Vans ชูกลยุทธ์ “สเก็ตบอร์ด คอมมูนิตี้” ย้ำภาพท็อปแบรนด์สตรีทแวร์

24 ต.ค. 2565 | 11:56 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ต.ค. 2565 | 19:12 น.

Vans เร่งสปีดทำตลาดหลังโควิด สร้างชุมชนสเก็ตบอร์ดพ่วงดนตรีและศิลปะ เสริมทัพกิจกรรมอีเว้นท์ สินค้าคอลเลคชั่นพิเศษร่วมกับแบรนด์ดังระดับโลก หวังให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น ปูทางสู่ผู้นำสตรีทแวร์และสเก็ตบอร์ดอันดับ 1 ในไทย

Vans เป็นอีกหนึ่งแบรนด์สตรีทแวร์ ที่ได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างสูง  โดยเป็นแบรนด์ที่อยู่ภายใต้บริษัท VF Corporation (หรือชื่อย่อ VFC ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก) สร้างชื่อจากการจำหน่ายรองเท้าเครื่องแต่งกาย นอกจากนี้ยังสะท้อนภาพของการเล่นกีฬาแนวผาดโผน ดนตรี ศิลปะ และการออกแบบ ผ่าน Vans Triple Crown of Surfing®, Vans Custom Culture และ House of Vans 

Vans ชูกลยุทธิ์ “สเก็ตบอร์ด คอมมูนิตี้” ย้ำภาพท็อปแบรนด์สตรีทแวร์

สำหรับประเทศไทย Vans อยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต จำกัด ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Vans ในไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2561 และได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี จนสามารถขยายสาขาไปกว่า 62 แห่งในประเทศไทย แบ่งเป็น Vans ช็อป (คอนเซ็ปต์สโตร์) 16 สาขาม,เคาท์เตอร์แบรนด์ 44 สาขา, เอาท์เล็ต (Outlet) 2 สาขา และคู่ค้า (Authorized Vans Dealer) 24 แห่ง 

 

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ไทยเอาท์ดอร์ สปอร์ต พยายามสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ Vans ให้เป็นแบรนด์ผู้นำทางด้านสตรีทแวร์และสเก็ตบอร์ดแบรนด์อันดับ 1 ในไทย โดยมีแผนที่จะขยายธุรกิจหลายๆ รูปแบบ ทั้งการขยายจำนวนสาขามากขึ้น เพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ รวมไปถึงมีพาร์ทเนอร์คู่ค้าที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะได้เติบโตในทางธุรกิจไปด้วยกัน นอกจากนั้นยังทำผ่านการจัดกิจกรรมอีเว้นท์, ทำสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษต่างๆ ร่วมกับแบรนด์ดังระดับโกลบอล รวมไปถึงการขยายสาขาเพื่อให้กลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น

นายเจสัน กู้ด (Mr. Jason Good)Vice President, Asia Brand Hub, Vans
นายเจสัน กู้ด (Mr. Jason Good)Vice President, Asia Brand Hub, Vans เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่เอเชีย Vans จะโฟกัสไปที่ความต้องการของชุมชนผู้เล่นสเก็ตบอร์ดในพื้นที่นั้นๆ  เพื่อ support การเติบโตชุมชนสเก็ตบอร์ด โดยสร้างทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีฬาสเก็ตบอร์ด เช่นการลงทุนสร้างสถานที่ต่างๆหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อขยายฐานวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดในพื้นที่

“สำหรับ Vans  สเก็ตบอร์ดไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นเรื่องของตัวตน เทรนด์มีเข้ามาและหายไปมีขึ้นมีลงแต่สำหรับเรา  สเก็ตบอร์ด เป็นตัวตนของแบรนด์ และเราพยายามจะสนับสนุนชุมชนสเก็ตบอร์ดในพื้นที่ประเทศไทย เราเป็นแบรนด์ที่ฟังเสียงกลุ่มผู้เล่นสเก็ตบอร์ดและเราต้องการที่จะให้กลุ่มผู้เล่นสเก็ตบอร์ดมีสถานที่สามารถซื้อของได้ มีสถานที่เล่น มีสถานที่ทำกิจกรรมได้นี่คือสิ่งที่เราอยากจะทำ สำหรับประเทศไทยเราเห็นพื้นที่สำหรับสเก็ตบอร์ดที่เราสร้างขึ้น มีทั้งศิลปินดนตรี ศิลปะ ซึ่งประเทศไทยมีผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้จำนวนมาก และทำให้เรามีโอกาสเข้ามาทำธุรกิจตรงนี้ได้และเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนได้ค่อนข้างมาก”

 

ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่า หลังโควิดสิ่งที่ Vans จะโฟกัสคือกิจกรรมและการพบหน้า ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกิจกรรมของสเก็ตบอร์ด ศิลปะหรือแม้กระทั่งดนตรีเองก็ตาม ซึ่งในช่วงโควิดที่ผ่านมากิจกรรมเหล่านี้หายไปแม้ว่าจะยังสามารถทำตลาดออนไลน์ได้ แต่ Vans มองว่าตัวตนของ Vans อยู่ที่การฟังเสียง community skateboard และการที่คนได้กลับมาพบหน้าเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังสนับสนุนความหลากหลายของกิจกรรมเนื่องจากในระยะหลังเริ่มมี ผู้เล่นสเก็ตบอร์ดผู้หญิงมากขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายทางเพศในพื้นที่ของชุมชนสเก็ตบอร์ดมากขึ้น

Vans ชูกลยุทธิ์ “สเก็ตบอร์ด คอมมูนิตี้” ย้ำภาพท็อปแบรนด์สตรีทแวร์

ในเบื้องต้นVansจะขยายเครือข่ายของชุมชนสเก็ตบอร์ด ศิลปะ ดนตรี สร้างพื้นที่ในการเล่น มี community ให้คนได้กลับมาพบกันและทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งผู้เล่นที่เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันส่วนใหญ่จะมีการสร้างกลุ่มเพื่อนและสังคมของตัวเอง ถ้ากลุ่มผู้เล่นต้องการทำ project หรือทำกิจกรรมต่างๆที่อยากจะทำไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ ทำ content หรือทำกิจกรรมต่างๆVansจะเข้าไปมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือหรือช่วยสปอนเซอร์ แต่จะไม่เข้าไปกำหนดกิจกรรม ซึ่งVansมี partner ที่ช่วยดูแลชุมชนสเก็ตบอร์ดและกิจกรรมเหล่านี้อยู่

 

อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญ top 5ของแบรนด์และเป็นประเทศที่มีการฟื้นตัวของตลาดที่เร็วที่สุดของเอเชียตั้งแต่มีโควิด โดยมีการเติบโตขึ้นมากกว่า 30% เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและ Vans ยังคงมีการสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ส่วนหนึ่งเพราะมีทีมงานในประเทศไทยและพาร์ทเนอร์ต่างๆที่คอยดูเทรนด์ ฟังเสียงของลูกค้าและทำงานรวดเร็ว นอกจากความเชี่ยวชาญแล้วสิ่งที่Vansทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์คือเรื่องของประสบการณ์ของลูกค้ารวมทั้งการพัฒนา  retail ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ทำให้Vansสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว 

 

นอกจากนี้ Vans ยังคาดว่าหากนักท่องเที่ยวสามารถกลับมาเดินทางได้ปกติ โดยเฉพาะชาติจีน Vans จะมียอดขายที่โตขึ้นอย่างน้อย 50% และVans ยังคงมีแผนที่จะขยายร้านค้าในต่างจังหวัด ทั้งในรูปแบบ Vans shop concept, Vans Consignment  เพิ่มคู่ค้า และขยายช่องทาง E-commerce ในปี 2566

Vans ชูกลยุทธิ์ “สเก็ตบอร์ด คอมมูนิตี้” ย้ำภาพท็อปแบรนด์สตรีทแวร์

ในส่วนของสินค้า ในแต่ละปีหลักๆ Vans จะทยอยออกสินค้าใหม่ประมาณ 3 ซีซั่น ซึ่ง partner ในประเทศไทยสามารถนำเสนอสินค้า global และทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึง product ทุกตัวได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้Vans ยังทำงานร่วมกับ ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต  ในการ localized ตัวสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยด้วย

 

“เรามี 2 สิ่งที่ไม่เหมือนกับแบรนด์อื่นคือ 1 มองการเติบโตในระยะยาวมากกว่าการเป็นกระแสในระยะสั้น 2 คือการปรับตัวเข้ากับความสนใจของชุมชนหรือ feedback ของชุมชนไม่ว่าจะเป็นการเข้ากับไอคอนต่างๆแต่ก็ยังคงรักษา DNA ของแบรนด์ไว้ การฟังเสียงของลูกค้าทำให้เราสามารถเติบโตไปคู่กับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์และความต้องการของลูกค้าในตลาดได้

 

Vans เราเริ่มต้นจากสเก็ตบอร์ด ดังนั้นเป้าหมายในระยะยาวของเราคือการเป็นแบรนด์ที่ support สเก็ตบอร์ดและสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนผู้เล่นสเก็ตบอร์ดขึ้นมา ถ้าเรามีความเป็นตัวเราอย่างแท้จริงในสเก็ตบอร์ดจะทำให้เราสามารถทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย การที่เราเริ่มจากbuild  community skateboard มันทำให้เราสามารถ build music และศิลปะจากสเก็ตบอร์ดออกไปได้  และสิ่งที่เราจะทำก็คือการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับชุมชนผู้เล่นสเก็ตบอร์ดในประเทศไทย สร้างสรรค์กิจกรรมให้คนเข้ามาพบปะและทำกิจกรรมร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากขึ้นกับแบรนด์นี่จะเป็นเส้นทางที่เราจะเดินในประเทศไทย”