ด่วน "ล็อกดาวน์กรุงเทพ" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

19 ก.ค. 2564 | 20:27 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ค. 2564 | 03:59 น.
26.8 k

ยกระดับ “ล็อกดาวน์กรุงเทพ” พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากทม. ออกคำสั่ง กทม. ฉบับที่ 37 สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว บังคับใช้อย่างจริงจังเพิ่มเติมขึ้น ตามมติ ศบค. ในพื้นที่สีแดงเข้ม

วันที่ 19 ก.ค.2564 เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ ได้โพสต์คำสั่ง "ล็อกดาวน์กรุงเทพ" สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 37) ยกระดับความเข้มข้นของมาตรการและการบังคับใช้อย่างจริงจังเพิ่มเติมขึ้น ตามมติ ศบค.

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

โดยระบุ เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด เนื้อหาสำคัญดังต่อไปนี้

1.ปิดสถานที่ต่อตามประกาศเดิม ที่ระบุไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 32, 33, 34, 35 และ 36

และให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความมาตรา 9 แห่งพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 28

2.เปิดได้ตามเงื่อนไข

  • ร้านอาหารเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. ห้ามนั่งในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น
  • ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ให้เปิดได้ตั้งแต่เวลา 04.00 – 20.00 น.
  • โรงแรม ให้เปิดได้ตามเวลาปกติ งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง
  • โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษา ห้ามใช้สถานที่จัดการสอน
  • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. เปิดเฉพาะแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยาและเวชภัณฑ์ และพื้นที่ซึ่งจัดให้บริการฉีดวัคซีน หรือบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นๆ ของภาครัฐ

3.เปิดได้ตามความจำเป็น (ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด)

  • โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา
  • ร้านค้าทั่วไป
  • โรงงาน
  • ธุรกิจหลักทรัพย์
  • ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม
  • ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไปรษณีย์ และพัสดุภัณฑ์
  • ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์
  • ร้านขายยาและเวชภัณฑ์
  • ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง
  • ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น
  • สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส
  • ตลาดนัด (เฉพาะส่วนที่จำหน่ายอาหารและวัตถุดิบเพื่อการบริโภค)
  • สถานรับเลี้ยงเด็ก (เฉพาะสถานที่รับเลี้ยงเด็กในโรงพยาบาลและที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ
  • สถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)
  • ธุรกิจประกันภัย
  • หน่วยบริการงานช่วยเหลือกู้ภัย
  • ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมแซมยานพาหนะ
  • ร้านแบตเตอรี่
  • หน่วยบริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
  • ผู้จัดเก็บและกำจัดขยะ
  • รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online)

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. - 2 ส.ค. 64 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ประกาศ ณ วันที่ 19 ก.ค. 64
 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงในวันที่ 19 ก.ค. ถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ว่า สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดวันที่ 19 ก.ค. ได้แก่

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

  • กทม. 2,134 ราย
  • สมุทรสาคร 765 ราย
  • ชลบุรี 615 ราย
  • สระบุรี 494 ราย
  • ปทุมธานี 485 ราย
  • พระนครศรีอยุธยา 484 ราย
  • สมุทรปราการ 483 ราย
  • นนทบุรี 381 ราย
  • ปัตตานี 296 ราย
  • ตาก 267 ราย

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

โดยพบคลัสเตอร์ใหม่ 8 แห่ง ประกอบด้วย

  • โรงงานเฟอร์นิเจอร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา พบผู้ติดเชื้อ 60 ราย
  • ตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 55 ราย
  • โรงงานโลหะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 22 ราย
  • ห้างสรรพสินค้า อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 21 ราย
  • โรงงานพลาสติก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 16 ราย
  • ตลาดสินทอง อ.เมือง จ.นนทบุรี 16 ราย
  • ห้างสรรพสินค้า อ.เมือง จ.ลพบุรี 23 ราย
  • โรงงานแปรรูปไก่ อ.เมือง จ.พัทลุง 16 ราย

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ทาง พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ได้มีการหารือร่วมกับสื่อมวลชนวิทยุ โทรทัศน์ และออนไลน์ ซึ่งมีการสอบถาม ศบค.ถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศ

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

โดยมีการคาดการณ์เป็น 2 รูปแบบ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คาดการณ์จุดสูงสุดหากเราไม่ช่วยกัน ปล่อยให้ติดเชื้อไปเรื่อยๆ หย่อนยานที่สุด จะพบว่ามีผู้ติดเชื้อสูงสุด 31,997 รายต่อวัน

แต่หากเราทำอย่างดีที่สุดตัวเลขจะอยู่ 9,018 – 12,605 รายต่อวัน ค่ากลางจะอยู่ที่ 9,695 – 24,204 รายต่อวัน ขณะที่คาดการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่องค์การอนามัยโลก (WHO) นำไปอ้างอิง คาดการณ์การฉีดวัคซีนถึงปลายปี 64 หากเราฉีดได้ดี สถานการณ์ที่ดีที่สุด ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะลงมาในช่วงก่อนเดือน ก.ย. คือขึ้นสูงและลงมา

ด่วน \"ล็อกดาวน์กรุงเทพ\" ผู้ว่ากทม.ยกระดับ “สั่งปิดสถานที่” ตามประกาศศบค.

ตอนนี้เราเห็นภาพแล้ว ตัวเลข 10,000-15,000 รายต่อวัน ถึงในช่วง ส.ค.-ก.ย. แต่กรณีสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อาจสูงถึง 22,000 รายต่อวันในช่วง ส.ค.-ก.ย.