เปิด 3 ตัวเต็ง"เลขาฯ EEC" คนใหม่ คุมขุมทรัพย์ 2.2 ล้านล้าน  

17 พ.ย. 2565 | 03:06 น.
อัปเดตล่าสุด :17 พ.ย. 2565 | 20:55 น.
3.9 k

จับตา 3 ตัวเต็ง "เลขาธิการ EEC" คนใหม่ "ธัชพล กาญจนกูล- จุฬา สุขมานพ-นิรุฒ มณีพันธ์" ลุ้นเข้าวิน นั่งคุมเมกะโปรเจ็กต์มูลค่ารวม 2.2 ล้านล้าน  

เข้าสู่ช่วงโค้งท้ายการสรรหาผู้ที่จะก้าวขึ้นมาทำหน้าที่ "เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก" หรือ เลขา EEC คนใหม่ต่อจาก นายคณิศ แสงสุพรรณ ที่หมดวาระไปตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา

 

ล่าสุดคณะกรรมการสรรหา ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน กำลังดำเนินการหาผู้ที่เหมาะสมจาก 3 ตัวเต็งเข้ารอบสุดท้าย ประกอบด้วย นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการอีอีซี นายจุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 

 

โดยคาดว่า จะได้ตัว "เลขาธิการ อีอีซี" คนใหม่ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2565  

 

 "เลขาธิการ อีอีซี" คนใหม่ที่จะเข้ามารับไม้ต่อจากนายคณิศในครั้งนี้จะต้องเข้ามากำกับ ดูแล และสานต่อการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญใน EEC ในโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP) มูลค่ารวม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 

 

1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ทางกลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้ชนะการประมูล ทำการส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาแล้ว ส่วนงานสาธารณูปโภครื้อเสร็จและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้พื้นที่ครบ 100% แต่ต้องมีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อปรับรูปแบบการชำระค่าสิทธิบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ คาดว่าส่วนเชื่อมสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะเปิดบริการปี 2569

 

2.สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอสเป็นผู้ชนะการประมูล ขณะนี้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 ถมดินลานจอดศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานเสร็จ 100% เอกชนเตรียมเข้าพื้นสำรวจและก่อสร้าง และในเดือน ส.ค.นี้ เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ด้าน EHIA เพื่อเข้าพิจารณาใน ครม. เดือน ก.ย. คาดว่าการก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 จะเสร็จในปี 2568

 

3.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 บริษัทกัลฟ์เป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งช่วงที่ 1 ออกแบบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และท่าเรือก๊าซแล้ว เริ่มก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ถมทะเล เพื่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลวและพื้นที่คลังสินค้า คาดว่าจะเสร็จในปี 2569 กำลังเข้าสู่ช่วงที่ 2 คือการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และการบริหารจัดการท่าเรือบริการสินค้าเหลว

 

4.ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เดือน ส.ค. เตรียมอนุมัติท่าเทียบเรือ F และงานด้านสาธารณูปโภค คาดว่าจะเปิดบริการในปี 2568 ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มต้นการก่อสร้างงานทางทะเล และการจัดทำ EHIA เรียบร้อยแล้ว

 

5.ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ที่ต้องหยุดชะงักแผนไป หลังจากการบินไทยเข้าแผนฟื้นฟูและสถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดมีตั้งบริษัทอีอีซี หรืออีอีซีพัฒนาสินทรัพย์สนามบินขึ้นมาก็เพื่อดำเนินการบริหารพื้นที่ Aviation Technical Zone (ATZ) ที่โครงการนี้เตรียมนำกลับเข้ามาใน