ส่อง สินค้าดาวรุ่ง-ร่วง “กลุ่มอาหาร” อะไรเข้าวินปี 2566

27 ธ.ค. 2565 | 01:00 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ธ.ค. 2565 | 18:54 น.
1.9 k

ส่อง สินค้าดาวรุ่ง-ร่วง “กลุ่มอาหาร” อะไรเข้าวินปี2566   อานิสงส์เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว หลายประเทศนำเข้าอาหารมากขึ้น ภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคฟื้นตัว

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา   รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มสินค้ากลุ่มอาหาร ว่าการส่งออกอาหารปี 2566 คาดว่าจะเติบโต 0-2% เนื่องจากปี 2565 เติบโตค่อนข้างมาก โดยการส่งออก อาหารของปี 2566 ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุนเช่นความต้องการของสินค้าอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น

 

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา   รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

 

ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว หลายประเทศนำเข้าอาหารมากเนื่องจากให้ ความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหาร และภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว อีกทั้งมีการเจรจาทางการค้ากับตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งเป็น การกระจายความเสี่ยงและเป็นโอกาสใหม่ของการ ส่งออกอาหารไทย

ส่อง สินค้าดาวรุ่ง-ร่วง “กลุ่มอาหาร” อะไรเข้าวินปี 2566

 

แต่อย่างไรก็ตามปีหน้าส่งออกอาหารก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีผลกระทบอย่าง ชัดเจน กิจกรรมในภาคผลิตของประเทศหลักชะลอส่งผลให้การส่งออกมีแนวโน้มชะลอผลจากเศรษฐกิจและกำลัง ซื้ออจากอัตราเงินเฟ้อ วิกฤติทางการค้าและเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ความ ขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยธรรมชาติ และมาตรการ ทางการค้าใหม่ๆยังต้องติดตามและธุรกิจมีแรงกดดันจากภาวะต้นทุนจากค่าไฟ ค่าแรง และวัตถุดิบ

ทั้งนี้จากการสำรวจในปี2565พบว่า สินค้าในกลุ่มอาหารดาวรุ่งในช่วง10เดือน(ม.ค.-ต.ค.)5อันดับแรกประกอบด้วย

  •    ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีมูลค่า 1.3 แสนล้านบาท โต 26.5% ในตลาด จีน(+18.7%) ญี่ปุ่น(+16.6%) อินโดนิเซีย(+171%) ไต้หวัน(+22.2%) มาเลเซีย(+82.5)
  • ข้าว มีมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท โต 32.4%  ในตลาด อิรัก(+504%) สหรัฐฯ(+25%) จีน(+27%)เบนิน(+ 0.8%)ฮ่องกง(3.2%)แคนาดา(+63%)
  • ไก่สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โต 41.8%   ในตลาด แก่ ญี่ปุ่น(+26.2%) สหราชอาณาจักร(+67%) จีน(+25.7%) เนเธอร์แลนด์(+111%) เกาหลีใต้(+66.4%) มาเลเซีย(+97.6%)

 

ส่อง สินค้าดาวรุ่ง-ร่วง “กลุ่มอาหาร” อะไรเข้าวินปี 2566

 

  •   อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มีมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท โต 23.8%  ตลาดที่โต  สหรัฐฯ(+24.4%) ญี่ปุ่น(+17.5%) ออสเตรเลีย(+48%) ลิเบีย(+172%) สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์(+59%) ซาอุดิอาระเบีย(+20.4%)  
  • น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล มีมูลค่า 9.7 หมื่นล้านบาท โต 139% ตลาดที่เติบโตมาก ได้แก่ อินโดนิเซีย(+198%) เกาหลี ใต้(+298%) กัมพูชา(+38%) ลาว(+360%) ฟิ ลิปปิ นส์(+197%) มาเลเซีย(+240%) จีน(+309%)

ส่วนสินค้าอาหารที่หดตัวยังคงเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์แช่เย็นแช่แข็งและกลุ่มผลไม้รวมถึงกลุ่มเครื่องปรุง

  •   สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง มีมูลค่า 130 ล้านบาท หดตัว 92.4% จากปัญหาอุทกภัย รวมถึงการระบาดโรค ASF ในสุกรในหลาย พื้นที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสุกรไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดที่หดตัว ได้แก่ ฮ่องกง(-96%) ลาว(-88%) กัมพูชา(-97%)
  •  ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มีมูลค่าการส่งออก 1.7 แสนล้านบาท หดตัว 1.5% เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด ลดลง จากฝนตกหนักและน้ำท่วมในบางพื้นที่ในช่วงก่อนหน้านี้ส่งผลให้ผลไม้ได้รับความเสียหาย ตลาดที่หดตัว ได้แก่ ฮ่องกง(-39%) สหรัฐฯ(-4.5%) เวียดนาม(-73%) ญี่ปุ่น(-4.5%) ออสเตรเลีย(-8%) ลาว(-35%) รัสเซีย(-36%)
  •  ซุปและอาหารปรุงแต่ง มีมูลค่าการส่งออก 1.9 พันล้านบาท หดตัว 1.5% ตลาดที่หดตัว ได้แก่ ออสเตรเลีย(-11.2%) เมียนมา(-13%) ฮ่องกง(-10.4%) ฝรั่งเศส(-15.1%) มาเลเซีย(-43%)

ส่อง สินค้าดาวรุ่ง-ร่วง “กลุ่มอาหาร” อะไรเข้าวินปี 2566

 

ส่วนคาดการณ์ปี 2566 สินค้าอาหารดาวรุ่ง โดยประเมินจากการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563  ปัจจุบัน ได้แก่ มันสำปะหลัง ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวอาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร

สินค้าอาหารที่หดตัว โดยประเมินจากการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564ปัจจุบัน ได้แก่ สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากในปี 2566 ยังคงต้องเฝ้าระวังโรคระบาดของหมูอย่างโรค ASF ซึ่งส่งผลต่อด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และทำให้การเพิ่ม ปริมาณยากขึ้น และสินค้าปศุสัตว์อื่นๆยังคงต้องรับมือกับความท้าทายจากแนวโน้มการบริโภคที่อาจเปลี่ยนไป เช่น การที่กลุ่ม ผู้บริโภค Flexitarian มีแนวโน้มมากยิ่งขึ้น จากกระแสสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลต่อสินค้ากลุ่มเนื้อสัตว์ได

อย่างไรก็ตามคาดว่าสินค้ากลุ่มอาหารยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้าเพราะประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวประกอบกับยังมีกำลังซื้อจากผู้บริโภคอยู่