ถอดรหัสความสำเร็จ ‘สยามพิวรรธน์’ ดึงแรงซื้อนักช้อปทั่วโลก

22 มิ.ย. 2566 | 14:22 น.
อัปเดตล่าสุด :22 มิ.ย. 2566 | 14:48 น.

คีย์ซัคเซส “สยามพิวรรธน์” สร้างระบบนิเวศเชื่อมค้าปลีกโลกแบบไร้พรมแดน ชูกลยุทธ์ Co-creation & Collaboration ต่อยอดสู่โกลบอล เดสติเนชั่น ล่าสุดรีโนเวทใหญ่ “สยามพารากอน” ดึง 20 ลักชัวรีแบรนด์เสริมแกร่ง

การเดินหน้าสร้างระบบนิเวศธุรกิจระดับโลกอย่างไร้พรมแดนของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ ผู้บริหารโกลบอล เดสติเนชั่นอย่าง สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม ไอซีเอส และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ จนเป็นที่ยอมรับระดับโลก ภายใต้กลยุทธ์ Co-creation & Collaboration กลายเป็นคีย์ซัคเซสที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก

นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า สยามพิวรรธน์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้าง Ecosystem มาโดยตลอด โดยยึดมั่นในกลยุทธ์ Co-create & Collaboration to Win การผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อการสร้างโอกาสธุรกิจหรือสร้าง business model ของการเติบโตอย่างยั่งยืน

ภายใต้วิสัยทัศน์ Rise Above the Ocean โดยพลังแห่งการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีอยู่ทั่วโลกนี้ ส่งผลให้สยามพิวรรธน์ได้สร้างปรากฏการณ์ นำเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ก่อนใครมาโดยตลอดทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน และครองความเป็นผู้นำในการปฏิวัติวงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก

ถอดรหัสความสำเร็จ ‘สยามพิวรรธน์’ ดึงแรงซื้อนักช้อปทั่วโลก

“ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจไม่จำเป็นต้องวางกรอบอยู่ในอุตสาหกรรมแบบเดิมอีกต่อไป สยามพิวรรธน์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพไร้ขีดจำกัดของอีโค่ซิสเต็ม ที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม จะเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสการขยายธุรกิจอย่างไร้พรมแดน สามารถสร้างธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นำจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาช่วยเติมเต็มศักยภาพให้กับธุรกิจเติบโตและก้าวไปไกลกว่าเดิมอย่างรวดเร็ว

ส่งผลนำไปสู่ความสำเร็จในด้านต่างๆ อาทิ Speed to Market การเพิ่มสปีดทางการตลาด สามารถรับมือและตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Additional Revenue สร้างรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่แนวทางการสร้างรายได้ใหม่ สมประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน Incremental Traffic and Expand Customer Base การผนึกกำลังกับพันธมิตรที่หลากหลาย มาพร้อมกับฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่กว้างขึ้น และส่งผลต่อจำนวน traffic ของทุกศูนย์การค้าที่เพิ่มขึ้น”

ทั้งนี้สยามพิวรรธน์นำกลยุทธ์ Co-create & Collaboration to Win มาสร้างความสำเร็จให้องค์กรใน 2 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. การผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร เพื่อเสริมแกร่งธุรกิจหลักในทุกแพลตฟอร์ม และเสริมจุดแข็ง (Collaboration to strengthen core business in all platforms and strengthen competitive edge) เพื่อสนับสนุนศักยภาพการแข่งขันบนเวทีโลก และ 2. การผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างการเติบโตในรูปแบบใหม่ๆ และมีช่องทางการหารายได้ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น (Collaboration to create new growth & new revenue additional revenue)

ถอดรหัสความสำเร็จ ‘สยามพิวรรธน์’ ดึงแรงซื้อนักช้อปทั่วโลก

สำหรับความสำเร็จที่เกิดจากการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ มีต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 กับการจับมือ 13 อุตสาหกรรมมากกว่า 50 องค์กร เปิดตัวแพลตฟอร์ม ONESIAM SuperApp สร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าแบบ O2O อีกทั้งสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นเครื่องมือหลักในการให้บริการและดูแลกลุ่มลูกค้าสมาชิก VIZ

