ส่องอาณาจักรซีพี ที่ทำให้ “ตระกูลเจียรวนนท์” รวยแล้วรวยอีก

03 เม.ย. 2566 | 14:41 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2566 | 16:49 น.
13.6 k

“ตระกูลเจียรวนนท์” ยังยืนหนึ่งครอบครัวที่มั่งคั่งที่สุดในไทย "เจ้าสัวธนินทร์" ขยายอาณาจักรซีพี และควบรวมกิจการ จนรวยแล้วรวยอีก เฉพาะ 4 บริษัทในตลาดหุ้น "CPALL-MAKRO-CPF-TRUE" มาร์เก็ตแคปรวม 1.44 ล้านล้านบาทแล้ว

หลัง “ฟอร์บส์” ได้จัดอันดับให้ “ตระกูลเจียรวนนท์ ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย" และติดอันดับ “ครอบครัวผู้มั่งคั่งในเอเชีย”  ด้วยทรัพย์สิน 2.82 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 9.6 แสนล้านบาท แซง “ตระกูลอยู่วิทยา-จิราธิวัฒน์”  ฐานเศรษฐกิจจะพามาส่องอาณาจักรในเครือซีพี  ซึ่งครอบคลุม 8 กลุ่มธุรกิจ

 

จุดเริ่มต้นของอาณาจักรของซีพี 

ย้อนไปเมื่อ 100 ปีที่แล้วเมื่อ "เจี่ย เอ็กชอ" เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากมณฑลกวางตุ้ง มาสู่ประเทศไทย เปิดร้านขายเมล็ดพันธุ์ผัก กับพี่ชาย ชื่อร้าน เจียไต๋ ผ่านไปนับศตวรรษ ทายาทคนสุดท้อง  "กั๋วหมิน" หรือต่อมา เป็นรู้จักกันในชื่อ "ธนินท์ เจียรวนนท์" กลายมาเป็นผู้นำอาณาจักรธุรกิจ ขยายเครือข่ายจนเติบใหญ่ และส่งต่อการบริหารจากรุ่นสู่รุ่น  

ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี บริหารโดยทายาทรุ่นที่ 4 แล้ว 

 

ส่องอาณาจักรซีพี ครอบคลุม 8 กลุ่มธุรกิจ

1.ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร  ซึ่งประกอบด้วย

1.1. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF

ธุรกิจอาหาร สินค้าเนื้อสัตว์แปรรูป และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เช่น แบรนด์ CP, BKP, ไก่ย่างห้าดาว,  CHESTER’S GRILL, MEIJI และ CP Frest mart  

**ผลประกอบการปี 2565 มีรายได้ 619,017.57 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 13,969.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน

1.2. บริษัท C.P. CHINA (จีน) 

1.3. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เอนเตอร์ไพรซ์ (ไต้หวัน) จำกัด - ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารเสริมและวัคซีนสำหรับสัตว์ 

1.4. C.P. POKPHAND CO., LTD. (จีนและเวียดนาม) - ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 

1.5.บริษัท เจียไต๋ จำกัด - จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย แบรนด์โฮมการ์เด้น ปุ๋ยตรากระต่าย ปุ๋ยตราช่อฟ้า 

1.6. บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด - แบรนด์ข้าวตราฉัตร ผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง

1.7. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด - จำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร

1.8. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์การเกษตร จำกัด- พัฒนางานวิจัยทางวิชาการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร 

1.9. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด - ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมแก่โรงงานผลิตในธุรกิจเกษตร อุตสาหกรรมและอาหาร

1.10. บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป - ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เช่น แบรนด์ Smartheart , ME-O

1.11. บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) - ธุรกิจประมง บริษัทผู้ผลิตปลาป่น และอาหารสัตว์

 

2.ธุรกิจค้าปลีก  ประกอบด้วย

2.1. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL

ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, Counter Service, เป็นผู้ผลิตอาหารแช่แข็ง, ร้านกาแฟสด รวมถึงเป็นเจ้าของสถาบันการศึกษาในเครือปัญญาภิวัฒน์ 

**ผลประกอบ ปี 2565  มีรายได้ 852,605.22 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 13,271.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน

2.2. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO

ธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบขายส่ง แบรนด์แม็คโคร สยามโฟรเซ่น และสยามฟูด เซอร์วิส ซึ่งรวมไปถึงห้างโลตัสในไทย

**ผลประกอบการ ปี 2565 มีรายได้ 469,131.44 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ  7,696.90 ล้านบาท ลดลง 43% เมื่อเทียบกับปีก่อน

2.3. บริษัท ซีพีโลตัส จำกัด (จีน) - ธุรกิจห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต 

 

3.ธุรกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม ประกอบด้วย

3.1. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทรู มูฟ ,บริการอินเทอร์เน็ตทรู ออนไลน์ ,สถานีโทรทัศน์ทรู วิชั่น ,ทีวีดิจิทัลทรูโฟว์ยู รวมถึงร้านกาแฟทรู คอฟฟี่ 

**ผลประกอบการ ปี 2565 มีรายได้ 135,076 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 18,285.2 ล้านบาท ติดลบ 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน

 

"ทรู" ควบรวมกิจการ กับ "ดีแทค" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 กลายเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออันดับ 1 ของไทย แทนเจ้าตลาดเดิมอย่าง เอไอเอส  

ผลประกอบการ ปี 2565 ภายใต้การควบรวม มีรายได้ 218,205.37 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิที่ 5,913.54 ล้านบาท

 

4.อีคอมเมิร์ซและธุรกิจดิจิทัล ประกอบด้วย

4.1. บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด หรือ ASCEND - ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการเงินและอีคอมเมิร์ซ แบรนด์ TrueMoney,  iTrueMart,  WeLoveShopping 

4.2. บริษัท พันธวณิช จำกัด หรือ PANTAVANIJ - ที่ปรึกษาด้านระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก 

 

5.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย

5.1. บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPLAND - ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว และศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น

5.2. SUPER BRAND MALL (จีน) พัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ห้างสรรพสินค้าระดับ 5 ดาว เช่น เซี่ยงไฮ้ ลั่วหยาง เหอเฝย เย่วฉิง 

 

6. ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป ประกอบด้วย

6.1. E.C.I. GROUP (จีน) - บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์

6.2. ECI-METRO (จีน) - ตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักสำหรับอุตสาหกรรม ชื่อแบรนด์ CAT 

6.3. MG SALES (THAILAND) Co., Ltd. - บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ MG ในประเทศไทย

6.4. CP FOTON SALES Co., Ltd. - ผลิต จำหน่าย และให้บริการหลังการขาย รถเพื่อการพาณิชย์ครอบคลุมทุกรูปแบบ ชื่อแบรนด์ ซีพี โฟตอน

6.5. CPM Motor Myanmar Co.,Ltd (พม่า)  - ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ CPM 

6.6.DENI (จีน) - บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 

6.7. Luoyang Northern Ek-chor (จีน) - ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ DAYANG 

6.8. บริษัท ซีพีพีซี จำกัด (มหาชน) - ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม 


7.ธุรกิจเวชภัณฑ์ ประกอบด้วย

Sino Biopharmaceutical Limited (จีน) - ศูนย์พัฒนาและวิจัย ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาและเคมีภัณฑ์ 
 

8.ธุรกิจการเงินและการธนาคาร ประกอบด้วย

8.1.ZhengXin Bank Company Limited (จีน)

8.2. ITOCHU CORPORATION (ญี่ปุ่น )

8.3. Ping An Insurance Company China Limited (จีน)

8.4. CITIC GROUP CORP (จีน)

 

แม้เจ้าสัวธนินทร์ จะสร้างความยิ่งใหญ่ และชื่อเสียงให้ประเทศไทย จากการขยายขอบข่ายธุรกิจไประดับโลก สู่ "โมเดลธุรกิจที่น่ายกย่อง" แต่ก็มิวายถูกวิจารณ์จากนักวิชาการบางส่วนว่า "ผูกขาดทางธุรกิจ" ด้วยธุรกิจกลุ่มธุรกิจโภคภัณฑ์ ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และล่าสุดกับธุรกิจโทรคมนาคมที่ ทรูควบรวมกับดีเเทค จนกลายมาเป็นผู้เล่นเบอร์หนึ่งในอุตสาหรรม กลุ่มสิทธิผู้บริโภค ยังคงจับตาใกล้ชิดว่า จะเกิดผูกขาดราคา จนสร้างความไม่เป็นธรรมให้พวกเขาหรือไม่