AES ดึงบิ๊กเนมจัดใหญ่ RAIL Asia 2023 ดันเงินสะพัด 2,500 ล้าน

18 ธ.ค. 2565 | 05:00 น.

เอเชีย เอ็กซิบิทชั่นฯ รีเทิร์นจัดใหญ่ RAIL Asia 2023 ดึงนักธุรกิจร่วมเจรจาการค้ากว่า 100 บูท ภายใต้แนวคิด Integrating the Asian Rail industry คาดเม็ดเงินสะพัด 2,500 ล้านบาท

นายเดวิด เอ๊ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (AES)  เปิดเผยว่า ในปี 2566 บริษัทมีแผนจัดงาน  RAIL Asia 2023 ครั้งที่ 9 งานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน และเทคโนโลยีระบบรางขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 พ.ย. 2566  ณ. สถานีรถไฟกลางบางซื่อที่ทันสมัยของภูมิภาค

 

สำหรับรูปแบบการจัดงาน RAIL  Asia 2023   จะเป็นธีม “Integrating the Asian Rail industry" เชื่อมต่อ บูรณาการระบบขนส่งทางรางแห่งอาเซียน  สอดรับไทยคือ ฮับการขนส่งทางรางของภูมิภาค   เป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของรัฐบาลและการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สำคัญที่ผ่านมาไทยมีการลงทุนระบบรางสูงถึง 40% ของการลงทุนระบบรางทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของมูลค่าการลงทุนในภูมิภาค 9.3 พันล้านดอลลาร์

เดวิด เอ๊ทคิ่น               

โดยภายในงาน RAIL Asia 2023 จะมีซัพพลายเออร์มาร่วมเปิดบูทแสดงเทคโนโลยีรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน   ระบบราง  ระบบอาณัติสัญญาณ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านซ่อมบำรุงเพิ่มจากปีที่ผ่านมามากกว่า 100% ทั้งนี้จะมีบริษัทชั้นนำเข้าร่วมทั้งจากยุโรปและเอเชีย นำเสนอเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยี ในงานสัมมนาซี่งจัดควบคู่กันไป

 

ด้านบูทจัดงานจะมีทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐจากในประเทศและบูทของบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย ร่วมงานเป็นงานแสดงสินค้าควบคู่กับการสัมมนาเชิงวิชาการมากกว่า 100 บูทขณะเดียวกัน ผู้เข้าร่วมชมงานจากทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเช่นกัน  โดยคาดว่าจะมียอดผู้เข้าชม 2,500-3,500 ราย  มีการเจรจาลุงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสนับสนุนมากมาย กล่าวคือ กระทรวงคมนาคม พร้อมหน่วยงานภายใต้สังกัด อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งให้เกียรติเป็นเจ้าภาพร่วม และให้ใช้สถานที่ในการจัดงาน กรมการขนส่งทางราง สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์

AES ดึงบิ๊กเนมจัดใหญ่ RAIL Asia 2023 ดันเงินสะพัด 2,500 ล้าน

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิเช่น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ศูนย์วิศวกรรมทางราง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (K.U Rail) สถาบันวิศวกรระบบอาณัติสัญญาณทางราง ประเทศไทย และสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง

 

“หลังประสบความสำเร็จของการจัดงาน RAIL  Asia ครั้งที่ 8 โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากกลุ่มเทคโนโลยีระดับโลก ผู้ให้บริการโซลูชั่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1,276 รายในภูมิภาคและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพบปะ สร้างเครือข่าย ดูเทคโนโลยีล่าสุด เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและแนวโน้มล่าสุด และเชื่อมต่อกับอุตสาหกรรมรถไฟและรถไฟใต้ดินอีกครั้งในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่หลังโควิด 19”

 

ทั้งนี้การจัดงานที่ผ่านมาครั้งล่าสุดในปี 2020 RAIL Asia ดึงดูดผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายอุตสาหกรรม โดยปีที่แล้ว ผู้ประกอบการรถไฟและรถไฟใต้ดินคิดเป็น 13% ของผู้เข้าชม, รัฐบาล 5%, ผู้รับเหมา 15%, ที่ปรึกษา 17%, องค์กรวิชาชีพและวิชาการ 9%, ซัพพลายเออร์ 24% และนักลงทุน 3% ผู้เยี่ยมชมงานเป็นตัวแทนของโครงการและงบประมาณที่มีมูลค่ากว่า 2.426 พันล้านเหรียญสหรัฐในประเทศไทยและภูมิภาค

AES ดึงบิ๊กเนมจัดใหญ่ RAIL Asia 2023 ดันเงินสะพัด 2,500 ล้าน

จากการสำรวจในสถานที่ที่ตรวจสอบแล้ว พื้นที่ผลิตภัณฑ์หลักที่ผู้เข้าชมงาน RAIL Asia สนใจ ได้แก่ ขบวนรถและการบำรุงรักษา (35%), การส่งสัญญาณ (29%), วิศวกรรมโยธา (24%), ข้อมูล ป้ายบอกทางและอุปกรณ์บนสถานี PIS, ตั๋ว, สถานี การจัดการ (19%), เทคโนโลยีสารสนเทศ (18%) และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การขุดอุโมงค์, OCS, การติดตาม, การบูรณาการหลายรูปแบบ, การลงทุน, เครื่องมือและการให้คำปรึกษา (5%)

 

ด้านนายสุเทพ  พันธ์เพ็ง   กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัท  รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เปิดเผยว่า งานนี้มีความน่าสนใจและที่พิเศษ    RAIL   Asia  2023  ถูกจัดที่สถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นศูนย์รวมระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง สีน้ำเงิน และรถไฟทางไกล  รถไฟความเร็วสูง  รถไฟสายเชื่อมต่อสนามบิน   รถไฟกรุงเทพ- หนองคาย  รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน   อนาคตรถไฟกทม.-เชียงใหม่     อนาคตเป็นสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบรางอาเซียน   จุดศูนย์รวมผู้คนที่ผ่านมาสนใจงาน  

 

“ งานนี้เป็นการรวมตัวของโอเปอเรเตอร์และเรคคูเรเตอร์ทางระบบราง   ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบรางตามนโยบายรัฐบาล    โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไทยทำขึ้นเอง   เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย   งานนี้คาดหวังงานวิชาการนำเทคโนโลยี   นวัตกรรมมาใช้กับระบบรางไทย  ทำให้เกิดความร่วมมือในประเทศ  เพราะการลงทุนระบบรางในประเทศที่ผ่านมามีการลงทุนมากส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเทคโนโลยีเข้ามา”