การร่วมกับ True และกันตนากรุ๊ป เปิดพื้นที่ True 5G PRO HUB ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ให้เป็นศูนย์รวมครบวงจรของคอมมูนิตี้ E-Sport โลกใบใหม่สำหรับคน New Gen, การจับมือ TAGTHAi แพลตฟอร์มบริการด้านการท่องเที่ยวไทย เปิดตัว ONESIAM Pass ขยายการท่องเที่ยวสู่ตลาด Lifestyle Travel เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการผลงานศิลปินระดับโลก Van Gogh Alive Bangkok จัดแสดงในรูปแบบ Immersive Multi-Sensory Experience ณ ไอคอนสยาม ได้ผนึกกำลังกับ Live Impact Events ร่วมกับ Grand Experiences และ Sensory การจับมือกับอินโนเชียน (INNOCEAN) บริษัทชั้นนำระดับโลกในเครือ ฮุนไดมอเตอร์กรุ๊ป เปิดตัวไลฟ์สไตล์ป๊อบอัพช็อป สุดฮอต 2 โปรเจ็กต์ ได้แก่ “Boggle Boggle K-Ramyun Pop-up Shop” ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ “BTS Pop-Up Space of BTS”

ถอดรหัสความสำเร็จ ‘สยามพิวรรธน์’ ดึงแรงซื้อนักช้อปทั่วโลก

“สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญกับ CRM เพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า จึงคัดสรรพันธมิตรทางธุรกิจที่มีเครือข่ายทั่วโลก ได้แก่ สายการบินชั้นนำต่างๆ อาทิ Emirates Airline, Cathay Pacific, การบินไทย เป็นต้น เพื่อร่วมมือกันสร้างสรรค์แคมเปญพิเศษขึ้น เช่น การเดินทางระดับเวิลด์คลาส สำหรับสมาชิกระดับท็อปสเปนเดอร์

ร่วมนำเสนอแพ็กเกจบัตรโดยสารโดยมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าสมาชิก VIZ ในโอกาสต่างๆ ตลอดจนการใช้พื้นที่จัดกิจกรรมจำหน่ายตั๋วโดยสารในราคาพิเศษ รวมถึงการร่วมกับ บริษัท ทราเวล เทคโนโลยีเซอร์วิส จำกัด (Travel Tech) ผู้นำในธุรกิจการเดินทางระดับพรีเมี่ยมสร้างประสบการณ์สุดพิเศษประทับใจ”

ถอดรหัสความสำเร็จ ‘สยามพิวรรธน์’ ดึงแรงซื้อนักช้อปทั่วโลก

นางมยุรี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันลักชัวรีแบรนด์ที่เปิดให้บริการในศูนย์การค้ากลุ่มสยามพิวรรธน์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากลูกค้าคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติเห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าจำนวนมาก และสร้างยอดขายให้กับสาขาจนติดอันดับท็อป 5-10 ของโลกไม่ต่ำกว่า 5 แบรนด์ ทำให้มีลักชัวรีแบรนด์สนใจเข้ามาเปิดสาขาภายในศูนย์การค้ามากขึ้น

โดยพบว่าในปี 2565 ยอดขายลักชัวรีแบรนด์เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ราว 50% และเติบโตมากกว่าปี 2562 (ก่อนโควิด) ขณะที่ในปี 2566 คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากที่มีการรีโนเวทสยามพารากอน ในโอกาสครบรอบ 18 ปี พร้อมกับการรีโนเวทโซนลักชัวรีแบรนด์

และขยายพื้นที่เพิ่มอีก 1 ชั้น ในชั้น 1 จากปัจจุบันลักชัวรีแบรนด์จะอยู่ชั้น M ทำให้มีร้านลักชัวรีแบรนด์ใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้นกว่า 20 แบรนด์ ขณะที่แบรนด์เดิมก็ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกค้าได้มากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้โซนลักชัวรีแบรนด์ในชั้น M จะรีโนเวทเสร็จราว 90% ในสิ้นปีนี้ ส่วนชั้น 1 จะเปิดให้บริการได้ในปีหน้า

“วันนี้แลนด์สเคปของลักชัวรีแบรนด์ เปลี่ยนแปลงไปมาก แม้จะมีเรื่องของภาษีนำเข้าเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ด้วยดีมานด์ที่สูง และยอดขายที่สูงจนติดอันดับโลก ทำให้บริษัทแม่ของลักชัวรีแบรนด์เหล่านั้นให้ความสำคัญ นำเสนอคอลเลคชั่นใหม่, แรร์ไอเทม ให้กับลูกค้ามากขึ้น รวมถึงรอยัลตี้ โปรแกรมที่ห้างนำเสนอ ทำให้ลูกค้างต้องการ มาช้อปปิ้งในเมืองไทยมากขึ้นด้วย”

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,898 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566