“สมิติเวช” ชูทรานส์ฟอร์เมชั่น “นอกตำรา” ปั้น Hospital Digitalization

05 มี.ค. 2565 | 10:06 น.
อัปเดตล่าสุด :08 มี.ค. 2565 | 00:42 น.

“สมิติเวช” ปักธงปั้น Hospital Digitalization เร่งทรานส์ฟอร์เมชั่น “นอกตำรา” ไร้กรอป ไร้วิชั่น พร้อมใช้ทฤษฎี “สวนสัตว์สมิติเวช” ดันองค์กรขึ้นแท่นผู้นำตลาด HealthTech

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญในทุกจังหวะชีวิต ผนวกกับเทรนด์ Digital healthcare ทำให้ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชจำเป็นต้อง Shift Up ตัวเองให้พรีเมียมและก้าวล้ำทันสมัยยิ่งขึ้น ด้วยการวางจุดยืนที่ชัดเจนในการเป็น Hospital Digitalization 


ในการก้าวขึ้นเป็น Hospital Digitalization  สมิติเวช เป็นการทรานส์ฟอร์เมชั่น “นอกตำรา” ไร้กรอป ไร้วิชั่น แต่กลับสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดHealthTech ในยุคที่อุตสาหกรรมสุขภาพเปรียบเสมือนเหมือนก้อนน้ำตาล ที่ทุกธุรกิจอยากกระโดดเข้ามาร่วมวง

นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เปิดเผยว่า ปัจุบันไม่ใช่แค่โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้นที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสุขภาพ เพราะทุกวันนี้หลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น แบงค์ โทรคมนาคมต่างเข้ามาอยู่ในธุรกิจHealthcareทั้งหมดโดยมีโควิดเป็นตัวเร้า ในขณะเดียวกัน start up และGiantech company ต่างๆก็เข้ามาDisruptionธุรกิจสุขภาพ ดังนั้นธุรกิจโรงพยาบาลจึงมีทางเลือก 3ทางคือ สู้  เปลี่ยนและถอย


“สิ่งที่ต้องทำก็คือเราต้องDisruptionตัวเองก่อนที่คนอื่นจะมาDisruptionเรา ส่วนใหญ่เวลาคนทำทรานส์ฟอร์เมชั่นจะทำทันทีและพังทันที เพราะทำตามแฟชั่นไม่ได้ทำจากแพชชั่น ซึ่งทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่สามารถเกิดขึ้นจากกองขยะได้ สมิติเวช ใช้ทฤษฎี “สวนสัตว์สมิติเวช” เข้ามาจัดการองค์กรเพื่อให้สามารถทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่เป้าหมาย”

สำหรับ ทฤษฎี “สวนสัตว์สมิติเวช” อันดับแรกต้องหันกลับมาดูว่ามี ปลิง กี่ตัวที่กำลังเกาะอยู่บนหลังองค์กร แล้วทำให้เป็นวาระแห่งชาติจัดการปลิงให้เรียบร้อย

ส่วนที่ 2 เต่าติดสเก็ต ต้องกลับมาพิจราณาว่าองค์กรยังเป็นเต่าล้านปีอยู่หรือเปล่า การกำหนดบทบาทหน้าที่สำคัญที่สุด เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องจัดระเบียบสังคมให้ดีก่อนให้แต่ละตำแหน่งรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ตั้งคณะกรรมการน้อยๆโฟกัสเรื่องที่จะทำและที่สำคัญหรือเป็นคัมภีร์อรหันต์ก็คือการปรับระบบงานทั้งหมด ผู้บริหารจะต้องรู้ว่าแต่ละวันตัวเองจะต้องทำอะไร

ส่วนที่3 อินทรีย์  ปัจจุบัน สมิติเวช ไม่มี vision เมื่อทำการทรานส์ฟอร์เมชั่น ถึงจุดหนึ่งองค์กรไม่จำเป็นต้องมี vision ถ้าทุกวันนี้สมิติเวชยังทำตามระบบรับรองตายเรียบ เพราะฉะนั้น no vision ,ไร้ระบบ ,simple shot sharp smart, ปัญหา ปัญญา ปันผล ถ้าไม่มีโจทย์ดีๆจะมีแผนดีๆได้อย่างไรเพราะฉนั้นผู้บริหารต้องมีความเก่งคนต้องคุม behavior ให้ดีแล้ว attitudeจะดีเอง ต่อมาต้องเปลี่ยน personal สันดานให้เป็น organizer สันดาน และสุดท้ายกับดักของคนเก่งที่ CEOต้องระวังคือคนสำเร็จจะไม่สำเร็จส่วนคนไม่สำเร็จจะสำเร็จ ส่วนที่คือ 4 กบ หรือทำ s-curve ใหม่ๆเพื่อขยายหรือเสริมทัพองค์กรให้แข็งแกร่ง

“แต่ต่อให้มีครบทั้ง 4ส่วนนี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นจะต้องเปลี่ยนกระบวนท่าใหม่ คุณจะต้องเป็น “ผีเสื้อ” สิ่งที่สมิติเวชทำคือเราไม่อยากให้ใครป่วย จุดประสงค์สูงสุดของโรงพยาบาลคือผลักคนไข้ออกจากโรงพยาบาลและทำให้ 90% ที่แข็งแรงไม่ป่วย เราไม่ได้ทำโรงพยาบาลเพื่อจะเอาเงินจากคนไข้ 

เพราะฉะนั้นองค์กรจะต้องสร้างvalueหรือสร้างคุณค่า เช่นvalueของเราคือเราไม่อยากให้ใครป่วยเพราะฉะนั้นเราทำTotal Health Solution  ผลักให้คนไข้ออกจากโรงพยาบาล เมื่อเราทำแบบนี้valueก็จะมาเยอะ ดังนั้นเราจะต้องเป็นองค์กรแห่งคุณค่า

และสุดท้ายคุณจะต้องเป็น “ปูเทวดา” ยุทธศาสตร์หลักของเราก็คือ Agile ถ้าทำสำเร็จจะมีความยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 2 คือยุทธศาสตร์ล้อม ในอนาคตไม่ว่าจะทำอะไรจะต้องทำเหมือนหมากล้อมและเท่าทันทุกกระบวนท่า  ยุทธศาสตร์ต่อมา ไหล ต้องเคลื่อนตัวและปรับตัวตลอดเวลาเพื่อให้เท่าทันปัจจุบัน

คนที่แก้ปัญหาในอดีตคือองค์กรที่กำลังเดินถอยหลัง แต่ถ้าแก้ปัญหาในปัจุบันคือองค์ที่เริ่มเดิน แต่ถ้าเป็นองค์กรที่สามารถดักรอปัญหาได้คือองค์กรที่เริ่มวิ่ง และคุมปัญหาได้ ยุทธศาสตร์ล้ำ คุณต้องเป็นหมอดู ใช้ AI ข้อมูลเพื่อชนะคนรุ่นใหม่  และสุดท้ายยุทธศาสตร์ ล่อ ใช้หลักธรรมล่อ ลวง หลอก  ซึ่งถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ เรือใหญ่หรือองค์กรก็พออยู่ได้”