เกมเปลี่ยน “โซดา พริ้นติ้ง” จากตลาดวัยรุ่นสู่ตลาดแม่และเด็ก

24 ก.ย. 2564 | 16:14 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2564 | 23:18 น.

พิษโควิดฉุดรับปริญญาเลื่อนยาว ยอดขายวูบ “โซดา พริ้นติ้ง” ดิ้นสู้เพิ่มพร์อตสินค้าเปิดตลาดกลุ่มแม่และเด็ก คงคอนเซ็ป “ของขวัญที่มีชิ้นเดียวในโลก” ฝ่าทางตันโควิด-19

นายธวัชชัย สหัสสพาศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซดา พริ้นติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสิ่งพิมพ์ของขวัญลงบนผ้าใบแคนวาส เปิดเผยว่า นับตั้งเกิดการระบาดของโควิด 19 บริษัทได้รับผลกระทบค่อนข้างหนักจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยกำลังซื้อตกอย่างต่อเนื่อง ขณะที่งานรับปริญญา งานเทศกาลต่างๆซึ่งเป็นตลาดหลักถูกงดจัด

 

ซึ่งโซดา พริ้นติ้ง ได้ปรับธุรกิจภายใต้ 3 แนวคิด ได้แก่ปรับ เปลี่ยน และเร็ว คือสิ่งไหนที่ดีอยู่แล้วก็หาวิธีปรับเอาให้ดีขึ้น  ส่วนเปลี่ยน สิ่งไหนที่ไม่เวิร์คก็อาจจะเปลี่ยนวิธีการคิดวิธีการทำงาน สิ่งสำคัญก็คือจะต้องเร็วเพรราะเราต้องไปเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของเราให้ได้ 

ทั้งนี้โซดา พริ้นติ้งมีการเตรียมเพิ่มสินค้าใหม่ๆไว้ตั้งแต่ช่วงที่ covid เข้ามาใหม่ๆ และเริ่มมีการลดรับปริญญา ซึ่งประเมินแล้วว่างานรับปริญญาจะต้องหายไปนานตลอดทั้งปีและไม่รู้ว่าจะกลับมาจัดได้อีกครั้งเมื่อไหร่ จึงพยายามที่จะหาวิธีใหม่ๆ productใหม่ที่จะมาทดแทน product เดิมๆที่ยอดขายตกลงได้

 

โดยอาศัยทรัพยากรหรือตัวเครื่องจักรที่มีอยู่ จากเดิมมีเพียง product ที่เป็นภาพพิมพ์แคนวาส ต่อยอดมาเป็น ถุงผ้าพิมพ์ลายเจาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน แต่พอสินค้าใกล้วางจำหน่ายเป็นช่วงล็อกดาวน์ นักเรียน นักศึกษาไม่ไปเรียน คนทำงานWork from home 

 

จึงมองไปที่ หน้ากากอนามัยแบบผ้าซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงที่หน้ากากอนามัยขาดตลาด  โดยนำเพนพ้อยของลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ยังไม่ยอมใส่แมสเป็นโจทย์ และแก้โดยนำหน้ากากผ้ามาใส่ดีไซน์เพื่อดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นหันมาใส่แมสมากขึ้นและสามารถแมทช์กับการแต่งตัว  ก่อนจะขยายไลน์สินค้าไปที่เสื้อยืดเสื้อฮาวายสำหรับหน่วยงานและลูกค้าทั่วไป  ผ้าห่ม ผ้าพันคอ ผ้ากันเปื้อน ที่ปิดตา หมวก แมส กระเป๋า ในราคาเริ่มต้น 50-3,500 บาท

และปัจุบันต่อยอดมาเป็นผ้าห่มเจาะกลุ่มตลาดแม่และเด็ก เพราะช่วงที่มีโควิด ตัวเลขอัตราการเกิดสูงขึ้นด้วยในขณะที่กำลังซื้อ สำหรับคนเป็นแม่เท่าไหร่ก็ยอมจ่ายสำหรับลูก 

 

“จากตลาดวัยรุ่นไปสู่ตลาดแม่และเด็กแตกต่างกันอย่างมาก สิ่งที่แตกเหมือนกันคือตัว product ที่เป็นผ้าเหมือนกัน  แต่ความต่างก็คือเรื่องของการใส่ดีไซน์ ลวดลาย เพราะสินค้ากลุ่มแม่และเด็ก ลูกค้าก็อยากได้ชื่อลูกของเขาไปอยู่บนตัวสินค้า  ส่วนตลาดวัยรุ่นจะเน้นไปที่ลายพิมพ์ ภาพวาดแต่เราก็สามารถใส่ชื่อเข้าไป เพราะเราก็ยังคง concept “เป็นของขวัญที่มีชิ้นเดียวในโลก” และมันก็สามารถที่จะเพิ่มมูลค่าขึ้นมาได้”