มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

20 พ.ค. 2566 | 03:00 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ค. 2566 | 10:08 น.
738

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน   ค่าโดยสารสาธารณะ ซื้อรถยนต์ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์ นำโด่ง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมา

พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงมีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น เหมือนรายท่าเดิมแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นในสินค้าขนาดเท่าเดิม ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อ คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหนซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตามอำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวมเพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อสูงก็แสดงว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย

 

 

ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไปหรือต่ำไปจนเป็นเงินฝืดจึงเป็นเรื่องจำเป็นและแม้ว่าเดือนเมษายนเงินเฟ้อไทยจะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าในหมวดอาหารที่ราคาชะลอตัวแต่ก็ถือว่ายังสูง

มาดูกัน “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย.2566 เพิ่มขึ้น 2.67%ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับจากธ.ค.2564ที่อยู่ที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.17% โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าในหมวดอาหารที่ราคาชะลอตัว และฐานราคาในเดือนเม.ย.2565ที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้น 3.58%

สำหรับเงินเฟ้อเดือนเม.ย.2566 ที่สูงขึ้น 2.67%มาจากการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 4.53%ชะลอตัวจากเดือนมี.ค.2566 ที่สูงขึ้น 5.22% โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้(ถั่วฝักยาว มะนาว กระเทียม แตงโม เงาะ มะม่วง) ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไข่ไก่ กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม กาแฟ ชา อาหารบริโภคในบ้าน เช่น กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง ซอสหอยนางรม โดยมีสินค้าที่ราคาลดลง เช่น เนื้อสุกร ขึ้นฉ่าย ผักกาดขาว ผักบุ้ง กล้วยน้ำว้า น้ำมันพืช มะพร้าว และมะขามเปียก

กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนเมษายน2566ไว้มีรายจ่ายรายเดือนที่18,153บาท  แบ่งเป็น 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,230บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,038 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,720 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,639 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,254บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  982 บาท
  • ผักและผลไม้  1,013 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 761บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  679 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 428 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 401บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  375บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 392บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 241 บาท
  • ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า
  • สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึง58.54% โดย ค่าโดยสารรถสาธารณธ
  • ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.30% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน
  • วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า 22.25%
  • ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ41.46% โดย เนื้อสัตว์
  • เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.47% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 9.03%
  • และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.91% เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ปี 2566คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงค่อนข้างมากโดยสาเหตุสำคัญมาจากฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูงและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมาขณะที่ราคาสินค้าและบริการบางรายการชะลอตัว และบางรายการเริ่มทรงตัวแล้ว ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 อยู่ที่ระหว่าง 1.7 – 2.7% (ค่ากลาง 2.2)และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง