วิธีแก้หนี้อย่างถูกต้อง กับ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำซ้ำเติมปัญหา

12 ก.พ. 2566 | 14:10 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.พ. 2566 | 14:28 น.

ธปท. แนะวิธีแก้หนี้อย่างถูกต้อง กับ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ "เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" รู้หรือไม่ กู้หนี้ใหม่โปะหนี้เก่า ดอกเบี้ยแพงกว่าเดิม เตือน อย่าหยุดจ่ายหนี้ จนเป็น "หนี้เสีย"

เป็นที่รับรู้กันว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นทั้ง กับดักการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ฉุดให้คนเป็นหนี้ ลืมตาอ้าปากได้ยากขึ้น อย่างไรก็ดี การก่อหนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป ตราบใดที่ไม่ใช่การก่อหนี้เกินตัวและมีการวางแผนที่ดี และหาวิธีแก้หนี้อย่างถูกต้อง

โดยปัจจุบัน มีหลายหน่วยงาน หลายสถาบันการเงิน ที่ออกแบบมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ทยอยปรับตัวและหลุดพ้นจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ 

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ชี้ว่าบางอย่างเป็นมาตรการที่ไม่ควรทำ บางอย่างเป็นสิ่งที่ลูกหนี้ไม่ควรทำเช่นกัน โดยการแก้หนี้อย่างถูกต้อง ต้องรักษาสมดุลที่ดีระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ เช่น แก้หนี้ให้ตรงจุดเหมาะกับปัญหาของแต่ละคน ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ และไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยมี 5 สิ่งไม่ควรทำ ดังนี้

5 สิ่งไม่ควรทำ หากอยาก "แก้หนี้" ให้จบ

1. พักชำระหนี้เป็นวงกว้างเป็นเวลานาน

  • เพราะจะทำให้ลูกหนี้มีภาระดอกเบี้ยเม จากดอกเบี้ยที่เดินอยู่ตลอดเวลาในช่วงพักชำระหนี้ 
  • ลูกหนี้อาจเสียวินัยทางการเงินได้ เพราะชินกับการไม่ต้องจ่ายหนี้ จนอาจจูงใจให้ก่อหนี้เพิ่มอีก
  • สถาบันการเงิน อาจมีสภาพคล่องไม่พอปล่อยสินเชื่อใหม่ หรือ ช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนจริงๆ

2. ลบ/ แก้ประวัติข้อมูลเครดิตของลูกหนี้ (NCB)

  • หากทำเช่นนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่มีประวัติผู้กู้เพื่อใช้พิจารณาปล่อยสินเชื่อ จนอาจไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ หรือ หากปล่อยก็จะคิดดอกเบี้ยแพง 
  • ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ยากขึ้น

3. ผ่อนชำระขั้นต่ำต่อเนื่อง

เพราะการผ่อนขั้นต่ำ จะทำให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้ยากขึ้น เนื่องจากมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่ยังค้างจ่าย 

4. กู้หนี้ใหม่โปะหนี้เก่า

สิ่งที่จะตามมา คือ หนี้ไม่ได้ลดลงแต่ลูกหนี้จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น จากดอกเบี้ยที่แพงกว่าเดิม 

5. หยุดจ่ายหนี้ ปล่อยเป็นหนี้เสีย

ลูกหนี้อาจถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และเสียประวัติลูกหนี้ดี จนกู้สินเชื่อใหม่ได้ยากขึ้น 

 

ธปท. แนะวิธีแก้หนี้อย่างถูกต้อง กับ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ

 

ที่มา : ธปท.