“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

10 พ.ย. 2565 | 18:26 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ย. 2565 | 01:36 น.

“ประเพณีแรกนาเกลือ ครั้งแรกของไทย “อลงกรณ์ ”คิกออฟ นับเริ่มทำนาเกลือในฤดูกาลใหม่ ส่งเสริมวัฒนธรรมซอฟท์เพาเวอร์ผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้แผนพัฒนาเกลือทะเลไทยเต็มรูปแบบภูมิปัญญา ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยหลังจากเป็นประธานเปิดงานอนุรักษ์และสืบสาน“ประเพณีแรกนาเกลือ”เต็มรูปแบบภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล ครั้งแรกของประเทศในวันนี้ที่ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร  กล่าวว่า การจัดงานอนุรักษ์และสืบสาน “ประเพณีแรกนาเกลือ” ครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกแบบเต็มรูปแบบภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการทำนาเกลือทะเล ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ที่มีการประกอบอาชีพทำนาเกลือทะเล ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสงคราม  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และปัตตานี ได้นำไปประยุกต์ในการจัดงานในปีต่อๆ ไป

 

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

ถือเป็นการรื้อฟื้นประเพณีโบราณของนาเกลือเพื่อความเป็นสิริมงคลฤกษ์งามยามดีสู่ผลผลิตที่สมบูรณ์ต่อยอดด้วยมาตรฐานและคุณภาพใหม่ (มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายสร้าง Story สร้างแบรนด์ด้วยการตลาดยุคดิจิทัลและแนวทางซอฟท์เพาเวอร์(Soft power)ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จัดงานสืบสานประเพณี”ทำขวัญเกลือ”เป็นครั้งแรกที่อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่28 มกราคม 2565ที่ผ่านมา

 

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

 

นอกจากนี้ ภายในงานนี้ยังมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคีเพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือทะเลเพื่อการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ทิศทางในการพัฒนาเกลือทะเลไทย ปี 2566 – 2570 จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กรมส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเกลือทะเลให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (GAP เกลือทะเล) จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ การแสดงเทคโนโลยีการพัฒนาต้นแบบรถลำเลียงเกลือแบบตัวตักด้านหน้ากึ่งอัตโนมัติ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

 

 

รวมการเชื่อมโยงการทำนาเกลือกับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การสร้างรายได้เสริมนอกฤดูกาลการทำนาเกลือ อาทิ การเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น และการแปรรูปเกลือทะเลเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเกลือทะเล เช่น อาหารทะเลแปรรูป แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และร้านอาหารและที่พักที่อยู่ในการท่องเที่ยวเส้นทางเกลือ ภายใต้แนวคิด “Salt Sand Seafood”

 

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

 

“เกลือทะเลนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ไทย ส่วนประวัติศาสตร์เกลือโลกนั้นในยุโรปยุคกรีก-โรมันเรียกเกลือว่า สสารแห่งพระเจ้า เป็นยุทธปัจจัยและสารอาหารที่สำคัญมาก สำหรับประเทศไทยมีการทำนาเกลือมากว่า800ปีการฟื้นฟูให้ความสำคัญกับพิธีแรกนาเกลือและพิธีทำขวัญเกลือจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเกลือทะเลไทยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและสร้างแบรนด์เกลือทะเลไทย”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด

  “อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

“ประเพณีแรกนาเกลือ”เป็นการประกอบพิธีกรรมการเริ่มทำนาเกลือในฤดูกาลใหม่ ที่จัดขึ้นก่อนเริ่มทำนาเกลือในแต่ละปี คือประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือช่วงหลังออกพรรษา โดยถือฤกษ์ยามอันดีคือตรงกับวันพฤหัสบดีและวันธงชัย ในเวลาเช้าของวัน ตั้งแต่ 07.00 เป็นต้นไป ผู้ทำพิธีจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยชาวนาเกลือมีความเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์"

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

 

เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลในการทำนาเกลือ ทำให้การทำนาเกลือมีความราบรื่น ไม่มีอุปสรรค และได้ผลผลิตเกลือเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การทำนาเกลือได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และประสบผลสำเร็จในการทำนาเกลือ จึงมีพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยของมงคล อาทิ ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมขี้หนู ไข่ต้ม หัวหมู เป็ดพะโล้ และผลไม้มงคล 9 อย่าง เป็นต้น

 

 

การจัดงานเริ่มจากพิธีสงฆ์ โดยพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รับประเคนภัตตาหารเช้า และให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วจึงเริ่มประกอบพิธีแรกนาเกลือ โดยพราหมณ์หรือเจ้าพิธีทำพิธีบวงสรวงเชิญเทพยดา ถวายเครื่องสักการะเป็นเครื่องบูชาในการประกอบพิธีแรกนาเกลือ ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติจุดธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นำกระทงบรรจุขนมมงคลไปวางอยู่บริเวณหูนา นำพลั่วขุดดินขานานำน้ำแก่เข้านาเพื่อเริ่มการทำนาเกลือทะเล โดยประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมลั่นฆ้องเพื่อเป็นสัญญาณการเริ่มต้นการแรกนาเกลือ บริเวณนาเกลือเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี

 

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

สำหรับการจัดงาน”แรกนาเกลือ”ในครั้งนี้มี นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

 

ผู้แทนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร นายชวพล วัฒนพรมงคล รองประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร นายภูดิส แก้วตระกูลโชติ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ดร.จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันเกลือทะเลไทย ศูนย์AIC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ว่าที่ร้อยตรีประพันธ์ ถึกสกุล นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร นายเลอพงษ์ จั่นทอง ผู้แทนสหกรณ์กรุงเทพจำกัด นางสาวเกตุแก้ว สำเภาทอง ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด

 

“อลงกรณ์ ”คิกออฟงาน “ประเพณีแรกนาเกลือ”ครั้งแรกของประเทศไทย

นายคธาวุธ บุญมา ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด หัวหน้าส่วนราชการ แขกผู้มีเกียรติ เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมจำนวนมาก ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาครมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือ และรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการทำนาเกลือของประเทศ

 

 

สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การผลิตเกลือทะเลของประเทศไทย กระตุ้นให้เกษตรกรพัฒนาการทำนาเกลือ และเริ่มต้นฤดูกาลการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ที่มีศักยภาพต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อสืบสานวิถีชีวิตด้านการเกษตร สร้างเครือข่ายด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างอาชีพทางการเกษตร สร้างรายได้ให้กับชุมชนและ และต่อยอดธุรกิจการเกษตร.