ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์"

23 ก.พ. 2566 | 10:23 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2566 | 10:44 น.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ จัดอบรมมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ครั้งแรกของไทย หนุนสร้างบุคลากรสู่เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศ ผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ครั้งแรกของไทย  หนุนสร้างบุคลากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย หวังสร้างประสบการณ์ใหม่ให้นักท่องเที่ยว

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2566 สดร. ได้จัด “โครงการอบรมมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ ครั้งที่ 1” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำเที่ยว และประชาชนที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด รวมถึงผู้ประกอบการ และเจ้าของพื้นที่ ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนพื้นที่ของตนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ได้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น สำหรับการนำเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ มีความรู้เกี่ยวกับการดูดาว และการใช้งานอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ เพื่อจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งในเชิงการให้ความรู้ทั่วไป เชิงการท่องเที่ยว หรือเชิงพาณิชย์ อย่างสร้างสรรค์  สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่งท่องเที่ยวในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศ 

ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น\"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์\"

ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น\"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์\"

โครงการนี้ต่อยอดขยายผลมาจากโครงการ Amazing Dark Sky in Thailand หรือ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ที่ สดร. ริเริ่มและดำเนินการร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะทางแสง ร่วมกันอนุรักษ์ท้องฟ้ายามค่ำคืน 

ทั้งนี้ โดยสนับสนุนให้ประชาชนใช้แสงสว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อคืนธรรมชาติให้กับสิ่งมีชีวิต เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา และลดการสิ้นเปลืองพลังงานที่ไม่จำเป็น ผ่านการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ให้กับสถานที่ที่มีความมืดของท้องฟ้าที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากแสงรบกวน มองเห็นวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่า

ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น\"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์\"

 

ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น\"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์\"

รวมถึงมีบุคลากรในพื้นที่ ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวได้ ปัจจุบัน มีพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 12 แห่ง ทั่วประเทศ (ดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่ https://darksky.narit.or.th/) 

นางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ กล่าวว่า  ประเทศไทยนับเป็นจุดหมายปลายทาง ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกสนใจ อยากมาสัมผัสประสบการณ์ที่น่าประทับใจ จากทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ในประเทศของเราในทุกภูมิภาค ทั้งความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยว ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตของชุมชน ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่งดงาม ดึงดูดให้ผู้คนเกิดการเดินทางเพื่อพักผ่อน และสัมผัสประสบการณ์ที่แปลกใหม่ กับกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ  การอบรมมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ ในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยสร้างบุคลากร ที่มาสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่นี้ 

ครั้งแรกเมืองไทย อบรมเป็น\"มัคคุเทศก์ดาราศาสตร์\"

สำหรับโครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม และอ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ มีนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ผู้นำเที่ยวจากเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนแล้ว รวมถึงประชาชนที่สนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 30 คน 

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติหลากหลายหัวข้อ อาทิ การดูดาวเบื้องต้น การเตรียมตัวสำหรับดูดาว การใช้งานแผนที่ดาวและกล้องสองตา สังเกตการณ์ท้องฟ้าจริง พร้อมฝึกทักษะการดูดาวด้วยตาเปล่า การใช้แอปพลิเคชันทางดาราศาสตร์สำหรับมือถือ การถ่ายภาพปรากฏการณ์ดาราศาสตร์  ฝึกติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ บรรยายการดูดาว และวางแผนจัดกิจกรรมดูดาว เป็นต้น 

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ฝึกปฏิบัติภาคสังเกตการณ์ ณ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ ผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองการเป็นมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ เพื่อมาเป็นคลื่นลูกใหม่ของบุคลากรทางดาราศาสตร์ ที่จะร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้ดาราศาสตร์ สร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าไทย และสามารถจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้

การอบรมมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ จัดขึ้นปีละครั้ง ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในปีถัดไป