัยได้หาพันธุ์ใหม่ๆ ที่ต้านทานโรคและมีเชื้อแป้งสูงเพิ่มเติมด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายสุรพงษ์ แสงศิริพงษ์พันธ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า ทิศทางข้างหน้าชาวไร่มีความเสี่ยงต้องเผชิญปัญหาภัยแล้งที่อาจถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้ ขณะที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากใช้ท่อนพันธุ์จากสถาบันฯที่ได้สายพันธุ์มาจากทวีปแอฟริกา ที่ทนต่อภัยแล้งก็จะช่วยลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายและยังต้านทานโรคใบด่างได้ด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ด้านนายดนัยธนิต พิศาลบุตร กรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาผลผลิตมันสำปะหลังของไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากปกติใช้ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี ผลิตได้ประมาณ 30 ล้านตัน ต้องนำเข้าราว 10 ล้านตันต่อปี ขณะที่ในปีนี้คาดผลผลิตในประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 24 ล้านต้น หรือน้อยกว่า ถือเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งวงการกำลังจับตามอง หากได้พันธุ์ใหม่มาปลูก ทันต่อความต้องการเกษตรกรก็จะลืมตาอ้าปากได้

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,920 วันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ. 2566