ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

03 ก.พ. 2566 | 14:29 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.พ. 2566 | 14:35 น.
9.9 k

ตลาดสินค้าความงามฯในประเทสปี66คาดโต10.4%  สนค.ชี้แนวโน้มความต้องการสินค้าเพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเพิ่มสูงขึ้น ญี่ปุ่นตลาดส่งออกใหญ่ของไทย

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์และแนวโน้มของสินค้าเพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (Beauty & Personal Care) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก หัวน้ำหอม และน้ำหอม พบว่า เป็นสินค้าที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยในปี 2565 ตลาดค้าปลีกเครื่องสำอาง (Colour Cosmetics)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

ภายในประเทศ คาดว่าจะมีมูลค่า 811.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25,953.6 ล้านบาท) ขยายตัว 12.1% จากปีก่อนหน้า และปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 895.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (28,651.2 ล้านบาท) ขยายตัว10.4% จากปีก่อนหน้า

 

สำหรับตลาดต่างประเทศ สถิติการส่งออกของไทยในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ในปี 2565 พบว่า ไทยมีการส่งออกมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,254.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (112,860.5 ล้านบาท) ขยายตัว 6.6% จากปีก่อนหน้า ตลาดส่งออกสำคัญ คือ  ญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม ออสเตรเลียและ จีน  

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

ทั้งนี้ สามารถแบ่งสินค้าได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง เครื่องหอม และสบู่ มีมูลค่าการส่งออก 2,384.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (82,736.9 ล้านบาท) ขยายตัว 4.9% จากปีก่อนหน้า เป็นสัดส่วน 73.3% ของมูลค่าการส่งออกกลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ทังหมดของไทย และกลุ่มวัตถุดิบเพื่อใช้ทำเครื่องสำอาง มีมูลค่าการส่งออก 870.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,123.7 ล้านบาท) ขยายตัว11.4% จากปีก่อนหน้า เป็นสัดส่วน 26.7%

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

โดยสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง เครื่องหอม และสบู่ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม อย่าง ยาสระผม น้ำยาดัดยืด และผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม มีมูลค่าการส่งออก 716.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (24,787.0 ล้านบาท) ติดลบ 1.9% จากปีที่ผ่านมา และ  สิ่งปรุงแต่งที่ใช้แต่งหน้าหรือบำรุงผิว เช่น เครื่องสำอาง ครีมและโลชั่นบำรุงผิว มีมูลค่าการส่งออก 680.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (23,651.5 ล้านบาท) ขยายตัว8.7%  สบู่ มีมูลค่าการส่งออก 357.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (12,403.6 ล้านบาท) ขยายตัว 8.6%   สิ่งปรุงแต่งเพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน มีมูลค่าการส่งออก 329.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (11,423.0 ล้านบาท)ติดลบ 2.6% และ  สิ่งปรุงแต่งใช้โกนหนวด อาบน้ำ ดับกลิ่นตัว มีมูลค่าการส่งออก 238.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (8,274.2 ล้านบาท) ขยายตัว2.2 %

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

จากรายงาน “2023 Global Beauty & Personal Care Trends” ของบริษัท Mintel (2022) ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าเพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ดังนั้น การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งปัจจุบันผู้บริโภคได้รับข้อมูลความรู้จากผู้เชี่ยวชาญผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแก่ผู้บริโภค

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าเพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ต้องให้ความสำคัญกับคุณประโยชน์และประสิทธิภาพสินค้า ให้ความสนใจด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้บริโภค มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน นอกจากนี้ ผู้บริโภคต้องการแสวงหาความงามเฉพาะบุคคล (Personal Beauty) จึงต้องออกแบบและพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมและสื่อสารกับแบรนด์ และ การมีส่วนร่วมแบบใหม่ ๆ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ในช่องทางออนไลน์ ผู้ผลิตต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกตื่นเต้น เช่น การจำลองการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีที่สร้างความเสมือนจริง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

“ตลาดสินค้าเพื่อความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายเป็นตลาดที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างที่จะเติบโตอีกมาก ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิต และมีโรงงานที่รับจ้างผลิตให้แบรนด์ดังระดับสากล (OEM) นอกจากนี้ ไทยยังมีจุดเด่นด้านการมีวัตถุดิบสมุนไพร ซึ่งสามารถสกัดเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ”

ตลาดสินค้าความงามฯในปท.ปี66คาดโต10.4%

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ประกอบไทยต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการพัฒนาแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และการใช้เทคโนโลยีสำหรับสื่อสารทางการตลาดเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภค